งานวิจัยเผย ที่นอนใหม่ ช่วยลดความเครียด

งานวิจัยเผย ที่นอนใหม่ ช่วยลดความเครียด

ที่นอนมีความสำคัญต่อสุขภาพร่างกายมากกว่าเพียงแค่การนอนหลับพักผ่อน โดยเฉพาะที่ถูกออกแบบและผลิตด้วยวัสดุที่มีคุณภาพ ซึ่งเรื่องนี้ได้รับการยืนยันจากงานวิจัยในต่างประเทศ เกี่ยวกับประสิทธิภาพของที่นอนใหม่ ที่ส่งผลดีต่อร่างกายมากกว่าแค่การนอนหลับสบาย

ที่นอนใหม่ ช่วยลดอาการปวดเมื่อย

     จากการศึกษางานวิจัยชิ้นใหม่แสดงให้เห็นว่า เมื่อเราได้นอนหลับพักผ่อนบนที่นอนใหม่ นอกจากจะช่วยทำให้มีการพักผ่อนที่ดียิ่งขึ้น ช่วยลดอาการปวดหลังและความเครียดให้น้อยลงได้อีกด้วย ข้อมูลจากวารสารทางการแพทย์ Chiropractic Medicine กล่าวถึงผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยโอคลาโฮ “นวัตกรรมใหม่ของที่นอน สามารถช่วยให้อาการปวดหลังและอาการเครียดลดน้อยลง นำไปสู่การนอนหลับที่ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น”

Previous
Next

เบิร์ตเจ คอปสัน

นักวิจัยและอธิบดีของมหาวิทยาลัย ได้ทำการศึกษางานวิจัยไว้ก่อนหน้านี้ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างที่นอนใหม่กับอาการปวดหลัง และการนอนหลับอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในการศึกษานี้ได้ถูกตีพิมพ์ลงวารสารทางการแพย์ Chiropractic Medicine ปี 2009

ทดลองด้วยการนอน 2 ลักษณะ

          จากการทดลองในกลุ่มผู้มีสุขภาพดีจำนวน 59 คน แล้วทำการบันทึกอาการปวดหลังพร้อมด้วยคุณภาพการนอนหลับ ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ การตื่นนอนจากที่นอนหลังเดิมของพวกเขาเองนาน 28 วันติดต่อกัน และในอีกลักษณะหนึ่งคือ การตื่นนอนจากที่นอนใหม่นาน 28 วันเช่นเดียวกัน

 

           จากการศึกษาพบว่า คุณภาพของที่นอน ช่วยทำให้การนอนหลับมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งช่วยลดปัญหาต่างๆ ในการนอนหลับพักผ่อนได้อีกด้วย ซึ่ง Jacobson พบอีกว่า การแทนที่ ที่นอนเก่า ด้วยที่นอนใหม่ที่มีความหนานุ่ม แข็งระดับกลาง สามารถช่วยลดอาการปวดหลัง ปวดไหล่ และอาการเมื่อยล้าของหลังส่วนล่างได้ ทั้งยังส่งผลต่อคุณภาพของการนอนหลับในเชิงบวกอีกด้วย

 

           การศึกษานี้ได้รับการสนับสนุนจาก Better Sleep Council the International Sleep Products Association’s Consumer Education ที่แสดงถึงสภาวะความเครียดที่ลดลง รวมถึงการการนอนหลับและอาการปวดหลังที่มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ภายหลังจากการได้นอนด้วยที่นอนใหม่อย่างมีนัยสำคัญ

การศึกษาโดยเฉพาะ

           การศึกษาจากผู้หญิงจำนวน 30 คน และ ผู้ชายจำนวน 29 คน ที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อเล็กน้อยจากการบาดเจ็บแต่ไม่มีข้อมูลหรือประวัติการรักษาเกี่ยวกับการนอนหลับ ด้วยการนอนบนที่นอนสปริงอย่างน้อย 5 ปี ในช่วงระยะเวลา 28 วันแรก ผู้ร่วมทดลองนอนหลับบนที่นอนของตนเอง และวัดผลของการนอนหลับในช่วงเช้าเพื่อสร้างเป็นมาตรฐาน ก่อนส่งมอบที่นอนใหม่ให้ผู้เข้าร่วมการทดลองได้นอนอีก 28 วัน โดยที่นอนเหล่านั้นไม่มีป้ายกำกับรายละเอียดของที่นอน แต่ถูกออกแบบมาเพื่อการทดลองโดยเฉพาะ

 

        การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวกับการพักผ่อนบนที่นอนใหม่ ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ ในตอนหน้ามีงานวิจัยที่บ่งบอกถึงคุณภาพของการนอนและอาการปวดหลัง ความตึงเครียด ที่มีผลต่อด้านร่างกายและจิตใจ ซึ่งจะส่งต่อสุขภาพอย่างไรมาให้ได้รู้กัน

Previous
Next
Facebook
Twitter
WhatsApp
Email
  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไรฝุ่น