admin

ความเครียดส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร

ความเครียดส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร

ใครที่เคยผ่านการพักผ่อนไม่เพียงพอ ไม่ว่าจะเพราะต้องปั่นงาน อ่านหนังสือสอบ หรือ ติดซีรี่ย์เรื่องใหม่ จะรู้เลยว่าในวันนั้นๆอารมณ์แปรปรวนอย่างแน่นอน อีกทั้งยังรู้สึกไร้เรี่ยวแรง และขาดสมาธิ ขี้หลงขี้ลืม โดยรวมแล้วคนที่ขาดนอนจะสัมผัสได้ว่าการทำงานโดยทั่วไปของร่างกายเรามันไม่เหมือนวันอื่นๆ

             การอดนอนอาจจะมีผลกระทบที่ร้ายแรงทวีคูณขึ้นในบางสถานการณ์ เช่นเมื่อต้องขับรถ หรือ ในการต้องบังคับงานเครื่องจักรใหญ่ๆด้วยร่างกายที่แสนเหนื่อยล้าในขณะที่การได้นอนน้อยบ้าง สองถึงสามวันครั้ง คงไม่ได้อันตรายหนักหนา แต่การอดหลับอดนอนในระยะยาว สามารถเพิ่มโอกาศการเกิดปัญหาสุขภาพแบบเรื้อรังได้

              จากงานวิจัยของ CDC พบว่า กลุ่มคนที่นอนน้อยกว่า 7 ชั่วโมงต่อวันมีความเสี่ยงสูงขึ้นต่อการเป็นบรรดาโรคต่างๆ:

  • ภาวะโรคอ้วน
  • โรคหัวใจ
  • โรคเบาหวาน
  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • ภาวะซึมเศร้า
  • โรคข้ออักเสบ
  • โรคไต
 

ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียด และการนอน

               เมื่อได้ยินคำว่า ‘เครียด’ เราตีความหมายมันไปในทางลบโดยทันที แต่ในเชิงวิวัฒนาการของมนุษย์และสัตว์นั้น ความเครียดเป็นสัญญาณเตือนจากร่างกายให้เราจัดการกับปัญหาหรือภัยที่อยู่ตรงหน้า ก่อนที่มันจะบานปลายมาคุกคามการอยู่รอดของเรา

            ในมนุษย์ ความเครียดมีหน้าที่กระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic Nervous System) ให้ทำการหลั่งฮอร์โมน ที่เพิ่มแรงเต้นของหัวใจ ให้เลือดถูกไหลเวียนไปทั่วอวัยวะสำคัญข้างใน รวมถึงกล้ามเนื้อของเราอีกด้วย กระบวนการนี้ก็เพื่อเตรียมร่างกายให้พร้อมกับการต้องต่อสู้ เคลื่อนไหว ในสถานการณ์คับขัน ผลกระทบของความเครียด ต่อร่างกายในระยะยาว           แน่นอนว่าการรู้สึกเครียดเป็นบางครั้งบางคราวเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน แต่หากความเครียดถูกปล่อยให้อยู่นานๆ ระบบประสาทของเราต้องเผชิญกับภาวะตื่นตัวนานกว่าที่ควร ซึ่งส่งผลร้ายต่อกายภาพและสุขภาพจิตของเราได้

หนึ่งในผลกระทบจากความเครียดคือ อาการนอนไม่หลับ

           หากเราเป็นคนที่อยู่ในสภาวะตื่นตัวจากความเครียดบ่อยครั้ง จะทำให้เกิดดีเลย์ในกระบวนการของการนอนหลับ (Sleep Onset) ซึ่งคือการเปลี่ยนแปลงของร่างกายเราจากตอนเรารู้สึกตื่น ไปถึงตอนเรารู้สึกง่วงจนเข้าสู่การหลับสนิท การล่าช้าดังกล่าวเป็นที่มาของความคิดวิตกกังวลที่บ่อยขึ้น ณ ตอนกลางคืน

           นี่แหละเป็นวงจรที่ไม่มีไครอยากเข้าไปอยู่ เพราะการนอนหลับไม่พอยิ่งทำให้เกิดความเครียดเข้าไปอีก

            ในแบบสอบถามที่ถูกจัดเตรียมโดย National sleep foundation สถิติชี้ว่าในกลุ่มคนที่อายุระหว่าง 13-64 ปี 43%  มักประสบปัญหาการนอนไม่หลับ โดยนอนเฉยๆอยู่บนเตียงแต่ไม่สามารถหลับได้ อย่างน้อยๆเลยหนึ่งครั้งในเดือนที่ผ่านมา

  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • อาการหลับยาก ทำอย่างไรดี
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไขความลับ การนอนเปลี่ยนชีวิต
  • ไรฝุ่น

มันบุกมาแล้ว ไรฝุ่น และ ตัวเรือด EP 2

มันบุกมาแล้ว ไรฝุ่น และ ตัวเรือด EP 2

จาก ตอนที่แล้ว เราได้ไปพบปะแบคทีเรียชนิดต่างๆที่มักซ่อนอยู่ในเตียงของคุณ ในตอนนี้เราจะมาเล่าเรื่องสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมาอีกหน่อย  และภาชนะของใช้ที่มันแอบติดมาด้วย!ในหนึ่งวันคุณจะรู้ไหมว่า คุณผลัดเซลล์ผิวหนังประมาณถึง 500 ล้านเซลล์ขณะนอนหลับอยู่บนเตียงซึ่งเซลล์ผิวหนังเหล่านี้คืออาหารสุดแสนอุดมสมบูรณ์ของไรฝุ่นขนาดจิ๋ว มูลของไรฝุ่นเหล่านี้ขึ้นชื่อโด่งดังในเรื่องกระตุ้นให้เกิดอาการภูมิแพ้ต่างๆ แม้กระทั่งโรคหอบหืด สิ่งที่ร้ายเกี่ยวกับไรฝุ่นคือเจ้านี่ตัวเล็กมาก แม้ว่าตาเปล่ามนุษย์เรามองไม่เห็น แต่ลองถามคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ดูสิ ก็จะรู้เลยว่าไรฝุ่นสร้างโทษหลากหลายจริงๆ

นอกจากไรฝุ่นแล้วตัวเรือด (bed bugs) ก็เป็นภัยอันตรายได้เช่นกัน ซึ่งถึงแม้ว่าแมลงตัวเล็ก ๆ เหล่านี้ (ยาวประมาณ 5 มม.) ยังไม่มีข้อบ่งชี้ว่าเป็นพาหะนำโรค แต่ก็สามารถกัดเราทำให้เกิดรอยแดงคันได้ อีกทั้งยังมีผลกระทบต่อสุขภาพจิตที่ปรากฏอยู่ในอาการต่างๆ เช่น มีอาการวิตกกังวล นอนหลับยาก (ระแวงโดนกัด)  และ อาการภูมิแพ้

ตัวเรือดถูกนำเข้ามาในบ้านได้ผ่านสิ่งทอสารพัดชนิด เช่น เสื้อผ้าหรือเป้สะพายหลัง หรือ แม้กระทั่งติดมากับตัวสมาชิกในครอบครัวของคุณ

การซักและตากผ้าปูเตียงด้วยอุณหภูมิสูง (ประมาณ 55 องศาเซลเซียส) มีศักยภาพฆ่าไรฝุ่นได้ แต่สำหรับตัวเรือดนั้นจะต้องถูกกำจัดโดยมืออาชีพเท่านั้น และมักมีค่าใช้จ่ายที่แพงทีเดียว

1.  แล้วเชื้อโรคก็กล่าวว่า..ขอติดรถมาด้วยน้า

ระวังของใช้ของคุณให้ดี เพราะคุณยังสามารถนำเชื้อโรค เชื้อรามาสู่เตียงนอน ผ่านของใช้ในครัวเรือนเหล่านี้ที่ล้วนถูกปนเปื้อนแทบจะตลอดเวลา ของใช้ส่วนตัวดังเช่น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว หรือ ผ้าเช็ดมือ หรือพื้นที่ส่วนรวมเช่น พื้นผิวในห้องน้ำและห้องครัว หรือ สัตว์เลี้ยงในบ้านของคุณ

ผ้าเช็ดต่างๆที่ใช้ในห้องน้ำและห้องครัวล้วนเป็นแหล่งเพาะเชื้อแบคทีเรียหลายชนิดซึ่งมักหนีไม่พ้นสายพันธุ์ยอดฮิตอย่าง S. aureus และ E. coli 

แม้ว่าคุณจะเป็นคนที่รักษาความสะอาดตลอดก็อย่าเพิ่งตายใจ เพราะหากซักผ้าเหล่านี้ด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้อง เชื้อโรคสามารถถูกแพร่กระจายไปยังสิ่งของอื่นๆได้อย่างง่ายดาย นี่ก็รวมถึงผ้าปูที่นอนของเราด้วย แม้แต่โรคน่ากลัวอย่างโรคหนองในก็สามารถติดต่อผ่านผ้าเช็ดตัวหรือผ้าปูที่นอนได้

เชื้อโรค จุลินทรีย์ต่างชนิดมีชีวิตอยู่บนสิ่งทอได้เป็นระยะเวลาที่ต่างกัน ตัวอย่างเช่น S. aureus สามารถอยู่รอดได้เป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์บนผ้าฝ้าย และสองสัปดาห์บนผ้าขนหนู นอกจากนี้แล้ว เชื้อราชนิดต่างๆ (เช่น พันธุ์ Candida albicans ซึ่งสามารถทำให้เกิดเชื้อราในช่องปาก การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ และการติดเชื้อราที่อวัยวะเพศ) และสามารถอยู่บนผ้าได้นานถึงหนึ่งเดือน

ไวรัสไข้หวัดใหญ่สามารถมีชีวิตอยู่บนเสื้อผ้าและทิชชู่ใช้แล้วทิ้ง ได้นานถึง 8-12 ชั่วโมง และไวรัสชนิดอื่นๆ เช่น ไวรัสพันธุ์ Vaccinia ที่อยู่ในตระกูลไวรัสไข้ทรพิษ สามารถอาศัยอยู่บนขนสัตว์และใยฝ้ายได้นานถึง 14 สัปดาห์

ขอบคุณที่มาข้อมูลจาก: 

CNN Health. How frequently should you wash your bed sheets? More often than you think. https://edition.cnn.com/2021/07/30/health/bed-sheets-washing-partner-wellness-partner/index.html

  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • อาการหลับยาก ทำอย่างไรดี
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไขความลับ การนอนเปลี่ยนชีวิต
  • ไรฝุ่น

งานวิจัยโควิดชี้แนะ วิธีเลี่ยงการติดเชื้อกันภายในรถ

งานวิจัยโควิดชี้แนะ วิธีเลี่ยงการติดเชื้อกันภายในรถ

ปัจจุบันในภาวะการณ์แพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19

หลายครั้งที่สมาชิกในบ้าน จำเป็นต้องขับรถพาผู้ติดเชื้อไปส่งที่โรงพยาบาล เนื่องจากไม่สามารถหารถ ambulance มารับได้เลย จะทำอย่างไรเพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อในช่วงการเดินทางดังกล่าว เรามีงานวิจัยล่าสุดมาบอกเล่ากัน

    งานวิจัยจาก มหาวิทยาลัย Swansea พบว่า การหมั่นเปิดหน้าต่างในรถเพียงแค่ระยะเวลา 10 วินาที สามารถลดการสะสมของละออง Covid-19 ได้ถึง 97% ความแตกต่างของแรงดันลมระหว่างข้างในและนอกรถ ทำให้มีลมโบกพัดแรงดูดไวรัสออกจากรถได้

     หากเราขับรถยนต์ด้วยความเร็วต่ำกว่า 48กม./ชม. การเปิดกระจกทั้งหมด 4บาน จะได้ประสิทธิภาพสูงสุด แต่ในการขับด้วยความเร็วมากกว่านี้ ให้เปิดกระจกแนวแทยง 2 บาน

ศาสตราจารย์ เชินเฟง ลี, มหาวิทยาลัย SWANSEA Tweet

การแพร่กระจายเชื้อทางอากาศของเชื้อไวรัส Covid-19 เกิดขึ้นได้ผ่านสองทาง

การแพร่กระจายเชื้อทางอากาศของเชื้อไวรัส Covid-19 เกิดขึ้นได้ผ่านสองทาง : ผ่านละอองฝอยขนาดใหญ่ที่ออกมาผ่านการ ไอ, หรือ ผ่านละอองลอยจากการหายใจเข้าออกโดยทั่วไป

ละอองฝอยขนาดใหญ่มีน้ำหนักมากพอที่จะสามารถตกลงมาอยู่บนพื้นผิวต่างๆได้ภายในไม่กี่วินาที ในขณะเดียวกันละอองลอยนั้นสามารถระเหย และปล่อยไวรัสวนเวียนอยู่ในอากาศถึงหนึ่งชั่วโมง   หัวหน้าโปรเจค ศาสตราจารย์ เชินเฟง ลี ได้แนะนำวิธีที่จะสามารถป้องกันการแพร่เชื้อแบบผ่านละอองลอย

“เมื่อขับรถด้วยความเร็วต่ำ ความต่างของแรงดันระหว่างภายในและนอกรถจะมีไม่มาก ทำให้อากาศภายในรถมีความปั่นป่วนสูง ซึ่งเราจะพบสภาวะนี้มากในการขับรถในเมือง เพราะโดยธรรมชาติแล้วจะมีการต้องหยุด-สตาร์ทรถตลอด อีกทั้งยังมีการเลี้ยวเพื่อเปลี่ยนทิศบ่อยครั้ง”

“ในสถานการณ์เหล่านี้ เราต้องถ่ายเทอากาศให้มากเท่าที่จะทำได้ ด้วยการเปิดหน้าต่างให้เยอะที่สุด”

แต่เมื่ออยู่บนทางด่วนที่ใช้ความเร็วสูง เราควรปฎิบัติอีกแบบหนึ่ง

เราพบว่า รถที่เคลื่อนที่เร็วขึ้นส่งผลให้ความต่างในความดันอากาศสูงขึ้น ทำให้การเปิดกระจกที่แทยงกัน (เช่น กระจกขวาหน้า, กระจกซ้ายหลัง) สร้างภาวะอุโมงค์ลมที่ทำให้การกระจายละอองอากาศดีขึ้นเมื่อเทียบกับเวลาเปิดกระจกทั้งสี่บาน กระบวนการนี้ได้ผลมากถึงขั้นที่ว่า ต้องทำแค่ 10วิ ทุกๆ5-10นาที หรือ ทุกครั้งที่มีคนไอ หรือจามในรถ

ศาสตราจารย์ ลี

“เราพบว่า รถที่เคลื่อนที่เร็วขึ้นส่งผลให้ความต่างในความดันอากาศสูงขึ้น ทำให้การเปิดกระจกที่แทยงกัน (เช่น กระจกขวาหน้า, กระจกซ้ายหลัง) สร้างภาวะอุโมงค์ลมที่ทำให้การกระจายละอองอากาศดีขึ้นเมื่อเทียบกับเวลาเปิดกระจกทั้งสี่บาน”

“กระบวนการนี้ได้ผลมากถึงขั้นที่ว่า ต้องทำแค่ 10วิ ทุกๆ5-10นาที หรือ ทุกครั้งที่มีคนไอ หรือจามในรถ”

      ทีมวิจัยยังพบอีกว่า การนั่งข้างหน้าจะปลอดภัยกว่าข้างหลัง เพราะปริมาณลมส่วนใหญ่เลยจะถูกเป่าไปในทิศทางข้างหลัง หากผู้โดยสาร (หลายครั้งมักเป็นผู้ที่ติดเชื้อ) ในรถจำเป็นต้องนั่งข้างหลัง ศจ. ลี แนะนำว่าให้ผู้โดยสารรถนั่งอีกฝั่งจากฝั่งที่กระจกเปิดอยู่ คำแนะนำนี้สำคัญมากโดยเฉพาะสำหรับรถโดยสารเช่น รถแทกซี่  รถเช่า และรถส่วนตัว

(คำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้แปล  สำหรับประเทศไทย ที่ใช้พวงมาลัยขวา การเปิดกระจกทแยง หมายความว่า ผู้โดยสารควรนั่งด้านหลังผู้ขับ ในขณะที่ กระจกถูกลดแบบทแยง ตามภาพ )

 

ในอีกส่วนหนึ่งของงานวิจัย ศจ. ลี ผู้ซึ่งเป็นตัวแทนของทีมที่ปรึกษาด้านเทคนิคเกี่ยวกับโควิด-19 ของรัฐบาลเวลช์ ได้ถูกขอให้ทำการตรวจสอบว่า ฉากกั้นระหว่างที่นั่งข้างหน้าและข้างหลังมีประโยชน์หรือไม่

สิ่งที่พบคือ ฉากกั้นอาจจะมีผลเสียมากกว่าผลดี

“นอกจากจะเพิ่มบริเวณพื้นผิวให้ละอองของเหลวมาเกาะแล้ว ฉากกั้นยังขัดขวางไม่ให้อากาศในรถหมุนเวียน”

“ทั้งนี้ทั้งนั้น แม้นี่อาจจะช่วยป้องกันคนขับได้ แต่สำหรับผู้โดยสารข้างหลัง ฉากกั้นทำหน้าที่เหมือนฟองอากาศขนาดใหญ่ที่ยากมากที่ไวรัสข้างในจะถูกขับออกมาข้างนอกได้ผ่านแรงดันของอากาศ”

อย่างไรก็ตาม ศจ. ลี กล่าวว่า การใส่หน้ากากยังเป็นวิธีที่ดีสุดในการป้องกันตนเองในรถสาธารณะ

ผลจากทีมวิจัยยังชี้ว่า การใส่หน้ากากป้องกันช่วย ลดการปล่อยเชื้อไวรัสได้ 90% และ การรับเชื้อไวรัสในผู้โดยสารลดลงไป 70%

  

บทความแปลมาจาก BBC NEWS

สนับสนุน โดย สลีปเพ็น

  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • อาการหลับยาก ทำอย่างไรดี
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไขความลับ การนอนเปลี่ยนชีวิต
  • ไรฝุ่น

มันบุกมาแล้ว เมื่อเชื้อโรคและสารพัดสัตว์ บุกที่นอนของคุณ ep 1

มันบุกมาแล้ว เมื่อเชื้อโรคและสารพัดสัตว์ บุกที่นอนของคุณ ep 1

อะไรเล่าจะสุขใจมากกว่าการได้คลานขึ้นเตียง ห่อตัวเองในผ้าห่มนุ่มๆ จมลงหมอนรอให้ราตรีพาเราไป ทว่าก่อนที่จะรู้สึกสบายมากเกินไป คุณอาจจะอยากรู้ว่า ที่จริงแล้วที่นอนของคุณไม่ได้ต่างจาก จานเพาะเชื้อในห้องแล็บดีๆนี่เอง ส่วนผสมที่ลงตัวจากเหงื่อ น้ำลาย รังแค เศษเซลล์ผิวหนังของเรา อีกทั้งพวกเศษอาหารหลงเหลือ สร้างสภาพแวดล้อมที่เหมือนสวรรค์สำหรับเชื้อโรคต่างๆ เช่นแบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัส ไรฝุ่น และก็ ยังมีแมลงป่วนสุข(สุขของการนอน) อีกด้วย

ทำใจไว้ดีๆ เพราะต่อไปนี้ คือสิ่งที่อาจจะแฝงตัวอยู่ในผ้าห่มของเรา  เริ่มกันที่ แบคทีเรีย ก่อน

ที่นอนของเราก็เปรียบเสมือนเจ้าบ้านของแบคทีเรียหลากหลายสายพันธ์

ยกตัวอย่างจากงานวิจัยหนึ่งที่วิเคราะห์ ผ้าปูเตียงของโรงพยาบาล ที่พบแบคทีเรีย Staphylococcus ฝังตัวกันอย่างดาดดื่น

 แบคทีเรียพวกนี้แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วไม่เป็นอันตราย แต่หากเข้ามาในร่างกายเราผ่านแผลเปิดบนผิวหนังจะทำให้เกิดอาการป่วยร้ายแรงได้

และ บางสายพันธ์ของแบคทีเรีย Staphylococcus ก็สามารถสร้างความร้ายแรงได้มากกว่าสายพันธ์ที่เหลือ

อย่างสายพันธ์ Staphylococcus aureus  (เรียกสั้นๆว่า S. aureus ) 

ซึ่งเป็นสายพันธ์ที่ติดต่อง่าย และ สามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อของผิวหนัง ฝีหนอง อาการปอดบวม และ การเป็นสิวอักเสบ 

S.aureus ที่ถูกพบบนปลอกหมอน หลายสายพันธ์ก็เป็นพวกดื้อยา (ปฎิชีวนะ ) ด้วย

ผลจากงานวิจัยยังพบว่า ที่มักถูกพบด้วยกันกับ Staphylococcus และ  E. coli  คือบรรดา  แบคทีเรียแกรมลบ ที่ทำให้เกิดโรคติดเชื้อ และพวกนี้ก็ดื้อยาด้วย โรคติดเชื้อที่พวกนี้ก่อ ก็อย่างเช่น 

ติดเชื้อท่อปัสสาวะ อาการท้องร่วงในนักเดินทาง การติดเชื้อในลำไส้ และ อาการปอดบวม

นี่คือเหตุผลว่าทำไมการล้างมือหลังใช้ห้องน้ำเสร็จจึงสำคัญมาก ก็เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อแบคทีเรียไปยังส่วนอื่นๆในบ้าน

             แน่นอนว่าสภาพแวดล้อมของโรงพยาบาลนั้นย่อมแตกต่างจากบ้านที่อยู่อาศัยของเรา ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า เป็นไปไม่ได้ที่แบคทีเรียจะมาถึงบนที่นอนของเรา ที่จริงแล้วประมาณหนึ่งในสามของคนทั่วไปนั้น มีเชื้อ S. aureus อยู่ในร่างกาย และสามารถปล่อยสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ออกมาในปริมาณที่น่าตกใจ –นี่หมายความว่า ไม่ใช่เรื่องยากอะไรเลยที่แบคทีเรียอย่าง S. Aureus จะ บุกมาถึงที่นอนในบ้านของเรา

จาก

CNN Health. How frequently should you wash your bed sheets? More often than you think. https://edition.cnn.com/2021/07/30/health/bed-sheets-washing-partner-wellness-partner/index.html

Facebook
Twitter
WhatsApp
Email
  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไรฝุ่น

เปิดความจริง ที่นอนนำเข้า ที่นอนใส่กล่อง

เปิดความจริง ที่นอนนำเข้า จะได้เข้าใจกันซักที

กระแสมาที่นอนนำเข้าใส่กล่อง ที่นอนใส่กล่องคืออะไรกันแน่?
ที่นอนแบบไหนใส่กล่องได้ แบบไหนไม่ควรใส่กล่อง จะมาบอกกันให้รู้วันนี้ 

จุดเริ่มต้นของที่นอนใส่กล่องมาจากความพยายามลดต้นทุนการขนส่ง ก่อนจะใส่กล่องได้ ที่นอนต้องถูกดูดลม จนเหลือ อย่างน้อย หนึ่งในสามของปริมาตร แล้ว ถูก ม้วน ให้ กลม เพื่อบรรจุลงกล่องทรงสูง

                ในบรรดาที่นอนที่หลากหลาย ที่นอนสปริงธรรมดา  ที่นอนพ็อคเกตสปริง ที่นอนยางพาราแท้   มีเพียงที่นอนฟองน้ำ ยางพารา และ  เมมโมรี่โฟม  ที่ดูจะมีปัญหาน้อยเมื่อถูกดูดลม เนื่องจาก ปราศจากโครงสร้างลวดสปริงที่เป็นของแข็ง  การคืนตัวหลังแกะกล่อง จะใช้เวลาประมาณ 1 วัน ให้กลับสู่สภาพสมบูรณ์ 

สำหรับที่นอนยางพาราแท้นั้น...

มีความหนาแน่นที่สูงมากและมีน้ำหนักที่หนักมาก ซึ่งแล้วแต่สูตรการผลิตของแต่ละโรงงานที่ผลิตยางพารา โดยจะมีความหนาแน่นอยู่ที่ 50-80 kg/cbm โดยประมาณ  ที่นอนยางพาราเนื้อดีหรือไม่จะอยู่ที่ส่วนผสมของเนื้อยาง หากผลิตออกมาแล้วเนื้อยุ่ยง่าย ฉีกขาดง่าย เมื่อนำมาดูดสุญญากาศม้วนแล้วจะมีผลอย่างมากที่ทำให้ยางพาราฉีกขาดอย่างรวดเร็ว

                  โดยปกติแล้วไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำที่นอนยางพาราที่หนากว่า 4 นิ้ว ในรูปแบบที่นอนปกติ เนื่องจากด้วยน้ำหนักตัวคนเมื่อนอนลงไประยะการยุบตัวของชั้นยางพาราจะไม่ถึง 4 นิ้ว
ดังนั้นสำหรับความเชื่อที่ต้องซื้อที่นอนยางพาราทั้งก้อนหนามากกว่า 4 นิ้วแล้วจะทำให้นอนดีจึงเป็นความเชื่อที่ไม่จำเป็นค่ะ ไม่ต้องจ่ายแพงสำหรับที่นอนทั้งชิ้นขนาดนั้นเลย หนักเกินไป แถมเปลี่ยนผ้าปูก็ยังเหนื่อยอีกต่างหาก

 

            ที่นอนสปริงธรรมดา ตามโครงสร้างที่ดี จะต้อง มี ลวดขอบ border perimeter wire วางอยู่ บน และ ล่าง ของที่นอน รวมถึงลวดซัพพอร์ตด้านข้าง เพื่อรักษาทรงของที่นอนให้อยู่ในลักษณะทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตลอดอายุการใช้งานความเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ไม่โย้ ไปด้านใดด้านหนึ่ง มีความสำคัญ ในการรักษาสมดุลของวงสปริงภายในให้เฉลี่ยรับน้ำหนักผู้นอนอย่างเท่าเทียม  แต่ ลวดขอบนี้ไม่สามารถจะหักหรือจับม้วนได้เลย

            ดังนั้นที่นอนสปริงที่นำเข้าจากต่างประเทศ (จีน) จึงมีราคาถูกจะไม่มีลวดขอบและตัวลวดซัพพอร์ตด้านข้าง ซึ่งผู้บริโภคสามารถสังเกตได้ง่ายโดยการนั่งลงด้านข้างที่นอน (ด้านใดก็ได้)  จะรู้สึกถึง การยุบตัวและไหลตัวลงพื้นทันที
ข้อเสียของการดูดสุญญากาศที่นอนในลักษณะนี้จะมีหลายประการ

                     1. สปริงคืนตัวไม่ถึง 80%
                     2. ยุบตัวเร็ว หรือ ลวดภายในอาจจะทิ่มหรือหัก แทงออกมาให้เห็นนอกที่นอน เป็นอันตรายต่อผู้นอนได้
                     3. ชั้นวัสดุฟองน้ำภายในก็สามารถที่จะยุ่ยเร็วเนื่องจากเกิดการเสียดสีกับโครงสร้างลวดภายในโดยตรงอีกด้วย

                 ที่นอนพ็อคเกตสปริง เป็นที่นอนที่มีคุณภาพสูงจะมีชั้นฟองน้ำและชั้นวัสดุอื่นหลายชั้น และมีราคาสูงตาม ดังนั้นผู้ผลิตจะไม่นิยม ดูดลม และ ม้วนใส่กล่อง  เนื่องจากการคืนตัวของที่นอน อาจจะไม่ ถึง 100% อีกหนึ่งงประเด็น หากที่นอนถูกเก็บในกล่องนานเกิน 6 เดือน มีความเป็นไปได้ที่กาว adhesive ที่เชื่อมถุงพ็อคเก็ตจะเกิดเสื่อมสภาพทำให้ถุงพ็อคเกตมากมายจะแตกตัวออกจากกันได้ ซึ่งทำให้สปริงล้มและเกิดการยุบตัวเป็นแอ่งของที่นอนทำให้ผู้นอนปวดหลังนั่นเองค่ะ

                  ตอนนี้ข้อดี ข้อเสีย ของที่นอนใส่กล่องก็เริ่มชัดขึ้นแล้ว ดาร์ลิ่งก็หวังว่าจะช่วยเพิ่มความเชี่ยวชาญในการช้อปปิ้งออนไลน์ให้กับทุกคนนะคะ

Facebook
Twitter
WhatsApp
Email
  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • อาการหลับยาก ทำอย่างไรดี
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไขความลับ การนอนเปลี่ยนชีวิต
  • ไรฝุ่น

อยากใช้เครื่องนอนผ้าคอตต้อน รู้ไหมอันไหนจริง อันไหนย้อมแมว

ใครๆ บอกพูดแต่ผ้าคอตตอน รู้หรืออันไหนจริง อันไหนย้อมแมว ??

              ปัจจุบันในธุรกิจสิ่งทอเคหะโดยเฉพาะผ้าปูปลอกหมอนที่ใช้ตามบ้านมีความสับสนสูงมากค่ะ โดยเฉพาะในตลาดออนไลน์ซึ่งลูกค้าไม่สามารถจะจับต้องเนื้อผ้าได้แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าโดนเขาหลอกว่าเป็นผ้าคอตตอน แต่ที่แท้แล้วไม่ใช่ !

ก่อนอื่นต้องมาเรียนรู้พื้นฐานของเส้นใยและเส้นด้ายกันนิดนึงในโลกของสิ่งทอรวมถึงเสื้อผ้าที่เราสวมใส่กันอยู่เส้นใย มาจาก ประเภท
1. ฝั่งที่มาจากธรรมชาติ 
2. ฝั่งที่มาจากสังเคราะห์  

ภายใต้ฝั่งธรรมชาติเส้นใย จะมาจาก สัตว์ และ พืช

ฝั่งที่ได้มาจากสัตว์ เช่น รังไหม ขนแกะ ส่วนฝั่งที่ได้มาจากพืช เช่น ฝ้าย หรือคอตต้อนในภาษาอังกฤษ  ที่เป็น ตัวหลัก มีหลายพันธุ์ แต่ที่คุณภาพสูงจะเป็นพันธุ์ อียิปต์ และ sea island

Previous
Next

ในส่วนของฝั่งเส้นใยสังเคราะห์

ตัวแม่ที่เป็นที่แพร่หลายที่สุดคือ ใยโปลีเอสเตอร์ (เส้นใยจะถูกปั่นตีเกลียวเป็นเส้นด้ายโปลีเยสเตอร์) เมื่อ 10 ปี มานี้ มีใยไมโครไฟเบอร์ถูกพัฒนาต่อยอดจากใยโปลีเอสเตอร์มีความบางขนาด 5-10 ไมครอน เท่านั้น  ซึ่งบางกว่าเส้นใยฝ้ายที่มีขนาด 20 ไมครอน เสียอีก  

           อ้าว แล้วทีนี้ มันยังไงต่อหล่ะ ต้นทุนในการผลิตเส้นใยผ้าย (ซึ่งต่อมาก็จะถูกปั่น ตีเกลียวเป็น เส้นด้ายฝ้าย ) นับว่าแพงมากเลย เมื่อเทียบกับพวกเส้นใยสังเคราะห์ การปลูกฝ้ายใช้เคมีเยอะมากเพื่อฆ่าศัตรูพืชต้องรดน้ำกันมหาศาลเลยเวลานำผ้าฝ้าย  มา ฟอก มาย้อม มาพิมพ์ ก็ปล่อยก๊าซคาร์บอนอีก
อย่างไรก็ตามคอตตอนมีข้อดีมากมายจึงไม่มีวันตายและใยสังเคราะห์ก็เลียนแบบไม่ได้ คือระบายอากาศได้ดี ใส่แล้วเย็น  ใช้ได้ดีทั้งในเมืองร้อนเมืองหนาว ทนการอบผ้าแบบร้อนๆได้ ยิ่งซักยิ่งนุ่ม ทนการซักรีดได้สูง  โรงแรมจึงระบุเลือกแต่ ผ้าค้อตต้อน 100 %  
ส่วนต้นทุนการผลิตผ้าไมโครไฟเบอร์นั้นถูกกว่าเยอะ เพราะมันถูกสังเคราะห์มาไง ยิ่งผลิตเยอะก็ยิ่งถูก ทีนี้ผ้าไมโครฯ เขามีเนื้อเนียน ผิวสัมผัสนุ่ม  เพราะมีใยไมโครไฟเบอร์ที่เป็นต้นตอ  ผู้บริโภคจึงเข้าใจไปเองว่า น่าจะเป็นคอตต้อน (ชนิดหนึ่ง) ฝ่ายพ่อค้าแม่ค้า ก็ เออๆ ออๆ ไปด้วย ประมาณว่าอยากขายของให้ได้เเลยไม่อยากพูดมากหรืออาจจะไม่มีความรู้ด้านสิ่งทอเลยก็เป็นไปได้

 

            แล้วเวลาช้อปปิ้งออนไลน์จะแยกออกได้ยังไงหล่ะ ?  เวลาที่มันเป็นผ้าไมโครฯ นั้น ผู้ผลิตก็จะเลี่ยงไม่ใช้คำว่า คอตตอน 100%  แต่จะหันไปตั้งชื่อเก๋ๆ (แต่ถ้าถามไป คนขายอาจจะบ่ายเบี่ยง ไม่ตอบ เพราะไม่รู้จริงก็ได้นะ ) ส่วนใหญ่มักจะลงท้าย ด้วยคำว่า “เทค” “นาโน” “ไมโคร” เอาแน่เอานอนไม่ได้ (ตามสะดวกคนตั้งชื่อละกัน อย่าไปซ้ำกับ แบรนด์คู่แข่งเป็นใช้ได้)

 
ส่วนการเคลมจำนวนเส้นด้าย ก็แล้วแต่จินตนาการไปเลย 1,000 เส้นก็มี ซึ่งมันเป็นไปได้ยากมาก (มันเกี่ยวกับ ขนาดของเส้นด้าย ที่มีขนาดตายตัวแน่นอนอยู่แล้วในวงการสิ่งทอ)


แล้วเดี๋ยว EP หน้า จะมาอธิบาย ความหมายของ จำนวนเส้นด้าย หรือ thread count เพื่อช่วยในการเลือกซื้อผ้าปูปลอกหมอนฯ กันค่ะ 

Facebook
Twitter
WhatsApp
Email
  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไรฝุ่น

ภูมิแพ้เกิดจากมูลของไรฝุ่น มีของแถมเป็นเชื้อรา ด้วยจ้า

ภูมิแพ้เกิดจากมูลของไรฝุ่น มีของแถมเป็นเชื้อรา ด้วยจ้า

เพื่อนๆลองทายว่าในห้องนอนห้องหนึ่ง จะมีสิ่งมีชีวิตที่มองไม่เห็นสักกี่ตัว หมื่นตัว? แสนตัว? ถึงล้านไหม?

                  ในงานวิจัยจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล พบว่า ห้องนอนโดยเฉลี่ยแล้วมีตัวไรฝุ่นมากนับล้านตัว เพราะอุณหภูมิ และความชื้นที่พอเหมาะ
            อีกงานวิจัยของต่างประเทศ ทีมแพทย์นำใยผ้าจากที่นอนเก่ามาส่องผ่านกล้องกล้องจุลทรรศน์ ปรากฏว่าพบอาณาจักรสิ่งมีชีวิตตัวจิ๋วที่แม้มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่เมื่อมาดูใกล้ๆ เต็มไปด้วยสารก่อภูมิแพ้และเชื้อรามากถึง 26 ชนิด             

สิ่งที่หลายคนไม่รู้คือ

        เชื้อรา และ ไรฝุ่น มักจะอยู่คู่กัน ที่ไหนมีไรฝุ่น การันตีเลยว่าที่นั่นมีเชื้อราอยู่ด้วย (รองลงมาจากขี้ไคล และรังแคของคน) เพราะเชื้อราคือหนึ่งในอาหารหลักของไรฝุ่น แม้จะถูกตัวไรฝุ่นกินเข้าไปแล้วมันก็ไม่ได้หายไปไหนไกลเลย เพราะเมื่อถูกขับถ่ายออกมา ราข้างในมูลไรยังสามารถเติบโตต่อได้ในบริเวณเดิม ตราบใดที่มีความชื้นเพียงพอ

สรุปง่ายๆว่าตัวไรฝุ่นอยู่กินจากเชื้อราได้ในที่เดียวกันได้แทบจะตลอดวงจรชีวิตของมันเลยแหละ จึงอธิบายว่าทำไมไรฝุ่นถึงอยู่ในที่ๆมันอยู่ได้อย่างดื้อดึง เป็นเพราะว่าที่อยู่อาศัยของมันครบวงจรสุดๆ อำนวยให้มันกินอยู่ได้ในที่เดียวกับที่สืบพันธ์โดยที่ไม่ต้องย้ายไปไหนเลย

สิ่งอื่นที่ไรฝุ่นกินเป็นอาหาร

 คือ เกสร ยีสต์ แบคทีเรีย และ เส้นใยพืช อย่างไรก็ตามอาหารโปรดของไรฝุ่นไม่ใช่อะไรอื่นใดเลย นอกจากเซลล์ผิวหนังของเราในขี้ไคลและรังแคนี่แหละ ที่ถูกปกคลุมไปด้วยนานาชนิดแบคทีเรีย อีกทั้งยังมีน้ำมันบนผิวเรา (และหนังศีรษะด้วย เยอะมาก)  เชื้อรา และ จุลินทรีย์ต่างๆที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจากความชื้นบนผิวเรา

ใครอยากเห็นมูลไรฝุ่น วันนี้เรามีรูปมาฝาก

ภาพข้างล่างมาจากการส่องกล้องจุลทรรศน์บนมูลของไรฝุ่น สังเกตตรงรอบๆก้อนมูลให้ดี นั่นแหละคือเส้นใยของเชื้อรา (mold hyphae) ที่เห็นได้ว่าเลื้อยออกมาด้านนอก โดยน้องเชื้อราพวกนี้ พอถูกขับถ่ายออกมา ตราบใดที่มีความชื้นมันก็สามารถโตต่อได้เลย

ขอบคุณรูปจาก Dr Matthew J Colloff, copyright CSIRO Publishing.

คำแนะนำจากนักวิจัย

แล้วอะไรกันอยู่ในเจ้าก้อนๆมูลไรฝุ่นเนี่ย

เมื่อแพทย์ดำเนินการส่องดูในมูลไรฝุ่น ได้เจอสารก่อภูมิแพ้อีก 15ชนิด แต่อย่าเพิ่งตื่นตูมกันไป เพราะโดยส่วนใหญ่คนเป็นโรคภูมิแพ้ ไม่ได้แพ้ทุกชนิด ที่พบว่ากระตุ้นโรคภูมิแพ้จริงๆ มีอยู่3 ชนิด  ดังกล่าว:

  1. Der p1 ซึ่งเป็นเอ็นไซม์ย่อยอาหารของ ไรฝุ่นสายพันธุ์ยุโรป Dermatophagoides pteronyssinus
  2. Der p2 เป็นโปรตีนที่เลียนแบบอาการคล้ายการติดเชื้อจากแบคทีเรีย
  3. Der p23 เป็นเอ็นไซม์ที่เป็นส่วนประกอบอยู่ในฟิล์มที่หุ้มมูลไร

จากงานวิจัยพบว่า ไรฝุ่นไม่สามารถมองเห็นหรือคุมอุณหภูมิร่างกายของมัน (อีกทั้งยังไม่มีระบบทางเดินหายใจที่ชัดเจน) ทำให้ไรฝุ่นจำเป็นต้องอาศัยอยู่กันเป็นนิคมแบบพึ่งพากันและล้วนใช้ประสาทสัมผัสในการอยู่รอด รวมถึงการหาอาหาร การหาแหล่งสืบพันธ์ และการหลบภัยอันตราย

สภาพแวดล้อมที่เขาอยู่กัน ต้องเป็นที่อุ่น ชื้น มืดและนิ่ง ที่มันสามารถหลบแสงสว่างได้ ไรฝุ่นชอบหลบในรูของผ้าทอสุดๆ เช่น ผ้าม่าน ผ้าหุ้มโซฟา พรม หมอน ผ้าห่ม และที่นอน   ล้วนอยู่ ในห้องนอนของเราทั้งสิ้น

เมื่อลองมาคิดดู ที่จริงก็น่าทึ่งไม่ใช่น้อยที่ถึงแม้ว่ากฎเกณฑ์การมีชีวิตของมันจะเยอะขนาดนี้ การดำรงชีวิตของไรฝุ่นมีอยู่จริงแน่นอน อยู่อย่างสบายๆด้วย ถ้าเราไม่จัดการกับมัน

Facebook
Twitter
WhatsApp
Email
  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไรฝุ่น

ตัว(ไร) อ่ะ?!? หน้าฝนนี้ ใช้เครื่องนอนต้านไรฝุ่น ต้านไวรัส โอกว่า

ตัว(ไร) อ่ะ?!? หน้าฝนนี้ ระวังไรฝุ่น

ช่วงนี้เมืองไทยเปลี่ยนเป็นฤดูฝนแล้ว
        พออากาศเย็นก็ขึ้นค่อยสบายตัวหน่อย อากาศเปลี่ยนแปลงก็ดูแลตัวเองกันด้วยนะทุกคน เพราะว่าหน้าฝนเป็นช่วงที่หลายๆคนพบว่ามีปัญหาเรื่องการหายใจมากกว่าปกติเนื่องจากความชื้นในอากาศ โรคภูมิใจทางเดินหายใจหลักๆก็มี โรคหอบหืด โรคแพ้อากาศ หรือโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ รู้หรือไม่ว่าสาเหตุหลักๆของอาการภูมิแพ้เหล่านี้เนี่ย มักจะมาจากปริมาณไรฝุ่นที่เพิ่มขึ้นในอากาศเนื่องจากความชื้นที่สูงขึ้น

ถามว่าไรฝุ่นมาจากไหน

 ความจริงมันมีอยู่ทุกที่นั่นแหละ แต่ที่เป็นแหล่งชุกชุมเลยก็จะเป็นตามที่มืดๆ มีเส้นใยซับซ้อน เช่น หมอน ผ้าห่ม พรม เฟอร์นิเจอร์  โดยจะชอบอยู่ในที่ร้อนชื้น อย่างประเทศไทยเรา ซึ่งอากาศมีความชื้นสัมพัทธ์ ที่ 70-80% ไรฝุ่นเติบโตได้ดีเลยทีเดียว

      เอ้ะ แล้ว ไรฝุ่นมันคืออะไรกันแน่ หลายคนเคยได้ยินแต่ก็ไม่ค่อยเข้าใจว่ามันคืออะไร เป็นสัตว์หรือเป็นฝุ่นกันแน่ วันนี้เลยมาไขข้อข้องใจคร่าวๆ นะ

ตัวไร เนี่ย เป็นแมงขนาดเล็กตระกูลเดียวกับพวกเห็บ มีหลายสายพันธ์ เช่นไรของสัตว์ เช่น ไรนก ไรหนู ไรพืช ส่วนตัวไรฝุ่นที่ซี้กับมนุษย์เราเลยเนี่ย เรียกว่า ไรฝุ่นบ้าน (house dust mite) ถ้าไครบอกว่าเคยเห็นตัวไรฝุ่น อย่าไปเชื่อเลย โม้แน่นอน เพราะว่าตาเรามองไม่เห็นแน่นอน เจ้าไรฝุ่นขนาดเล็กมากๆเกือบเท่าจุดดินสอ (ประมาณ 0.1-0.3 มม) ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องเท่านั้นถึงจะเห็น ตัวจะชอบซ่อนอยู่ตามที่ซอกมุมมืดๆ ในบ้าน โดยเฉพาะที่นอน หมอน โซฟา พรม

บุฟเฟต์รังแค

ทีนี้เพื่อนๆคงถามว่า แล้วทำไมมันถึงชอบไปอยู่ในที่พวกนั้น

ก็เพราะเจ้าพวกนี้มันชอบกินเศษผิวหนัง และรังแคของเรามากไงล่ะ! (สะพรึงมากจ้า)

ถ้าเราลองนึกดูนะ ในเวลา24ชม. เฉลี่ยแล้วเราใช้เวลาตั้ง6-9ชมต่อวันแน่ะบนที่นอน (ช่วงล้อคดาวไม่ต้องพูดถึง น่าจะมากกว่านั้นอีก เหอๆ) คิดดูว่าขี้ไคลเราที่สะสมตามที่นอน น่าจะประหนึ่งเหมือน บุฟเฟ่ต์ให้ไรฝุ่นกินกันอย่างสำราญ…

 

ไหน ไครสงสัยว่ามีไรฝุ่นกัดเรา หรือดูดเลือดเราไหม ตอบได้เลยว่าไม่ใช่ผลงานไรฝุ่นแน่นอน เพราะไรฝุ่นกินเฉพาะ เซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว (dead skin cells) ที่อยู่ตามที่ต่างๆ
    อาทิเช่น ที่ๆ เราชอบนั่งเล่น นอนเล่น คือตัวไรมันไม่ได้มีฟันกัดคนได้โดยตรง ดังนั้นหากมีอาการคันผิวหนัง น่าจะมาจากการเจอสารระคายเคืองอื่นๆนะ

ไหนใครชอบเอาขนมมากินบนเตียง ยอมรับมา

 

เพราะว่านอกจากนี้ไรฝุ่นยังชอบเสวยบนพวกสปอร์เชื้อรา (mold spore) พบตามอาหารที่เราวางทิ้งไว้ หรือเศษอาหารที่ตกหล่น ยิ่งที่ร้อนๆชื้นๆอย่างประเทศไทยเราเนี่ย น้องไรยิ่งเลิฟจ้า เอาล่ะ ถึงตอนนี้เริ่มรู้สึกสยองกันหรือยัง

เวลาเติบโตของไรฝุ่น ตั้งแต่ฟักไข่จนถึงขั้นสืบพันธ์ได้ ใช้เวลา1เดือน และตัวแก่ของไรฝุ่นโดยจะมีชีวิตอยู่มากสุด 2เดือน แต่ ตัวเมียเนี่ย สามารถออกไข่ได้1-3ฟองต่อวันเลยนะ

 

สิ่งที่อันตรายจากน้องๆไรฝุ่นก็คือ ของเสีย (มูลไร) ของมันเนี่ยแหละ เป็นมันเป็นสารก่อภูมิแพ้ชั้นดีเลย เมื่อนานๆสูดดมเข้าไป แม้คนที่ไม่ได้เป็นโรคภูมิแพ้อยู่แล้ว ก็อาจจะเริ่มมีอาการโรคภูมิแพ้ดังกล่าว:

  • อาการจาม
  • มีน้ำมูกไหล
  • คันดวงตา ตาระคายเคือง ตาแดง มีน้ำตาไหล
  • จมูกตัน
  • คันจมูก ปาก คอ
  • อาการไอ

แล้วนี่ช่วงไวรัสระบาด เห็นใครไอ (หรือเราไอเอง!) ก็ระแวงสุดๆแล้ว อย่าให้อาการแพ้ไรฝุ่นมาทำเราสับสนเลยดีกว่า วันนี้เรามาเสนอวิธีป้องกันไรฝุ่นในบ้านแบบเบสิคๆกันจ้า

เราจะแบ่งการป้องกันเป็นใน2ข้อ คือ 1.การคุมความชื้นในอากาศ   และ 2. ทำความสะอาดสิ่งทอในห้อง

 

1.อากาศ

การดูแลลักษณะอากาศในห้องนั้นสามารถทำได้ง่ายๆโดยการหมั่นเปิดหน้าต่าง ประตูให้ลมโกรกเข้าห้อง มีอากาศถ่ายเท ลดความอับชื้นได้ และที่สำคัญให้แสงแดดส่องเข้าในห้องด้วย

ส่วนในหน้าฝนนั้น หากท่านใดเป็นโรคภูมิแพ้ ก็อาจแนะนำให้มีเครื่องลดความชื้นในอากาศ (dehumidifier) ไว้ติดห้องเลย เพราะนอกจากจะสามารถช่วยลดปริมาณ ของไรฝุ่น ได้แล้ว ยังลดสปอร์ราได้ เนื่องจากการเติบโตของเจ้าสารภูมิแพ้จะช้าลงมากเมื่อระดับความชื้นในห้องต่ำ โดยเปอร์เซ็นความชื้นที่ช่วยต้านไรฝุ่นและราได้ อยู่ที่ 40-50% นะจ๊ะ

  1. ทำความสะอาดสิ่งทอในห้อง

            เดี๋ยวนี้ตามท้องตลาดมีเครื่องดูดไรฝุ่นขนาดเล็กราคาย่อมเยา บางอันมีฟังค์ชั่น ฆ่าเชิ้อโรคผ่านแสง UV ซึ่งแม้ว่าตามทฤษฎีนั้น แสง UV มีประสิทธิภาพช่วยฆ่าตัวไรฝุ่นได้ก็จริง  ในความเป็นจริงสามารถช่วยได้แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะไรฝุ่นมักหลบอยู่หลังซอกเส้นใย ทำให้แสงUV ไม่สามารถโดนทุกตัว 100% หรอกนะ

            ยังไงแนะนำว่าเครื่องดูดไรฝุ่นที่เวิร์ค จะต้องมี HEPA filter ซึ่งสามารถทั้งกรองและดักสารก่อภูมิแพ้ได้ 99.97% หากใครยังไม่มีเครื่องดูดฝุ่นที่นอน วิธีพื้นบ้านเลยก็คือ การนำเครื่องนอนไปสะบัดข้างนอก ตากไว้สัก 2-3ชม. ในวันที่แดดออกจัดๆ สักอาทิตย์ละ1-2ครั้ง ก็ช่วยลดตัวไรได้นะ

            อีกอย่างคือ ให้หมั่นซักเครื่องนอนทุกๆ 2 สัปดาห์ การซักโดยใช้ผงซักฟอก สามารถล้างสารก่อภูมิแพ้ได้มากถึง 84%

              สำหรับท่านที่ใส่ใจสุขภาพอาจอยากรู้ว่า เอ้ะ แล้ว ที่นอนเนี่ย มันมีแบบกันไรฝุ่นในตัวไปเลยหรือปล่าว วันนี้มาชี้เป้าว่าเครื่องนอน Sleepen เนี่ย เค้าใช้ผ้านิตแจ็คการ์ดที่ผสานนวัตกรรม Viroblock จากสวิสเซอร์แลนด์ ที่นอกจากจะมีคุณสมบัติต้านไวรัส และ แบคทีเรียแล้ว ยังต้านไรฝุ่นอีกด้วย  ได้รับการยืนยันจากห้องแล็บชั้นนำ ได้แก่ สหราชอาณาจักร , ประเทศจีน ภายใต้มาตรฐาน ISO 18184 และ มหาวิทยาลัยมหิดล

             อ้อ Sleepen เขาทำหน้ากากผ้าด้วยนะ แน่นอนว่าใช้นวัตกรรมป้องกันไรฝุ่นเหมือนกันนะจ๊ะ ใครที่มีอาการภูมิแพ้ จะฤดูนี้ หรือทุกฤดู แอดมินว่า ควรตำเลยจ้า

Blogger Bibi

  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไรฝุ่น

อาการภูมิแพ้และไรฝุ่น มีความเกี่ยวข้องกับที่นอนอย่างไร

อาการภูมิแพ้และไรฝุ่น มีความเกี่ยวข้องกับที่นอนอย่างไร

 เมื่อความเจ็บป่วยของร่างกายเกิดขึ้น

        การรับประทานยาหรือพบแพทย์ถือเป็นทางออกที่ดีสุด แต่รู้หรือไม่ว่าความเจ็บปวดบางอย่าง แม้รักษาจนหายไปแล้วแต่ก็สามารถกลับมาเจ็บป่วยใหม่ได้อีก ทั้งนี้เพราะสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยดังกล่าวอาจอยู่ใกล้ตัวเรามากจนคาดไม่ถึง

อันตรายจากตัวไรฝุ่น

ถือเป็นพาหะของโรค แพร่กระจายได้ดีในสถานที่ที่อากาศถ่ายไม่ถ่ายเท มีขนาดเล็กมากเพียงแค่ 0.3 มิลลิเมตร ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า สามารถพบไร่ฝุ่นได้ตาม ที่นอน หมอน ผ้าห่ม พรม และเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ที่มีเส้นใยให้ไรฝุ่นสามารถหลบซ่อนอาศัยได้ เนื่องจากเศษคราบไคลของผิวหนังคนเราที่ลอกหลุดออกมาในแต่ละวัน ถือเป็นอาหารชั้นดีให้กับตัวไรฝุ่น นอกจากนี้ใยผ้าและขนสัตว์ที่เอามาทำ ที่นอน ผ้าห่ม ก็สามารถกินเป็นอาหารได้อีกด้วยด้วย 

โดยธรรมชาติของไรฝุ่นจะชอบอยู่ตามเส้นใยที่มืด ยิ่งอับชื้นเท่าไรยิ่งดี ซึ่งกิจวัตรในแต่ละวันของไรฝุ่น จะทำการกิน ถ่ายและแพร่พันธุ์ โดยการแพร่พันธุ์สามารถทำได้เร็วมากๆ ตัวเมียจะตั้งท้องภายใน 1 ชั่วโมงและ 3 วันต่อมาก็จะตกไข่ จากระยะไข่จนเป็นตัวโตเต็มวัยจะใช้เวลาประมาณแค่ 1 เดือนเท่านั้นเอง

โรคภูมิแพ้

 เกิดจากการที่ร่างกายได้รับสารก่อภูมิแพ้เข้าไปภายในร่างกาย จึงเกิดการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันและมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารนั้นมากเกินจนผิดปกติ ซึ่งภายหลังจากได้รับสารนั้นเข้าไปอีก ภูมิคุ้มกันดังกล่าวจะกระตุ้นทำให้เกิดผลเสียต่อระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบรุนแรง โรคหอบหืด ทั้งยังทำให้ผู้ที่มีแนวโน้มจะเป็นโรคผิวหนังอักเสบมีอาการของโรคเร็วมากขึ้นไปอีก ซึ่งจะเกิดอาการเฉพาะในผู้ที่แพ้เท่านั้น ในคนปกติจะไม่เกิดอาการดังกล่าวแต่อย่างใด

 โรคภูมิแพ้ เป็นกลุ่มของโรคที่สามารถแสดงอาการได้กับหลายระบบของร่างกาย อาการของโรคภูมิแพ้จะขึ้นอยู่กับชนิดของโรคภูมิแพ้ที่เป็น ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ส่วนใหญ่มีสาเหตุการเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม โดยตัวการที่ทำให้เกิดอาการแพ้ จะเรียกกว่า สารก่อภูมิแพ้ (Allergens) หรือสิ่งกระตุ้น ซึ่งอาจเข้าสู่ร่างกายได้ทางระบบหายใจ การรับประทานอาหาร การสัมผัสทางผิวหนัง การสัมผัสทางตา ทางหู ทางจมูก หรือถูกกัดต่อยทางผิวหนัง

ไรฝุ่นทำให้เกิดภูมิแพ้ได้อย่างไร?

สำหรับผู้ที่มีแนวโน้มที่จะเป็นภูมิแพ้อยู่แล้ว ถ้าหากสูดดมมูลของไรฝุ่นที่ติดอยู่ตาม ที่นอน ปลอกหมอน ผ้าห่มต่างๆ หรือผิวหนังของเราไปสัมผัสกับตัวไรฝุ่นที่ตายแล้ว ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทาน (Antibodies) ขึ้นมา โดยภูมิต้านทานนี้จะปล่อยสารเคมีที่เรียกว่า ฮีสตามีน ซึ่งทำให้เกิดอาการบวม และการระคายเคืองของทางเดินหายใจ ไอ จาม คันตา และอาจรุนแรงถึงขั้นหอบหืด และภูมิแพ้นี้ยังสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีผู้ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ไรฝุ่นมากกว่า 10 ล้านคน ซึ่งถือเป็นภัยใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้ามอย่างยิ่ง

นอกจากนี้ยังสาเหตุของโรคหลายชนิด

ทั้งโรคทางเดินหายใจอักเสบเรื้อรัง โรคตาอักเสบ ที่ทำให้ตาระคายเคือง โรคจมูกอักเสบ ทำให้น้ำมูกไหลและมีการจามบ่อย โรคหอบหืด ที่ทำให้ไอและมีปัญหาระบบทางเดินหายใจ โรคหอบหืด โรคผิวหนังอักเสบ เช่น มีผื่นแดงและคัน ปวดศีรษะ เป็นต้น ซึ่ง ที่นอน สามารถมีตัวไรฝุ่นสะสมได้ถึงหลายล้านตัว และโดยเฉลี่ยคนเราต้องนอนอยู่บน ที่นอน ประมาณ 8 ชั่วโมงต่อวัน นั้นหมายความว่าผิวหนัง ระบบการหายใจของเราต้องสัมผัสคลุกคลีอยู่กับตัวไรฝุ่นและมูลนานมาก จนก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้ไรฝุ่นขึ้นนั้นเอง

