งานวิจัยโควิดชี้แนะ วิธีเลี่ยงการติดเชื้อกันภายในรถ

ปัจจุบันในภาวะการณ์แพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19

หลายครั้งที่สมาชิกในบ้าน จำเป็นต้องขับรถพาผู้ติดเชื้อไปส่งที่โรงพยาบาล เนื่องจากไม่สามารถหารถ ambulance มารับได้เลย จะทำอย่างไรเพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อในช่วงการเดินทางดังกล่าว เรามีงานวิจัยล่าสุดมาบอกเล่ากัน

    งานวิจัยจาก มหาวิทยาลัย Swansea พบว่า การหมั่นเปิดหน้าต่างในรถเพียงแค่ระยะเวลา 10 วินาที สามารถลดการสะสมของละออง Covid-19 ได้ถึง 97% ความแตกต่างของแรงดันลมระหว่างข้างในและนอกรถ ทำให้มีลมโบกพัดแรงดูดไวรัสออกจากรถได้

     หากเราขับรถยนต์ด้วยความเร็วต่ำกว่า 48กม./ชม. การเปิดกระจกทั้งหมด 4บาน จะได้ประสิทธิภาพสูงสุด แต่ในการขับด้วยความเร็วมากกว่านี้ ให้เปิดกระจกแนวแทยง 2 บาน

ศาสตราจารย์ เชินเฟง ลี, มหาวิทยาลัย SWANSEA Tweet

การแพร่กระจายเชื้อทางอากาศของเชื้อไวรัส Covid-19 เกิดขึ้นได้ผ่านสองทาง

การแพร่กระจายเชื้อทางอากาศของเชื้อไวรัส Covid-19 เกิดขึ้นได้ผ่านสองทาง : ผ่านละอองฝอยขนาดใหญ่ที่ออกมาผ่านการ ไอ, หรือ ผ่านละอองลอยจากการหายใจเข้าออกโดยทั่วไป

ละอองฝอยขนาดใหญ่มีน้ำหนักมากพอที่จะสามารถตกลงมาอยู่บนพื้นผิวต่างๆได้ภายในไม่กี่วินาที ในขณะเดียวกันละอองลอยนั้นสามารถระเหย และปล่อยไวรัสวนเวียนอยู่ในอากาศถึงหนึ่งชั่วโมง   หัวหน้าโปรเจค ศาสตราจารย์ เชินเฟง ลี ได้แนะนำวิธีที่จะสามารถป้องกันการแพร่เชื้อแบบผ่านละอองลอย

“เมื่อขับรถด้วยความเร็วต่ำ ความต่างของแรงดันระหว่างภายในและนอกรถจะมีไม่มาก ทำให้อากาศภายในรถมีความปั่นป่วนสูง ซึ่งเราจะพบสภาวะนี้มากในการขับรถในเมือง เพราะโดยธรรมชาติแล้วจะมีการต้องหยุด-สตาร์ทรถตลอด อีกทั้งยังมีการเลี้ยวเพื่อเปลี่ยนทิศบ่อยครั้ง”

“ในสถานการณ์เหล่านี้ เราต้องถ่ายเทอากาศให้มากเท่าที่จะทำได้ ด้วยการเปิดหน้าต่างให้เยอะที่สุด”

แต่เมื่ออยู่บนทางด่วนที่ใช้ความเร็วสูง เราควรปฎิบัติอีกแบบหนึ่ง

เราพบว่า รถที่เคลื่อนที่เร็วขึ้นส่งผลให้ความต่างในความดันอากาศสูงขึ้น ทำให้การเปิดกระจกที่แทยงกัน (เช่น กระจกขวาหน้า, กระจกซ้ายหลัง) สร้างภาวะอุโมงค์ลมที่ทำให้การกระจายละอองอากาศดีขึ้นเมื่อเทียบกับเวลาเปิดกระจกทั้งสี่บาน กระบวนการนี้ได้ผลมากถึงขั้นที่ว่า ต้องทำแค่ 10วิ ทุกๆ5-10นาที หรือ ทุกครั้งที่มีคนไอ หรือจามในรถ

ศาสตราจารย์ ลี

“เราพบว่า รถที่เคลื่อนที่เร็วขึ้นส่งผลให้ความต่างในความดันอากาศสูงขึ้น ทำให้การเปิดกระจกที่แทยงกัน (เช่น กระจกขวาหน้า, กระจกซ้ายหลัง) สร้างภาวะอุโมงค์ลมที่ทำให้การกระจายละอองอากาศดีขึ้นเมื่อเทียบกับเวลาเปิดกระจกทั้งสี่บาน”

“กระบวนการนี้ได้ผลมากถึงขั้นที่ว่า ต้องทำแค่ 10วิ ทุกๆ5-10นาที หรือ ทุกครั้งที่มีคนไอ หรือจามในรถ”

      ทีมวิจัยยังพบอีกว่า การนั่งข้างหน้าจะปลอดภัยกว่าข้างหลัง เพราะปริมาณลมส่วนใหญ่เลยจะถูกเป่าไปในทิศทางข้างหลัง หากผู้โดยสาร (หลายครั้งมักเป็นผู้ที่ติดเชื้อ) ในรถจำเป็นต้องนั่งข้างหลัง ศจ. ลี แนะนำว่าให้ผู้โดยสารรถนั่งอีกฝั่งจากฝั่งที่กระจกเปิดอยู่ คำแนะนำนี้สำคัญมากโดยเฉพาะสำหรับรถโดยสารเช่น รถแทกซี่  รถเช่า และรถส่วนตัว

(คำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้แปล  สำหรับประเทศไทย ที่ใช้พวงมาลัยขวา การเปิดกระจกทแยง หมายความว่า ผู้โดยสารควรนั่งด้านหลังผู้ขับ ในขณะที่ กระจกถูกลดแบบทแยง ตามภาพ )

 

ในอีกส่วนหนึ่งของงานวิจัย ศจ. ลี ผู้ซึ่งเป็นตัวแทนของทีมที่ปรึกษาด้านเทคนิคเกี่ยวกับโควิด-19 ของรัฐบาลเวลช์ ได้ถูกขอให้ทำการตรวจสอบว่า ฉากกั้นระหว่างที่นั่งข้างหน้าและข้างหลังมีประโยชน์หรือไม่

สิ่งที่พบคือ ฉากกั้นอาจจะมีผลเสียมากกว่าผลดี

“นอกจากจะเพิ่มบริเวณพื้นผิวให้ละอองของเหลวมาเกาะแล้ว ฉากกั้นยังขัดขวางไม่ให้อากาศในรถหมุนเวียน”

“ทั้งนี้ทั้งนั้น แม้นี่อาจจะช่วยป้องกันคนขับได้ แต่สำหรับผู้โดยสารข้างหลัง ฉากกั้นทำหน้าที่เหมือนฟองอากาศขนาดใหญ่ที่ยากมากที่ไวรัสข้างในจะถูกขับออกมาข้างนอกได้ผ่านแรงดันของอากาศ”

อย่างไรก็ตาม ศจ. ลี กล่าวว่า การใส่หน้ากากยังเป็นวิธีที่ดีสุดในการป้องกันตนเองในรถสาธารณะ

ผลจากทีมวิจัยยังชี้ว่า การใส่หน้ากากป้องกันช่วย ลดการปล่อยเชื้อไวรัสได้ 90% และ การรับเชื้อไวรัสในผู้โดยสารลดลงไป 70%

  

บทความแปลมาจาก BBC NEWS

สนับสนุน โดย สลีปเพ็น

  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • อาการหลับยาก ทำอย่างไรดี
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไขความลับ การนอนเปลี่ยนชีวิต
  • ไรฝุ่น

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *