เดือน: กรกฎาคม 2021

ภูมิแพ้เกิดจากมูลของไรฝุ่น มีของแถมเป็นเชื้อรา ด้วยจ้า

ภูมิแพ้เกิดจากมูลของไรฝุ่น มีของแถมเป็นเชื้อรา ด้วยจ้า

เพื่อนๆลองทายว่าในห้องนอนห้องหนึ่ง จะมีสิ่งมีชีวิตที่มองไม่เห็นสักกี่ตัว หมื่นตัว? แสนตัว? ถึงล้านไหม?

                  ในงานวิจัยจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล พบว่า ห้องนอนโดยเฉลี่ยแล้วมีตัวไรฝุ่นมากนับล้านตัว เพราะอุณหภูมิ และความชื้นที่พอเหมาะ
            อีกงานวิจัยของต่างประเทศ ทีมแพทย์นำใยผ้าจากที่นอนเก่ามาส่องผ่านกล้องกล้องจุลทรรศน์ ปรากฏว่าพบอาณาจักรสิ่งมีชีวิตตัวจิ๋วที่แม้มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่เมื่อมาดูใกล้ๆ เต็มไปด้วยสารก่อภูมิแพ้และเชื้อรามากถึง 26 ชนิด             

สิ่งที่หลายคนไม่รู้คือ

        เชื้อรา และ ไรฝุ่น มักจะอยู่คู่กัน ที่ไหนมีไรฝุ่น การันตีเลยว่าที่นั่นมีเชื้อราอยู่ด้วย (รองลงมาจากขี้ไคล และรังแคของคน) เพราะเชื้อราคือหนึ่งในอาหารหลักของไรฝุ่น แม้จะถูกตัวไรฝุ่นกินเข้าไปแล้วมันก็ไม่ได้หายไปไหนไกลเลย เพราะเมื่อถูกขับถ่ายออกมา ราข้างในมูลไรยังสามารถเติบโตต่อได้ในบริเวณเดิม ตราบใดที่มีความชื้นเพียงพอ

สรุปง่ายๆว่าตัวไรฝุ่นอยู่กินจากเชื้อราได้ในที่เดียวกันได้แทบจะตลอดวงจรชีวิตของมันเลยแหละ จึงอธิบายว่าทำไมไรฝุ่นถึงอยู่ในที่ๆมันอยู่ได้อย่างดื้อดึง เป็นเพราะว่าที่อยู่อาศัยของมันครบวงจรสุดๆ อำนวยให้มันกินอยู่ได้ในที่เดียวกับที่สืบพันธ์โดยที่ไม่ต้องย้ายไปไหนเลย

สิ่งอื่นที่ไรฝุ่นกินเป็นอาหาร

 คือ เกสร ยีสต์ แบคทีเรีย และ เส้นใยพืช อย่างไรก็ตามอาหารโปรดของไรฝุ่นไม่ใช่อะไรอื่นใดเลย นอกจากเซลล์ผิวหนังของเราในขี้ไคลและรังแคนี่แหละ ที่ถูกปกคลุมไปด้วยนานาชนิดแบคทีเรีย อีกทั้งยังมีน้ำมันบนผิวเรา (และหนังศีรษะด้วย เยอะมาก)  เชื้อรา และ จุลินทรีย์ต่างๆที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจากความชื้นบนผิวเรา

ใครอยากเห็นมูลไรฝุ่น วันนี้เรามีรูปมาฝาก

ภาพข้างล่างมาจากการส่องกล้องจุลทรรศน์บนมูลของไรฝุ่น สังเกตตรงรอบๆก้อนมูลให้ดี นั่นแหละคือเส้นใยของเชื้อรา (mold hyphae) ที่เห็นได้ว่าเลื้อยออกมาด้านนอก โดยน้องเชื้อราพวกนี้ พอถูกขับถ่ายออกมา ตราบใดที่มีความชื้นมันก็สามารถโตต่อได้เลย

ขอบคุณรูปจาก Dr Matthew J Colloff, copyright CSIRO Publishing.

คำแนะนำจากนักวิจัย

แล้วอะไรกันอยู่ในเจ้าก้อนๆมูลไรฝุ่นเนี่ย

เมื่อแพทย์ดำเนินการส่องดูในมูลไรฝุ่น ได้เจอสารก่อภูมิแพ้อีก 15ชนิด แต่อย่าเพิ่งตื่นตูมกันไป เพราะโดยส่วนใหญ่คนเป็นโรคภูมิแพ้ ไม่ได้แพ้ทุกชนิด ที่พบว่ากระตุ้นโรคภูมิแพ้จริงๆ มีอยู่3 ชนิด  ดังกล่าว:

  1. Der p1 ซึ่งเป็นเอ็นไซม์ย่อยอาหารของ ไรฝุ่นสายพันธุ์ยุโรป Dermatophagoides pteronyssinus
  2. Der p2 เป็นโปรตีนที่เลียนแบบอาการคล้ายการติดเชื้อจากแบคทีเรีย
  3. Der p23 เป็นเอ็นไซม์ที่เป็นส่วนประกอบอยู่ในฟิล์มที่หุ้มมูลไร

จากงานวิจัยพบว่า ไรฝุ่นไม่สามารถมองเห็นหรือคุมอุณหภูมิร่างกายของมัน (อีกทั้งยังไม่มีระบบทางเดินหายใจที่ชัดเจน) ทำให้ไรฝุ่นจำเป็นต้องอาศัยอยู่กันเป็นนิคมแบบพึ่งพากันและล้วนใช้ประสาทสัมผัสในการอยู่รอด รวมถึงการหาอาหาร การหาแหล่งสืบพันธ์ และการหลบภัยอันตราย

สภาพแวดล้อมที่เขาอยู่กัน ต้องเป็นที่อุ่น ชื้น มืดและนิ่ง ที่มันสามารถหลบแสงสว่างได้ ไรฝุ่นชอบหลบในรูของผ้าทอสุดๆ เช่น ผ้าม่าน ผ้าหุ้มโซฟา พรม หมอน ผ้าห่ม และที่นอน   ล้วนอยู่ ในห้องนอนของเราทั้งสิ้น

เมื่อลองมาคิดดู ที่จริงก็น่าทึ่งไม่ใช่น้อยที่ถึงแม้ว่ากฎเกณฑ์การมีชีวิตของมันจะเยอะขนาดนี้ การดำรงชีวิตของไรฝุ่นมีอยู่จริงแน่นอน อยู่อย่างสบายๆด้วย ถ้าเราไม่จัดการกับมัน

Facebook
Twitter
WhatsApp
Email
  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไรฝุ่น

ตัว(ไร) อ่ะ?!? หน้าฝนนี้ ใช้เครื่องนอนต้านไรฝุ่น ต้านไวรัส โอกว่า

ตัว(ไร) อ่ะ?!? หน้าฝนนี้ ระวังไรฝุ่น

ช่วงนี้เมืองไทยเปลี่ยนเป็นฤดูฝนแล้ว
        พออากาศเย็นก็ขึ้นค่อยสบายตัวหน่อย อากาศเปลี่ยนแปลงก็ดูแลตัวเองกันด้วยนะทุกคน เพราะว่าหน้าฝนเป็นช่วงที่หลายๆคนพบว่ามีปัญหาเรื่องการหายใจมากกว่าปกติเนื่องจากความชื้นในอากาศ โรคภูมิใจทางเดินหายใจหลักๆก็มี โรคหอบหืด โรคแพ้อากาศ หรือโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ รู้หรือไม่ว่าสาเหตุหลักๆของอาการภูมิแพ้เหล่านี้เนี่ย มักจะมาจากปริมาณไรฝุ่นที่เพิ่มขึ้นในอากาศเนื่องจากความชื้นที่สูงขึ้น

ถามว่าไรฝุ่นมาจากไหน

 ความจริงมันมีอยู่ทุกที่นั่นแหละ แต่ที่เป็นแหล่งชุกชุมเลยก็จะเป็นตามที่มืดๆ มีเส้นใยซับซ้อน เช่น หมอน ผ้าห่ม พรม เฟอร์นิเจอร์  โดยจะชอบอยู่ในที่ร้อนชื้น อย่างประเทศไทยเรา ซึ่งอากาศมีความชื้นสัมพัทธ์ ที่ 70-80% ไรฝุ่นเติบโตได้ดีเลยทีเดียว

      เอ้ะ แล้ว ไรฝุ่นมันคืออะไรกันแน่ หลายคนเคยได้ยินแต่ก็ไม่ค่อยเข้าใจว่ามันคืออะไร เป็นสัตว์หรือเป็นฝุ่นกันแน่ วันนี้เลยมาไขข้อข้องใจคร่าวๆ นะ

ตัวไร เนี่ย เป็นแมงขนาดเล็กตระกูลเดียวกับพวกเห็บ มีหลายสายพันธ์ เช่นไรของสัตว์ เช่น ไรนก ไรหนู ไรพืช ส่วนตัวไรฝุ่นที่ซี้กับมนุษย์เราเลยเนี่ย เรียกว่า ไรฝุ่นบ้าน (house dust mite) ถ้าไครบอกว่าเคยเห็นตัวไรฝุ่น อย่าไปเชื่อเลย โม้แน่นอน เพราะว่าตาเรามองไม่เห็นแน่นอน เจ้าไรฝุ่นขนาดเล็กมากๆเกือบเท่าจุดดินสอ (ประมาณ 0.1-0.3 มม) ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องเท่านั้นถึงจะเห็น ตัวจะชอบซ่อนอยู่ตามที่ซอกมุมมืดๆ ในบ้าน โดยเฉพาะที่นอน หมอน โซฟา พรม

บุฟเฟต์รังแค

ทีนี้เพื่อนๆคงถามว่า แล้วทำไมมันถึงชอบไปอยู่ในที่พวกนั้น

ก็เพราะเจ้าพวกนี้มันชอบกินเศษผิวหนัง และรังแคของเรามากไงล่ะ! (สะพรึงมากจ้า)

ถ้าเราลองนึกดูนะ ในเวลา24ชม. เฉลี่ยแล้วเราใช้เวลาตั้ง6-9ชมต่อวันแน่ะบนที่นอน (ช่วงล้อคดาวไม่ต้องพูดถึง น่าจะมากกว่านั้นอีก เหอๆ) คิดดูว่าขี้ไคลเราที่สะสมตามที่นอน น่าจะประหนึ่งเหมือน บุฟเฟ่ต์ให้ไรฝุ่นกินกันอย่างสำราญ…

 

ไหน ไครสงสัยว่ามีไรฝุ่นกัดเรา หรือดูดเลือดเราไหม ตอบได้เลยว่าไม่ใช่ผลงานไรฝุ่นแน่นอน เพราะไรฝุ่นกินเฉพาะ เซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว (dead skin cells) ที่อยู่ตามที่ต่างๆ
    อาทิเช่น ที่ๆ เราชอบนั่งเล่น นอนเล่น คือตัวไรมันไม่ได้มีฟันกัดคนได้โดยตรง ดังนั้นหากมีอาการคันผิวหนัง น่าจะมาจากการเจอสารระคายเคืองอื่นๆนะ

ไหนใครชอบเอาขนมมากินบนเตียง ยอมรับมา

 

เพราะว่านอกจากนี้ไรฝุ่นยังชอบเสวยบนพวกสปอร์เชื้อรา (mold spore) พบตามอาหารที่เราวางทิ้งไว้ หรือเศษอาหารที่ตกหล่น ยิ่งที่ร้อนๆชื้นๆอย่างประเทศไทยเราเนี่ย น้องไรยิ่งเลิฟจ้า เอาล่ะ ถึงตอนนี้เริ่มรู้สึกสยองกันหรือยัง

เวลาเติบโตของไรฝุ่น ตั้งแต่ฟักไข่จนถึงขั้นสืบพันธ์ได้ ใช้เวลา1เดือน และตัวแก่ของไรฝุ่นโดยจะมีชีวิตอยู่มากสุด 2เดือน แต่ ตัวเมียเนี่ย สามารถออกไข่ได้1-3ฟองต่อวันเลยนะ

 

สิ่งที่อันตรายจากน้องๆไรฝุ่นก็คือ ของเสีย (มูลไร) ของมันเนี่ยแหละ เป็นมันเป็นสารก่อภูมิแพ้ชั้นดีเลย เมื่อนานๆสูดดมเข้าไป แม้คนที่ไม่ได้เป็นโรคภูมิแพ้อยู่แล้ว ก็อาจจะเริ่มมีอาการโรคภูมิแพ้ดังกล่าว:

  • อาการจาม
  • มีน้ำมูกไหล
  • คันดวงตา ตาระคายเคือง ตาแดง มีน้ำตาไหล
  • จมูกตัน
  • คันจมูก ปาก คอ
  • อาการไอ

แล้วนี่ช่วงไวรัสระบาด เห็นใครไอ (หรือเราไอเอง!) ก็ระแวงสุดๆแล้ว อย่าให้อาการแพ้ไรฝุ่นมาทำเราสับสนเลยดีกว่า วันนี้เรามาเสนอวิธีป้องกันไรฝุ่นในบ้านแบบเบสิคๆกันจ้า

เราจะแบ่งการป้องกันเป็นใน2ข้อ คือ 1.การคุมความชื้นในอากาศ   และ 2. ทำความสะอาดสิ่งทอในห้อง

 

1.อากาศ

การดูแลลักษณะอากาศในห้องนั้นสามารถทำได้ง่ายๆโดยการหมั่นเปิดหน้าต่าง ประตูให้ลมโกรกเข้าห้อง มีอากาศถ่ายเท ลดความอับชื้นได้ และที่สำคัญให้แสงแดดส่องเข้าในห้องด้วย

ส่วนในหน้าฝนนั้น หากท่านใดเป็นโรคภูมิแพ้ ก็อาจแนะนำให้มีเครื่องลดความชื้นในอากาศ (dehumidifier) ไว้ติดห้องเลย เพราะนอกจากจะสามารถช่วยลดปริมาณ ของไรฝุ่น ได้แล้ว ยังลดสปอร์ราได้ เนื่องจากการเติบโตของเจ้าสารภูมิแพ้จะช้าลงมากเมื่อระดับความชื้นในห้องต่ำ โดยเปอร์เซ็นความชื้นที่ช่วยต้านไรฝุ่นและราได้ อยู่ที่ 40-50% นะจ๊ะ

  1. ทำความสะอาดสิ่งทอในห้อง

            เดี๋ยวนี้ตามท้องตลาดมีเครื่องดูดไรฝุ่นขนาดเล็กราคาย่อมเยา บางอันมีฟังค์ชั่น ฆ่าเชิ้อโรคผ่านแสง UV ซึ่งแม้ว่าตามทฤษฎีนั้น แสง UV มีประสิทธิภาพช่วยฆ่าตัวไรฝุ่นได้ก็จริง  ในความเป็นจริงสามารถช่วยได้แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะไรฝุ่นมักหลบอยู่หลังซอกเส้นใย ทำให้แสงUV ไม่สามารถโดนทุกตัว 100% หรอกนะ

            ยังไงแนะนำว่าเครื่องดูดไรฝุ่นที่เวิร์ค จะต้องมี HEPA filter ซึ่งสามารถทั้งกรองและดักสารก่อภูมิแพ้ได้ 99.97% หากใครยังไม่มีเครื่องดูดฝุ่นที่นอน วิธีพื้นบ้านเลยก็คือ การนำเครื่องนอนไปสะบัดข้างนอก ตากไว้สัก 2-3ชม. ในวันที่แดดออกจัดๆ สักอาทิตย์ละ1-2ครั้ง ก็ช่วยลดตัวไรได้นะ

            อีกอย่างคือ ให้หมั่นซักเครื่องนอนทุกๆ 2 สัปดาห์ การซักโดยใช้ผงซักฟอก สามารถล้างสารก่อภูมิแพ้ได้มากถึง 84%

              สำหรับท่านที่ใส่ใจสุขภาพอาจอยากรู้ว่า เอ้ะ แล้ว ที่นอนเนี่ย มันมีแบบกันไรฝุ่นในตัวไปเลยหรือปล่าว วันนี้มาชี้เป้าว่าเครื่องนอน Sleepen เนี่ย เค้าใช้ผ้านิตแจ็คการ์ดที่ผสานนวัตกรรม Viroblock จากสวิสเซอร์แลนด์ ที่นอกจากจะมีคุณสมบัติต้านไวรัส และ แบคทีเรียแล้ว ยังต้านไรฝุ่นอีกด้วย  ได้รับการยืนยันจากห้องแล็บชั้นนำ ได้แก่ สหราชอาณาจักร , ประเทศจีน ภายใต้มาตรฐาน ISO 18184 และ มหาวิทยาลัยมหิดล

             อ้อ Sleepen เขาทำหน้ากากผ้าด้วยนะ แน่นอนว่าใช้นวัตกรรมป้องกันไรฝุ่นเหมือนกันนะจ๊ะ ใครที่มีอาการภูมิแพ้ จะฤดูนี้ หรือทุกฤดู แอดมินว่า ควรตำเลยจ้า

Blogger Bibi

  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไรฝุ่น

อาการภูมิแพ้และไรฝุ่น มีความเกี่ยวข้องกับที่นอนอย่างไร

อาการภูมิแพ้และไรฝุ่น มีความเกี่ยวข้องกับที่นอนอย่างไร

 เมื่อความเจ็บป่วยของร่างกายเกิดขึ้น

        การรับประทานยาหรือพบแพทย์ถือเป็นทางออกที่ดีสุด แต่รู้หรือไม่ว่าความเจ็บปวดบางอย่าง แม้รักษาจนหายไปแล้วแต่ก็สามารถกลับมาเจ็บป่วยใหม่ได้อีก ทั้งนี้เพราะสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยดังกล่าวอาจอยู่ใกล้ตัวเรามากจนคาดไม่ถึง

อันตรายจากตัวไรฝุ่น

ถือเป็นพาหะของโรค แพร่กระจายได้ดีในสถานที่ที่อากาศถ่ายไม่ถ่ายเท มีขนาดเล็กมากเพียงแค่ 0.3 มิลลิเมตร ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า สามารถพบไร่ฝุ่นได้ตาม ที่นอน หมอน ผ้าห่ม พรม และเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ที่มีเส้นใยให้ไรฝุ่นสามารถหลบซ่อนอาศัยได้ เนื่องจากเศษคราบไคลของผิวหนังคนเราที่ลอกหลุดออกมาในแต่ละวัน ถือเป็นอาหารชั้นดีให้กับตัวไรฝุ่น นอกจากนี้ใยผ้าและขนสัตว์ที่เอามาทำ ที่นอน ผ้าห่ม ก็สามารถกินเป็นอาหารได้อีกด้วยด้วย 

โดยธรรมชาติของไรฝุ่นจะชอบอยู่ตามเส้นใยที่มืด ยิ่งอับชื้นเท่าไรยิ่งดี ซึ่งกิจวัตรในแต่ละวันของไรฝุ่น จะทำการกิน ถ่ายและแพร่พันธุ์ โดยการแพร่พันธุ์สามารถทำได้เร็วมากๆ ตัวเมียจะตั้งท้องภายใน 1 ชั่วโมงและ 3 วันต่อมาก็จะตกไข่ จากระยะไข่จนเป็นตัวโตเต็มวัยจะใช้เวลาประมาณแค่ 1 เดือนเท่านั้นเอง

โรคภูมิแพ้

 เกิดจากการที่ร่างกายได้รับสารก่อภูมิแพ้เข้าไปภายในร่างกาย จึงเกิดการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันและมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารนั้นมากเกินจนผิดปกติ ซึ่งภายหลังจากได้รับสารนั้นเข้าไปอีก ภูมิคุ้มกันดังกล่าวจะกระตุ้นทำให้เกิดผลเสียต่อระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบรุนแรง โรคหอบหืด ทั้งยังทำให้ผู้ที่มีแนวโน้มจะเป็นโรคผิวหนังอักเสบมีอาการของโรคเร็วมากขึ้นไปอีก ซึ่งจะเกิดอาการเฉพาะในผู้ที่แพ้เท่านั้น ในคนปกติจะไม่เกิดอาการดังกล่าวแต่อย่างใด

 โรคภูมิแพ้ เป็นกลุ่มของโรคที่สามารถแสดงอาการได้กับหลายระบบของร่างกาย อาการของโรคภูมิแพ้จะขึ้นอยู่กับชนิดของโรคภูมิแพ้ที่เป็น ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ส่วนใหญ่มีสาเหตุการเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม โดยตัวการที่ทำให้เกิดอาการแพ้ จะเรียกกว่า สารก่อภูมิแพ้ (Allergens) หรือสิ่งกระตุ้น ซึ่งอาจเข้าสู่ร่างกายได้ทางระบบหายใจ การรับประทานอาหาร การสัมผัสทางผิวหนัง การสัมผัสทางตา ทางหู ทางจมูก หรือถูกกัดต่อยทางผิวหนัง

ไรฝุ่นทำให้เกิดภูมิแพ้ได้อย่างไร?

สำหรับผู้ที่มีแนวโน้มที่จะเป็นภูมิแพ้อยู่แล้ว ถ้าหากสูดดมมูลของไรฝุ่นที่ติดอยู่ตาม ที่นอน ปลอกหมอน ผ้าห่มต่างๆ หรือผิวหนังของเราไปสัมผัสกับตัวไรฝุ่นที่ตายแล้ว ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทาน (Antibodies) ขึ้นมา โดยภูมิต้านทานนี้จะปล่อยสารเคมีที่เรียกว่า ฮีสตามีน ซึ่งทำให้เกิดอาการบวม และการระคายเคืองของทางเดินหายใจ ไอ จาม คันตา และอาจรุนแรงถึงขั้นหอบหืด และภูมิแพ้นี้ยังสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีผู้ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ไรฝุ่นมากกว่า 10 ล้านคน ซึ่งถือเป็นภัยใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้ามอย่างยิ่ง

นอกจากนี้ยังสาเหตุของโรคหลายชนิด

ทั้งโรคทางเดินหายใจอักเสบเรื้อรัง โรคตาอักเสบ ที่ทำให้ตาระคายเคือง โรคจมูกอักเสบ ทำให้น้ำมูกไหลและมีการจามบ่อย โรคหอบหืด ที่ทำให้ไอและมีปัญหาระบบทางเดินหายใจ โรคหอบหืด โรคผิวหนังอักเสบ เช่น มีผื่นแดงและคัน ปวดศีรษะ เป็นต้น ซึ่ง ที่นอน สามารถมีตัวไรฝุ่นสะสมได้ถึงหลายล้านตัว และโดยเฉลี่ยคนเราต้องนอนอยู่บน ที่นอน ประมาณ 8 ชั่วโมงต่อวัน นั้นหมายความว่าผิวหนัง ระบบการหายใจของเราต้องสัมผัสคลุกคลีอยู่กับตัวไรฝุ่นและมูลนานมาก จนก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้ไรฝุ่นขึ้นนั้นเอง

         เพื่อความปลอดภัยและสุขภาพที่ดีของคุณและคนที่รัก การเลือกซื้อที่นอน มีความสำคัญอย่างมาก นอกเหนือจากคุณภาพของวัสดุที่ดีในการผลิตที่นอน ควรคำนึงถึงที่นอนที่มีการป้องกันไรฝุ่น แบคทีเรีย และเชื้อราต่างๆ ที่เป็นตัวการสำคัญในการทำลายสุขภาพอีกด้วย

Facebook
Twitter
Email
  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไรฝุ่น

ต้นไม้ ลดไรฝุ่น สำหรับคนเป็นภูมิแพ้

ต้นไม้ลดไรฝุ่นสำหรับคนเป็นภูมิแพ้

Previous
Next

ในช่วงล็อคดาวน์  หลายๆ คนน่าจะ work from home ที่บ้าน เลยเริ่มมีเทรนด์การปลูกต้นไม้ในบ้าน (indoor plants) ที่ฮิตๆเลย มียางอินเดีย มอนสเตอร่า ไทรใบสัก มีไว้ก็ถ่ายรูปเก๋ๆ เหมือนอยู่คาเฟ่ เรียกได้ว่าเป็นเฟอร์นิเจอร์ประดับบ้านของคนรุ่นใหม่

การปลูกน้องต้นไม้ในบ้านนี้ นอกจากจะเพิ่มสีเขียวให้ในบ้านแล้ว เค้ายังทำหน้าที่ฟอกอากาศ ให้เราด้วยนะ อีกทั้งยังมีต้นไม้ที่เคลมว่าฟอกอากาศได้ เช่น พลูด่าง ลิ้นมังกร ว่านงาช้าง

อันที่จริงแล้ว ต้นไม้ฟอกอากาศเนี่ยเริ่มมาจากงานวิจัยของ NASA

                เรื่องต้นไม้ฟอกอากาศเนี่ย เริ่มต้นมาจากงานวิจัยที่โด่งดังในปี1989 ของ NASA นะ เขาพยายามวิจับว่าทำอย่างไรจะดึงคุณภาพของอากาศหายใจ ในยานอวกาศให้สูงขึ้น เนื่องจากในห้องหรือพื้นที่ ที่ปิดสนิท (อย่างของยานอวกาศ) มีมลภาวะสะสมที่เกิดจากคน เพราะ อากาศไม่สามารถถ่ายเทได้ และอีกทั้งยังมีก๊าซทิ้งจากสารเคมี (off-gas) เช่น formaldehyde และ benzene ที่ระเหยมาจากพวกเฟอร์นิเจอร์ และเครื่องมือต่างๆในอาคาร ทำให้เกิดอาการ “sick building syndrome” เช่น  ผื่นคันที่ผิวหนัง ดวงตา หายใจไม่สะดวก ปวดศีรษะ แล้วอาการแพ้อื่นๆ นาซ่าเลยเริ่มตั้งข้อสันนิษฐานว่า มนุษณ์นั้นดำรงอยู่บนโลกได้ด้วยระบบนิเวศน์ของพืชและจุลินทรีย์ ถ้าเราย้ายไปอยู่ที่ๆเป็นระบบปิด ก็ควรนำพืชเหล่านี้ติดตัวไปด้วย นาซ่าพบว่า จุลินทรีย์ ที่อยู่ในต้นไม้ มีคุณสมบัติ ช่วยเปลี่ยนไวรัส แบคทีเรีย และ สารออแกนิค รอบๆ กลายเป็นเซลล์พืชในต้นไม้ โดยเฉพาะบริเวณระหว่างรากและดิน ต้มไม้ช่วยดูดสารพิษจากอากาศได้ในห้องพื้นที่ปิด

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีงานวิจัยแน่ชัด ผลกระทบของคนเมื่ออยู่ในพื้นที่ปิดกับต้นไม้และจุลินทรีย์

                อาทิ  เช่น ข้อควรระวังที่เราควรคำนึงจากการมีต้นไม้ในบ้าน ก็หนีไม่พ้นเรื่องของไรฝุ่นเลย เพราะน้องเป็นแหล่งจับไรฝุ่นชั้นดีหากไม่ได้เช็ดใบให้เป็นกิจวัตร อีกอย่างที่ควรระวังคือการรดน้าต้นไม้มากเกินไป เพราะความชื้นในรากเป็นที่มาของการเกิดรา เราควรเช็คว่าถาดรองต้นไม้ไม่มีน้ำขังหลังจากรดน้ำ อีกอย่างที่ช่วยได้คือให้นำน้องต้นไม้ออกไปวางโดนแดดรำไรๆข้างนอกอาทิตย์ละวันก็จะช่วยให้รากคลายความชื้นได้บ้าง นอกจากนี้ เราควรระวังต้นไม้ที่ใบมีขนอ่อนๆบนใบ เพราะมักจะดักสารก่อภูมิแพ้มาติด

               แล้วที่สำคัญเลย ในห้องนอนเราไม่ควรมีต้นไม้หลายต้นนะ แนะนำว่าให้มีต้นขนาดเล็กสักต้นก็พอ เพราะ ในตอนกลางคืนเนี่ยเป็นเวลาที่ต้นไม้คายน้ำ และ ผลิตแก๊ส  CO2 ที่เราคงไม่อยากให้มาอยู่ในที่ๆเรานอนนะ

                พูดถึงเรื่องนอน แน่นอนว่าสภาพแวดล้อมในพื้นที่พักผ่อน ความสะอาดต้องมาคู่กับความสบาย ลองนึกถึงเวลาที่เรา ได้นอนโรงแรม เตียง ผ้าปูใหม่ ทั้งขาวทั้งสะอาด มันทำให้เรานอนฟินเลยใช่ไหมล่ะ เหมือนกันกับที่บ้านของเรา ควรหมั่นเปลี่ยนปลอกหมอนและผ้าปู อย่างน้อยๆอาทิตย์ละครั้ง จะให้ดีเลยระหว่างอาทิตย์ก็หมั่นดูดฝุ่นบนผ้าห่ม หรือผ้าปู เพื่อลดไรฝุ่น ถ้าไครที่เลี้ยงสัตว์เล็กๆที่ขนร่วง ถือว่าจำเป็นเลย

เราอยากแนะนำที่นอนของ Sleepen ที่เขาเคลมว่า self-hygeinizing  ที่มาช่วยเราเรื่องความสะอาดนี้ ที่นอน Sleepen เขาใช้นวัตกรรม Viroblock ของ HEIQ Switzerland ที่ได้รับการรับรองจาก EU safe textile มีไยที่ใช้ที่ต้านแบคทีเรีย และ ไวรัสได้ 99.98% (ผู้ผลิตเขา ได้ส่งทดสอบ ว่าต่อต้านได้จริง ผ่าน 3 สถาบันเลย)   ทีนี้ ขอแถมที่ ดี๊ดีที่ มากับการแอนตี้ไวรัสคือ มันแอนตี้ดัสไมท์ หรือ ต่อต้านไรฝุ่นไปด้วยเลย  พอเราทดลองใช้ การจามช่วงเช้าๆนี่ลดลงเห็นชัด   ที่ Sleepen เขาว่า  self-hygeinizing จึงเป็นประการฉะนี้นี่เอง   ….  

ฝากไว้ว่าช่วงโควิด-19 นี้ หลายๆคนก็ต้องห่างกับเพื่อนสนิท ครอบครัว ญาติๆ ทั้งนั้นล่ะนะ หันมาลองปลูกต้นไม้ไว้อยู่เป็นเพื่อนให้เราได้ดูแล รดน้ำ ก็ช่วยแก้เหงาได้นะ แล้วก็ลดไรฝุ่นภูมิแพ้ไปเลย

Blogger Bibi

Facebook
Twitter
Email
  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไรฝุ่น