         เพื่อความปลอดภัยและสุขภาพที่ดีของคุณและคนที่รัก การเลือกซื้อที่นอน มีความสำคัญอย่างมาก นอกเหนือจากคุณภาพของวัสดุที่ดีในการผลิตที่นอน ควรคำนึงถึงที่นอนที่มีการป้องกันไรฝุ่น แบคทีเรีย และเชื้อราต่างๆ ที่เป็นตัวการสำคัญในการทำลายสุขภาพอีกด้วย

Facebook
Twitter
Email
  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไรฝุ่น

ต้นไม้ ลดไรฝุ่น สำหรับคนเป็นภูมิแพ้

ต้นไม้ลดไรฝุ่นสำหรับคนเป็นภูมิแพ้

Previous
Next

ในช่วงล็อคดาวน์  หลายๆ คนน่าจะ work from home ที่บ้าน เลยเริ่มมีเทรนด์การปลูกต้นไม้ในบ้าน (indoor plants) ที่ฮิตๆเลย มียางอินเดีย มอนสเตอร่า ไทรใบสัก มีไว้ก็ถ่ายรูปเก๋ๆ เหมือนอยู่คาเฟ่ เรียกได้ว่าเป็นเฟอร์นิเจอร์ประดับบ้านของคนรุ่นใหม่

การปลูกน้องต้นไม้ในบ้านนี้ นอกจากจะเพิ่มสีเขียวให้ในบ้านแล้ว เค้ายังทำหน้าที่ฟอกอากาศ ให้เราด้วยนะ อีกทั้งยังมีต้นไม้ที่เคลมว่าฟอกอากาศได้ เช่น พลูด่าง ลิ้นมังกร ว่านงาช้าง

อันที่จริงแล้ว ต้นไม้ฟอกอากาศเนี่ยเริ่มมาจากงานวิจัยของ NASA

                เรื่องต้นไม้ฟอกอากาศเนี่ย เริ่มต้นมาจากงานวิจัยที่โด่งดังในปี1989 ของ NASA นะ เขาพยายามวิจับว่าทำอย่างไรจะดึงคุณภาพของอากาศหายใจ ในยานอวกาศให้สูงขึ้น เนื่องจากในห้องหรือพื้นที่ ที่ปิดสนิท (อย่างของยานอวกาศ) มีมลภาวะสะสมที่เกิดจากคน เพราะ อากาศไม่สามารถถ่ายเทได้ และอีกทั้งยังมีก๊าซทิ้งจากสารเคมี (off-gas) เช่น formaldehyde และ benzene ที่ระเหยมาจากพวกเฟอร์นิเจอร์ และเครื่องมือต่างๆในอาคาร ทำให้เกิดอาการ “sick building syndrome” เช่น  ผื่นคันที่ผิวหนัง ดวงตา หายใจไม่สะดวก ปวดศีรษะ แล้วอาการแพ้อื่นๆ นาซ่าเลยเริ่มตั้งข้อสันนิษฐานว่า มนุษณ์นั้นดำรงอยู่บนโลกได้ด้วยระบบนิเวศน์ของพืชและจุลินทรีย์ ถ้าเราย้ายไปอยู่ที่ๆเป็นระบบปิด ก็ควรนำพืชเหล่านี้ติดตัวไปด้วย นาซ่าพบว่า จุลินทรีย์ ที่อยู่ในต้นไม้ มีคุณสมบัติ ช่วยเปลี่ยนไวรัส แบคทีเรีย และ สารออแกนิค รอบๆ กลายเป็นเซลล์พืชในต้นไม้ โดยเฉพาะบริเวณระหว่างรากและดิน ต้มไม้ช่วยดูดสารพิษจากอากาศได้ในห้องพื้นที่ปิด

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีงานวิจัยแน่ชัด ผลกระทบของคนเมื่ออยู่ในพื้นที่ปิดกับต้นไม้และจุลินทรีย์

                อาทิ  เช่น ข้อควรระวังที่เราควรคำนึงจากการมีต้นไม้ในบ้าน ก็หนีไม่พ้นเรื่องของไรฝุ่นเลย เพราะน้องเป็นแหล่งจับไรฝุ่นชั้นดีหากไม่ได้เช็ดใบให้เป็นกิจวัตร อีกอย่างที่ควรระวังคือการรดน้าต้นไม้มากเกินไป เพราะความชื้นในรากเป็นที่มาของการเกิดรา เราควรเช็คว่าถาดรองต้นไม้ไม่มีน้ำขังหลังจากรดน้ำ อีกอย่างที่ช่วยได้คือให้นำน้องต้นไม้ออกไปวางโดนแดดรำไรๆข้างนอกอาทิตย์ละวันก็จะช่วยให้รากคลายความชื้นได้บ้าง นอกจากนี้ เราควรระวังต้นไม้ที่ใบมีขนอ่อนๆบนใบ เพราะมักจะดักสารก่อภูมิแพ้มาติด

               แล้วที่สำคัญเลย ในห้องนอนเราไม่ควรมีต้นไม้หลายต้นนะ แนะนำว่าให้มีต้นขนาดเล็กสักต้นก็พอ เพราะ ในตอนกลางคืนเนี่ยเป็นเวลาที่ต้นไม้คายน้ำ และ ผลิตแก๊ส  CO2 ที่เราคงไม่อยากให้มาอยู่ในที่ๆเรานอนนะ

                พูดถึงเรื่องนอน แน่นอนว่าสภาพแวดล้อมในพื้นที่พักผ่อน ความสะอาดต้องมาคู่กับความสบาย ลองนึกถึงเวลาที่เรา ได้นอนโรงแรม เตียง ผ้าปูใหม่ ทั้งขาวทั้งสะอาด มันทำให้เรานอนฟินเลยใช่ไหมล่ะ เหมือนกันกับที่บ้านของเรา ควรหมั่นเปลี่ยนปลอกหมอนและผ้าปู อย่างน้อยๆอาทิตย์ละครั้ง จะให้ดีเลยระหว่างอาทิตย์ก็หมั่นดูดฝุ่นบนผ้าห่ม หรือผ้าปู เพื่อลดไรฝุ่น ถ้าไครที่เลี้ยงสัตว์เล็กๆที่ขนร่วง ถือว่าจำเป็นเลย

เราอยากแนะนำที่นอนของ Sleepen ที่เขาเคลมว่า self-hygeinizing  ที่มาช่วยเราเรื่องความสะอาดนี้ ที่นอน Sleepen เขาใช้นวัตกรรม Viroblock ของ HEIQ Switzerland ที่ได้รับการรับรองจาก EU safe textile มีไยที่ใช้ที่ต้านแบคทีเรีย และ ไวรัสได้ 99.98% (ผู้ผลิตเขา ได้ส่งทดสอบ ว่าต่อต้านได้จริง ผ่าน 3 สถาบันเลย)   ทีนี้ ขอแถมที่ ดี๊ดีที่ มากับการแอนตี้ไวรัสคือ มันแอนตี้ดัสไมท์ หรือ ต่อต้านไรฝุ่นไปด้วยเลย  พอเราทดลองใช้ การจามช่วงเช้าๆนี่ลดลงเห็นชัด   ที่ Sleepen เขาว่า  self-hygeinizing จึงเป็นประการฉะนี้นี่เอง   ….  

ฝากไว้ว่าช่วงโควิด-19 นี้ หลายๆคนก็ต้องห่างกับเพื่อนสนิท ครอบครัว ญาติๆ ทั้งนั้นล่ะนะ หันมาลองปลูกต้นไม้ไว้อยู่เป็นเพื่อนให้เราได้ดูแล รดน้ำ ก็ช่วยแก้เหงาได้นะ แล้วก็ลดไรฝุ่นภูมิแพ้ไปเลย

Blogger Bibi

Facebook
Twitter
Email
  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไรฝุ่น