ภูมิแพ้เกิดจากมูลของไรฝุ่น มีของแถมเป็นเชื้อรา ด้วยจ้า

เพื่อนๆลองทายว่าในห้องนอนห้องหนึ่ง จะมีสิ่งมีชีวิตที่มองไม่เห็นสักกี่ตัว หมื่นตัว? แสนตัว? ถึงล้านไหม?
ในงานวิจัยจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล พบว่า ห้องนอนโดยเฉลี่ยแล้วมีตัวไรฝุ่นมากนับล้านตัว เพราะอุณหภูมิ และความชื้นที่พอเหมาะ
อีกงานวิจัยของต่างประเทศ ทีมแพทย์นำใยผ้าจากที่นอนเก่ามาส่องผ่านกล้องกล้องจุลทรรศน์ ปรากฏว่าพบอาณาจักรสิ่งมีชีวิตตัวจิ๋วที่แม้มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่เมื่อมาดูใกล้ๆ เต็มไปด้วยสารก่อภูมิแพ้และเชื้อรามากถึง 26 ชนิด
สิ่งที่หลายคนไม่รู้คือ
เชื้อรา และ ไรฝุ่น มักจะอยู่คู่กัน ที่ไหนมีไรฝุ่น การันตีเลยว่าที่นั่นมีเชื้อราอยู่ด้วย (รองลงมาจากขี้ไคล และรังแคของคน) เพราะเชื้อราคือหนึ่งในอาหารหลักของไรฝุ่น แม้จะถูกตัวไรฝุ่นกินเข้าไปแล้วมันก็ไม่ได้หายไปไหนไกลเลย เพราะเมื่อถูกขับถ่ายออกมา ราข้างในมูลไรยังสามารถเติบโตต่อได้ในบริเวณเดิม ตราบใดที่มีความชื้นเพียงพอ
สรุปง่ายๆว่าตัวไรฝุ่นอยู่กินจากเชื้อราได้ในที่เดียวกันได้แทบจะตลอดวงจรชีวิตของมันเลยแหละ จึงอธิบายว่าทำไมไรฝุ่นถึงอยู่ในที่ๆมันอยู่ได้อย่างดื้อดึง เป็นเพราะว่าที่อยู่อาศัยของมันครบวงจรสุดๆ อำนวยให้มันกินอยู่ได้ในที่เดียวกับที่สืบพันธ์โดยที่ไม่ต้องย้ายไปไหนเลย

สิ่งอื่นที่ไรฝุ่นกินเป็นอาหาร
คือ เกสร ยีสต์ แบคทีเรีย และ เส้นใยพืช อย่างไรก็ตามอาหารโปรดของไรฝุ่นไม่ใช่อะไรอื่นใดเลย นอกจากเซลล์ผิวหนังของเราในขี้ไคลและรังแคนี่แหละ ที่ถูกปกคลุมไปด้วยนานาชนิดแบคทีเรีย อีกทั้งยังมีน้ำมันบนผิวเรา (และหนังศีรษะด้วย เยอะมาก) เชื้อรา และ จุลินทรีย์ต่างๆที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจากความชื้นบนผิวเรา
ใครอยากเห็นมูลไรฝุ่น วันนี้เรามีรูปมาฝาก
ภาพข้างล่างมาจากการส่องกล้องจุลทรรศน์บนมูลของไรฝุ่น สังเกตตรงรอบๆก้อนมูลให้ดี นั่นแหละคือเส้นใยของเชื้อรา (mold hyphae) ที่เห็นได้ว่าเลื้อยออกมาด้านนอก โดยน้องเชื้อราพวกนี้ พอถูกขับถ่ายออกมา ตราบใดที่มีความชื้นมันก็สามารถโตต่อได้เลย
ขอบคุณรูปจาก Dr Matthew J Colloff, copyright CSIRO Publishing.
คำแนะนำจากนักวิจัย
แล้วอะไรกันอยู่ในเจ้าก้อนๆมูลไรฝุ่นเนี่ย
เมื่อแพทย์ดำเนินการส่องดูในมูลไรฝุ่น ได้เจอสารก่อภูมิแพ้อีก 15ชนิด แต่อย่าเพิ่งตื่นตูมกันไป เพราะโดยส่วนใหญ่คนเป็นโรคภูมิแพ้ ไม่ได้แพ้ทุกชนิด ที่พบว่ากระตุ้นโรคภูมิแพ้จริงๆ มีอยู่3 ชนิด ดังกล่าว:
- Der p1 ซึ่งเป็นเอ็นไซม์ย่อยอาหารของ ไรฝุ่นสายพันธุ์ยุโรป Dermatophagoides pteronyssinus
- Der p2 เป็นโปรตีนที่เลียนแบบอาการคล้ายการติดเชื้อจากแบคทีเรีย
- Der p23 เป็นเอ็นไซม์ที่เป็นส่วนประกอบอยู่ในฟิล์มที่หุ้มมูลไร
จากงานวิจัยพบว่า ไรฝุ่นไม่สามารถมองเห็นหรือคุมอุณหภูมิร่างกายของมัน (อีกทั้งยังไม่มีระบบทางเดินหายใจที่ชัดเจน) ทำให้ไรฝุ่นจำเป็นต้องอาศัยอยู่กันเป็นนิคมแบบพึ่งพากันและล้วนใช้ประสาทสัมผัสในการอยู่รอด รวมถึงการหาอาหาร การหาแหล่งสืบพันธ์ และการหลบภัยอันตราย
สภาพแวดล้อมที่เขาอยู่กัน ต้องเป็นที่อุ่น ชื้น มืดและนิ่ง ที่มันสามารถหลบแสงสว่างได้ ไรฝุ่นชอบหลบในรูของผ้าทอสุดๆ เช่น ผ้าม่าน ผ้าหุ้มโซฟา พรม หมอน ผ้าห่ม และที่นอน ล้วนอยู่ ในห้องนอนของเราทั้งสิ้น
เมื่อลองมาคิดดู ที่จริงก็น่าทึ่งไม่ใช่น้อยที่ถึงแม้ว่ากฎเกณฑ์การมีชีวิตของมันจะเยอะขนาดนี้ การดำรงชีวิตของไรฝุ่นมีอยู่จริงแน่นอน อยู่อย่างสบายๆด้วย ถ้าเราไม่จัดการกับมัน
- All
- ที่นอนผู้สูงอายุ
- ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
- พฤติกรรมการนอนน้อย
- ภูมิแพ้
- ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
- วิธีดูแลตัวเอง
- วิธีเลือกที่นอน
- อาการจาม
- โรคจมูกอักเสบ
- ไรฝุ่น

ผ้ารองกันเปื้อนกับท็อปเปอร์ต่างกันยังไง? มาเปรียบเทียบให้ดูชัดๆกันเลย

ใช้เวลากับครอบครัวนอกบ้านอย่างไร ให้ปลอดภัยจากโควิด

อาการภูมิแพ้ อาการจาม ในตอนเช้า เกิดจากอะไร ?

ที่นอนยางพารา หรือ ที่นอนลาเท็กซ์

ความเครียดส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร

มันบุกมาแล้ว ไรฝุ่น และ ตัวเรือด EP 2

งานวิจัยโควิดชี้แนะ วิธีเลี่ยงการติดเชื้อกันภายในรถ

มันบุกมาแล้ว เมื่อเชื้อโรคและสารพัดสัตว์ บุกที่นอนของคุณ ep 1

เปิดความจริง ที่นอนนำเข้า ที่นอนใส่กล่อง

อยากใช้เครื่องนอนผ้าคอตต้อน รู้ไหมอันไหนจริง อันไหนย้อมแมว

ภูมิแพ้เกิดจากมูลของไรฝุ่น มีของแถมเป็นเชื้อรา ด้วยจ้า

ตัว(ไร) อ่ะ?!? หน้าฝนนี้ ใช้เครื่องนอนต้านไรฝุ่น ต้านไวรัส โอกว่า

อาการภูมิแพ้และไรฝุ่น มีความเกี่ยวข้องกับที่นอนอย่างไร

ต้นไม้ ลดไรฝุ่น สำหรับคนเป็นภูมิแพ้

เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุ การเลือกที่นอนให้เหมาะสม จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก
