ความเครียดส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร

ใครที่เคยผ่านการพักผ่อนไม่เพียงพอ ไม่ว่าจะเพราะต้องปั่นงาน อ่านหนังสือสอบ หรือ ติดซีรี่ย์เรื่องใหม่ จะรู้เลยว่าในวันนั้นๆอารมณ์แปรปรวนอย่างแน่นอน อีกทั้งยังรู้สึกไร้เรี่ยวแรง และขาดสมาธิ ขี้หลงขี้ลืม โดยรวมแล้วคนที่ขาดนอนจะสัมผัสได้ว่าการทำงานโดยทั่วไปของร่างกายเรามันไม่เหมือนวันอื่นๆ

             การอดนอนอาจจะมีผลกระทบที่ร้ายแรงทวีคูณขึ้นในบางสถานการณ์ เช่นเมื่อต้องขับรถ หรือ ในการต้องบังคับงานเครื่องจักรใหญ่ๆด้วยร่างกายที่แสนเหนื่อยล้าในขณะที่การได้นอนน้อยบ้าง สองถึงสามวันครั้ง คงไม่ได้อันตรายหนักหนา แต่การอดหลับอดนอนในระยะยาว สามารถเพิ่มโอกาศการเกิดปัญหาสุขภาพแบบเรื้อรังได้

              จากงานวิจัยของ CDC พบว่า กลุ่มคนที่นอนน้อยกว่า 7 ชั่วโมงต่อวันมีความเสี่ยงสูงขึ้นต่อการเป็นบรรดาโรคต่างๆ:

  • ภาวะโรคอ้วน
  • โรคหัวใจ
  • โรคเบาหวาน
  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • ภาวะซึมเศร้า
  • โรคข้ออักเสบ
  • โรคไต
 

ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียด และการนอน

               เมื่อได้ยินคำว่า ‘เครียด’ เราตีความหมายมันไปในทางลบโดยทันที แต่ในเชิงวิวัฒนาการของมนุษย์และสัตว์นั้น ความเครียดเป็นสัญญาณเตือนจากร่างกายให้เราจัดการกับปัญหาหรือภัยที่อยู่ตรงหน้า ก่อนที่มันจะบานปลายมาคุกคามการอยู่รอดของเรา

            ในมนุษย์ ความเครียดมีหน้าที่กระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic Nervous System) ให้ทำการหลั่งฮอร์โมน ที่เพิ่มแรงเต้นของหัวใจ ให้เลือดถูกไหลเวียนไปทั่วอวัยวะสำคัญข้างใน รวมถึงกล้ามเนื้อของเราอีกด้วย กระบวนการนี้ก็เพื่อเตรียมร่างกายให้พร้อมกับการต้องต่อสู้ เคลื่อนไหว ในสถานการณ์คับขัน ผลกระทบของความเครียด ต่อร่างกายในระยะยาว           แน่นอนว่าการรู้สึกเครียดเป็นบางครั้งบางคราวเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน แต่หากความเครียดถูกปล่อยให้อยู่นานๆ ระบบประสาทของเราต้องเผชิญกับภาวะตื่นตัวนานกว่าที่ควร ซึ่งส่งผลร้ายต่อกายภาพและสุขภาพจิตของเราได้

หนึ่งในผลกระทบจากความเครียดคือ อาการนอนไม่หลับ

           หากเราเป็นคนที่อยู่ในสภาวะตื่นตัวจากความเครียดบ่อยครั้ง จะทำให้เกิดดีเลย์ในกระบวนการของการนอนหลับ (Sleep Onset) ซึ่งคือการเปลี่ยนแปลงของร่างกายเราจากตอนเรารู้สึกตื่น ไปถึงตอนเรารู้สึกง่วงจนเข้าสู่การหลับสนิท การล่าช้าดังกล่าวเป็นที่มาของความคิดวิตกกังวลที่บ่อยขึ้น ณ ตอนกลางคืน

           นี่แหละเป็นวงจรที่ไม่มีไครอยากเข้าไปอยู่ เพราะการนอนหลับไม่พอยิ่งทำให้เกิดความเครียดเข้าไปอีก

            ในแบบสอบถามที่ถูกจัดเตรียมโดย National sleep foundation สถิติชี้ว่าในกลุ่มคนที่อายุระหว่าง 13-64 ปี 43%  มักประสบปัญหาการนอนไม่หลับ โดยนอนเฉยๆอยู่บนเตียงแต่ไม่สามารถหลับได้ อย่างน้อยๆเลยหนึ่งครั้งในเดือนที่ผ่านมา

  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • อาการหลับยาก ทำอย่างไรดี
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไขความลับ การนอนเปลี่ยนชีวิต
  • ไรฝุ่น