งานวิจัยโควิดชี้แนะ วิธีเลี่ยงการติดเชื้อกันภายในรถ
ปัจจุบันในภาวะการณ์แพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19
หลายครั้งที่สมาชิกในบ้าน จำเป็นต้องขับรถพาผู้ติดเชื้อไปส่งที่โรงพยาบาล เนื่องจากไม่สามารถหารถ ambulance มารับได้เลย จะทำอย่างไรเพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อในช่วงการเดินทางดังกล่าว เรามีงานวิจัยล่าสุดมาบอกเล่ากัน
งานวิจัยจาก มหาวิทยาลัย Swansea พบว่า การหมั่นเปิดหน้าต่างในรถเพียงแค่ระยะเวลา 10 วินาที สามารถลดการสะสมของละออง Covid-19 ได้ถึง 97% ความแตกต่างของแรงดันลมระหว่างข้างในและนอกรถ ทำให้มีลมโบกพัดแรงดูดไวรัสออกจากรถได้
หากเราขับรถยนต์ด้วยความเร็วต่ำกว่า 48กม./ชม. การเปิดกระจกทั้งหมด 4บาน จะได้ประสิทธิภาพสูงสุด แต่ในการขับด้วยความเร็วมากกว่านี้ ให้เปิดกระจกแนวแทยง 2 บาน
การแพร่กระจายเชื้อทางอากาศของเชื้อไวรัส Covid-19 เกิดขึ้นได้ผ่านสองทาง
การแพร่กระจายเชื้อทางอากาศของเชื้อไวรัส Covid-19 เกิดขึ้นได้ผ่านสองทาง : ผ่านละอองฝอยขนาดใหญ่ที่ออกมาผ่านการ ไอ, หรือ ผ่านละอองลอยจากการหายใจเข้าออกโดยทั่วไป
ละอองฝอยขนาดใหญ่มีน้ำหนักมากพอที่จะสามารถตกลงมาอยู่บนพื้นผิวต่างๆได้ภายในไม่กี่วินาที ในขณะเดียวกันละอองลอยนั้นสามารถระเหย และปล่อยไวรัสวนเวียนอยู่ในอากาศถึงหนึ่งชั่วโมง หัวหน้าโปรเจค ศาสตราจารย์ เชินเฟง ลี ได้แนะนำวิธีที่จะสามารถป้องกันการแพร่เชื้อแบบผ่านละอองลอย
“เมื่อขับรถด้วยความเร็วต่ำ ความต่างของแรงดันระหว่างภายในและนอกรถจะมีไม่มาก ทำให้อากาศภายในรถมีความปั่นป่วนสูง ซึ่งเราจะพบสภาวะนี้มากในการขับรถในเมือง เพราะโดยธรรมชาติแล้วจะมีการต้องหยุด-สตาร์ทรถตลอด อีกทั้งยังมีการเลี้ยวเพื่อเปลี่ยนทิศบ่อยครั้ง”
“ในสถานการณ์เหล่านี้ เราต้องถ่ายเทอากาศให้มากเท่าที่จะทำได้ ด้วยการเปิดหน้าต่างให้เยอะที่สุด”
แต่เมื่ออยู่บนทางด่วนที่ใช้ความเร็วสูง เราควรปฎิบัติอีกแบบหนึ่ง
เราพบว่า รถที่เคลื่อนที่เร็วขึ้นส่งผลให้ความต่างในความดันอากาศสูงขึ้น ทำให้การเปิดกระจกที่แทยงกัน (เช่น กระจกขวาหน้า, กระจกซ้ายหลัง) สร้างภาวะอุโมงค์ลมที่ทำให้การกระจายละอองอากาศดีขึ้นเมื่อเทียบกับเวลาเปิดกระจกทั้งสี่บาน กระบวนการนี้ได้ผลมากถึงขั้นที่ว่า ต้องทำแค่ 10วิ ทุกๆ5-10นาที หรือ ทุกครั้งที่มีคนไอ หรือจามในรถ
“เราพบว่า รถที่เคลื่อนที่เร็วขึ้นส่งผลให้ความต่างในความดันอากาศสูงขึ้น ทำให้การเปิดกระจกที่แทยงกัน (เช่น กระจกขวาหน้า, กระจกซ้ายหลัง) สร้างภาวะอุโมงค์ลมที่ทำให้การกระจายละอองอากาศดีขึ้นเมื่อเทียบกับเวลาเปิดกระจกทั้งสี่บาน”
“กระบวนการนี้ได้ผลมากถึงขั้นที่ว่า ต้องทำแค่ 10วิ ทุกๆ5-10นาที หรือ ทุกครั้งที่มีคนไอ หรือจามในรถ”
ทีมวิจัยยังพบอีกว่า การนั่งข้างหน้าจะปลอดภัยกว่าข้างหลัง เพราะปริมาณลมส่วนใหญ่เลยจะถูกเป่าไปในทิศทางข้างหลัง หากผู้โดยสาร (หลายครั้งมักเป็นผู้ที่ติดเชื้อ) ในรถจำเป็นต้องนั่งข้างหลัง ศจ. ลี แนะนำว่าให้ผู้โดยสารรถนั่งอีกฝั่งจากฝั่งที่กระจกเปิดอยู่ คำแนะนำนี้สำคัญมากโดยเฉพาะสำหรับรถโดยสารเช่น รถแทกซี่ รถเช่า และรถส่วนตัว
(คำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้แปล สำหรับประเทศไทย ที่ใช้พวงมาลัยขวา การเปิดกระจกทแยง หมายความว่า ผู้โดยสารควรนั่งด้านหลังผู้ขับ ในขณะที่ กระจกถูกลดแบบทแยง ตามภาพ )

ในอีกส่วนหนึ่งของงานวิจัย ศจ. ลี ผู้ซึ่งเป็นตัวแทนของทีมที่ปรึกษาด้านเทคนิคเกี่ยวกับโควิด-19 ของรัฐบาลเวลช์ ได้ถูกขอให้ทำการตรวจสอบว่า ฉากกั้นระหว่างที่นั่งข้างหน้าและข้างหลังมีประโยชน์หรือไม่
สิ่งที่พบคือ ฉากกั้นอาจจะมีผลเสียมากกว่าผลดี
“นอกจากจะเพิ่มบริเวณพื้นผิวให้ละอองของเหลวมาเกาะแล้ว ฉากกั้นยังขัดขวางไม่ให้อากาศในรถหมุนเวียน”
“ทั้งนี้ทั้งนั้น แม้นี่อาจจะช่วยป้องกันคนขับได้ แต่สำหรับผู้โดยสารข้างหลัง ฉากกั้นทำหน้าที่เหมือนฟองอากาศขนาดใหญ่ที่ยากมากที่ไวรัสข้างในจะถูกขับออกมาข้างนอกได้ผ่านแรงดันของอากาศ”
อย่างไรก็ตาม ศจ. ลี กล่าวว่า การใส่หน้ากากยังเป็นวิธีที่ดีสุดในการป้องกันตนเองในรถสาธารณะ
ผลจากทีมวิจัยยังชี้ว่า การใส่หน้ากากป้องกันช่วย ลดการปล่อยเชื้อไวรัสได้ 90% และ การรับเชื้อไวรัสในผู้โดยสารลดลงไป 70%
บทความแปลมาจาก BBC NEWS
สนับสนุน โดย สลีปเพ็น
- All
- ที่นอนผู้สูงอายุ
- ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
- พฤติกรรมการนอนน้อย
- ภูมิแพ้
- ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
- วิธีดูแลตัวเอง
- วิธีเลือกที่นอน
- อาการจาม
- อาการหลับยาก ทำอย่างไรดี
- โรคจมูกอักเสบ
- ไขความลับ การนอนเปลี่ยนชีวิต
- ไรฝุ่น

ผ้ารองกันเปื้อนกับท็อปเปอร์ต่างกันยังไง? มาเปรียบเทียบให้ดูชัดๆกันเลย

ใช้เวลากับครอบครัวนอกบ้านอย่างไร ให้ปลอดภัยจากโควิด

อาการภูมิแพ้ อาการจาม ในตอนเช้า เกิดจากอะไร ?

ที่นอนยางพารา หรือ ที่นอนลาเท็กซ์

ความเครียดส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร

มันบุกมาแล้ว ไรฝุ่น และ ตัวเรือด EP 2

งานวิจัยโควิดชี้แนะ วิธีเลี่ยงการติดเชื้อกันภายในรถ

มันบุกมาแล้ว เมื่อเชื้อโรคและสารพัดสัตว์ บุกที่นอนของคุณ ep 1

เปิดความจริง ที่นอนนำเข้า ที่นอนใส่กล่อง

อยากใช้เครื่องนอนผ้าคอตต้อน รู้ไหมอันไหนจริง อันไหนย้อมแมว

ภูมิแพ้เกิดจากมูลของไรฝุ่น มีของแถมเป็นเชื้อรา ด้วยจ้า

ตัว(ไร) อ่ะ?!? หน้าฝนนี้ ใช้เครื่องนอนต้านไรฝุ่น ต้านไวรัส โอกว่า

อาการภูมิแพ้และไรฝุ่น มีความเกี่ยวข้องกับที่นอนอย่างไร

ต้นไม้ ลดไรฝุ่น สำหรับคนเป็นภูมิแพ้

เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุ การเลือกที่นอนให้เหมาะสม จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก

งานวิจัยเผย ที่นอนใหม่ ช่วยลดความเครียด

การอดนอน คร่าชีวิตเราได้หรือไม่

เซอร์คาร์เดียน ริธึ่ม (Circadian Rhythm) คืออะไร

นักวิจัย Carnegie Mellon เผยนอนน้อยเสี่ยงป่วยเป็นไข้หวัดมากถึง 3 เท่า

อันตราย! นอนหลับไม่เพียงพอ ส่งผลระบบภูมิคุ้มกันต่ำ เสี่ยงเจ็บป่วยง่าย

เคล็ดลับกำจัดไรฝุ่น

นักวิจัยพบความลับของเสียงและการงีบหลับ มีส่วนช่วยพัฒนาสมองและความจำ

ฉีดซิโนแวกแล้ว จะไปเที่ยวยุโรปได้ไหม แล้วจะไปติดโควิดจากที่นั่นหรือปล่าว

ไม่กล้าฉีดวัคซีนโควิด กลัวลิ่มเลือดอุดตัน ขอใส่หน้ากากอนามัยอย่างเดียวได้ไหม

พฤติกรรมการนอนน้อย ส่งผลกระทบต่ออาการไมเกรนและปวดหลังที่รุนแรงขึ้น

แก้ไขปัญหานอนหลับยาก ตื่นไม่เป็นเวลา ด้วยวิธีแสนง่ายจนคุณคิดไม่ถึงเลยเชียวล่ะ

การนอนหลับพักผ่อน ช่วยชดเชยผลกระทบจากภาวะ Digital Brain Drain
