เปิดความจริง ที่นอนนำเข้า จะได้เข้าใจกันซักที

กระแสมาที่นอนนำเข้าใส่กล่อง ที่นอนใส่กล่องคืออะไรกันแน่?
ที่นอนแบบไหนใส่กล่องได้ แบบไหนไม่ควรใส่กล่อง จะมาบอกกันให้รู้วันนี้ 

จุดเริ่มต้นของที่นอนใส่กล่องมาจากความพยายามลดต้นทุนการขนส่ง ก่อนจะใส่กล่องได้ ที่นอนต้องถูกดูดลม จนเหลือ อย่างน้อย หนึ่งในสามของปริมาตร แล้ว ถูก ม้วน ให้ กลม เพื่อบรรจุลงกล่องทรงสูง

                ในบรรดาที่นอนที่หลากหลาย ที่นอนสปริงธรรมดา  ที่นอนพ็อคเกตสปริง ที่นอนยางพาราแท้   มีเพียงที่นอนฟองน้ำ ยางพารา และ  เมมโมรี่โฟม  ที่ดูจะมีปัญหาน้อยเมื่อถูกดูดลม เนื่องจาก ปราศจากโครงสร้างลวดสปริงที่เป็นของแข็ง  การคืนตัวหลังแกะกล่อง จะใช้เวลาประมาณ 1 วัน ให้กลับสู่สภาพสมบูรณ์ 

สำหรับที่นอนยางพาราแท้นั้น...

มีความหนาแน่นที่สูงมากและมีน้ำหนักที่หนักมาก ซึ่งแล้วแต่สูตรการผลิตของแต่ละโรงงานที่ผลิตยางพารา โดยจะมีความหนาแน่นอยู่ที่ 50-80 kg/cbm โดยประมาณ  ที่นอนยางพาราเนื้อดีหรือไม่จะอยู่ที่ส่วนผสมของเนื้อยาง หากผลิตออกมาแล้วเนื้อยุ่ยง่าย ฉีกขาดง่าย เมื่อนำมาดูดสุญญากาศม้วนแล้วจะมีผลอย่างมากที่ทำให้ยางพาราฉีกขาดอย่างรวดเร็ว

                  โดยปกติแล้วไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำที่นอนยางพาราที่หนากว่า 4 นิ้ว ในรูปแบบที่นอนปกติ เนื่องจากด้วยน้ำหนักตัวคนเมื่อนอนลงไประยะการยุบตัวของชั้นยางพาราจะไม่ถึง 4 นิ้ว
ดังนั้นสำหรับความเชื่อที่ต้องซื้อที่นอนยางพาราทั้งก้อนหนามากกว่า 4 นิ้วแล้วจะทำให้นอนดีจึงเป็นความเชื่อที่ไม่จำเป็นค่ะ ไม่ต้องจ่ายแพงสำหรับที่นอนทั้งชิ้นขนาดนั้นเลย หนักเกินไป แถมเปลี่ยนผ้าปูก็ยังเหนื่อยอีกต่างหาก

 

            ที่นอนสปริงธรรมดา ตามโครงสร้างที่ดี จะต้อง มี ลวดขอบ border perimeter wire วางอยู่ บน และ ล่าง ของที่นอน รวมถึงลวดซัพพอร์ตด้านข้าง เพื่อรักษาทรงของที่นอนให้อยู่ในลักษณะทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตลอดอายุการใช้งานความเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ไม่โย้ ไปด้านใดด้านหนึ่ง มีความสำคัญ ในการรักษาสมดุลของวงสปริงภายในให้เฉลี่ยรับน้ำหนักผู้นอนอย่างเท่าเทียม  แต่ ลวดขอบนี้ไม่สามารถจะหักหรือจับม้วนได้เลย

            ดังนั้นที่นอนสปริงที่นำเข้าจากต่างประเทศ (จีน) จึงมีราคาถูกจะไม่มีลวดขอบและตัวลวดซัพพอร์ตด้านข้าง ซึ่งผู้บริโภคสามารถสังเกตได้ง่ายโดยการนั่งลงด้านข้างที่นอน (ด้านใดก็ได้)  จะรู้สึกถึง การยุบตัวและไหลตัวลงพื้นทันที
ข้อเสียของการดูดสุญญากาศที่นอนในลักษณะนี้จะมีหลายประการ

                     1. สปริงคืนตัวไม่ถึง 80%
                     2. ยุบตัวเร็ว หรือ ลวดภายในอาจจะทิ่มหรือหัก แทงออกมาให้เห็นนอกที่นอน เป็นอันตรายต่อผู้นอนได้
                     3. ชั้นวัสดุฟองน้ำภายในก็สามารถที่จะยุ่ยเร็วเนื่องจากเกิดการเสียดสีกับโครงสร้างลวดภายในโดยตรงอีกด้วย

                 ที่นอนพ็อคเกตสปริง เป็นที่นอนที่มีคุณภาพสูงจะมีชั้นฟองน้ำและชั้นวัสดุอื่นหลายชั้น และมีราคาสูงตาม ดังนั้นผู้ผลิตจะไม่นิยม ดูดลม และ ม้วนใส่กล่อง  เนื่องจากการคืนตัวของที่นอน อาจจะไม่ ถึง 100% อีกหนึ่งงประเด็น หากที่นอนถูกเก็บในกล่องนานเกิน 6 เดือน มีความเป็นไปได้ที่กาว adhesive ที่เชื่อมถุงพ็อคเก็ตจะเกิดเสื่อมสภาพทำให้ถุงพ็อคเกตมากมายจะแตกตัวออกจากกันได้ ซึ่งทำให้สปริงล้มและเกิดการยุบตัวเป็นแอ่งของที่นอนทำให้ผู้นอนปวดหลังนั่นเองค่ะ

                  ตอนนี้ข้อดี ข้อเสีย ของที่นอนใส่กล่องก็เริ่มชัดขึ้นแล้ว ดาร์ลิ่งก็หวังว่าจะช่วยเพิ่มความเชี่ยวชาญในการช้อปปิ้งออนไลน์ให้กับทุกคนนะคะ

Facebook
Twitter
WhatsApp
Email
  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • อาการหลับยาก ทำอย่างไรดี
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไขความลับ การนอนเปลี่ยนชีวิต
  • ไรฝุ่น

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *