admin

เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุ การเลือกที่นอนให้เหมาะสม จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก

เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุ การเลือกที่นอนให้เหมาะสม จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก

         สำหรับที่นอนหรือฟูกที่เหมาะสำหรับการนอนหลับพักผ่อนในผู้สูงอายุ ถือเป็นอีกหนึ่งคำถามที่หลายคนกำลังสงสัย ว่าควรเลือกใช้แบบไหน จึงจะเหมาะสมต่อสุขภาพร่างกายของผู้สูงอายุมากที่สุด เพราะที่นอนมีหลากหลายรูปแบบ และแน่นอนการใช้งานในแต่ละช่วงวัยย่อมแตกต่างกันไป ดาร์ลิ่งมีคำแนะนำดีๆ มาฝากกันเช่นเคย

ที่นอนสำหรับผู้สูงอายุ

             โดยทั่วไปการเลือกซื้อที่นอน จะเลือกตามความพึงพอใจตามลักษณะและรูปแบบการในนอนในแต่ละบุคคล บางคนชอบที่นอนแข็ง บางคนชอบที่นอนนิ่ม บางคนชอบที่นอนไม่แข็งหรือนิ่มมากเกินไปก็สุดแล้วแต่ความชอบของบุคคลนั้นๆ แต่สำหรับการเลือกที่นอน ให้มีความเหมาะสมกับผู้สูงอายุนั้น ควรเลือกที่นอนที่มีความยืดหยุ่นได้ดี ทีความแข็งประมาณนึงเพราะช่วยในการรองรับกระดูกสันหลังได้ดีในขณะที่นอน เนื่องจากกระดูกสันหลังของผู้สูงอายุค่อนข้างมีความอ่อนแอ เสื่อมถอยไปตามอายุที่มากขึ้น

 

แข็งไปก็ไม่ดี นิ่มไปก็ปวดเมื่อย

        เพราะผู้สูงอายุต้องการการนอนหลับที่ค่อนข้างมาก ดังนั้นในหนึ่งวันผู้สูงอายุจึงต้องนอนหลับมากกว่าช่วงวัยอื่นๆ ซึ่งที่นอน ที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญอย่างมาก หากใช้ที่นอนไม่เหมาะสมจะยิ่งทำให้เกิดอาการปวดหลังเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งจำเป็นต้อง สังเกตุอาการความปวดเมื่อยของผู้สูงอายุประกอบกันด้วน เนื่องจากในช่วงระยะเวลาหนึ่ง การนอนที่แข็งอาจช่วยให้หายจากปวดหลังได้ แต่พอเวลาผ่านไป อาจจะกลายเป็นว่าเกิดการปวดเมื่อยบริเวณกล้ามเนื้อในบริเวณอื่นแทน

การเลือกที่นอนสำหรับผู้สูงอายุ

         อันดับแรกที่ควรเลือกใส่ใจเป็นเรื่องแรก ได้แก่ขนาดของที่นอน ที่ต้องมีความใหญ่พอสมควร ไม่ควรเล็กกว่า 3.5 ฟุต เพราะหากที่นอนเล็กเกินไปทำให้ไม่มีพื้นที่ในการพลิก ขยับตัวเพื่อเปลี่ยนอริยาบถในการนอน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการปวดเมื่อยตามตัว เนื่องจากนอนในท่าใดท่าหนึ่งนานมากจนเกินไป นอกจากนี้ควรคำนึงถึงน้ำหนักที่นอน ไม่ควรใช้ที่นอนหนัก ๆ เพราะหากผู้สูงอายุต้องเก็บที่นอน ปูผ้าปูเอง จะได้ไม่เกิดอันตรายเวลาก้มตัวขึ้นลง และการเลือกที่นอนจากวัสดุเพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับสรีระของผู้สูงอายุมากที่สุด ดังนี้

1. ที่นอนยางพารา

            ด้วยคุณสมบัติความเป็นยาง ได้แก่ ความยืดหยุ่นสูง จึงทำให้สามารถวางใจได้ว่าจะไม่เกิดการยุบตัวเป็นแอ่งของที่นอน อีกทั้งยังมีคุณสมบัติความนุ่มพอสมควร  ที่นอนโอบรับกับส่วนโค้งเว้ารับร่างกายได้ดีอีกด้วย อาจสั่งซื้อจากผู้ผลิต ความหนา 4 นิ้ว ก็เพียงพอ มิฉะนั้นน้ำหนักจะมาก ทำให้ดูแลที่นอนลำบาก

2. ที่นอนสปริง

หากที่นอนยางพารามีราคาสูงเกินไป ที่นอนสปริง ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว เนื่องจากมีราคากลาง ๆ แต่ยังคงให้คุณสมบัติของความยืดหยุ่นและการคืนตัวที่ดี อาจดีกว่าที่นอนยางพารา ควรเลือกที่นอนสปริงที่แน่น น้ำหนักพอประมาณ

3. ที่นอนใยมะพร้าว

           ผลิตจากใยมะพร้าว โดยการนำมาอัดแน่นเข้าด้วยกาว ก่อนขึ้นรูปเป็นที่นอนใยมะพร้าว ซึ่งมีจุดเด่นเรื่องของความแน่นหนา สามารถใช้ได้ผู้สูงอายุอีกกัน เนื่องจากคุณสมบัติความแข็งไม่ยุบตัว ทำให้กระดูกไม่มีการแอ่นตัว แต่มีข้อควรระวังคือความแข็งและหนาแน่นที่มากเกินไป อาจไม่เหมาะกับสรีระของผู้สูงอายุบางคน อีกทั้งที่นอนใยมะร้าวเมื่อเกิดการเสื่อมสภาพควรเปลี่ยนทันที ก่อนที่จะเปื่อยยุ่ยและฟุ้งกระจายเป็นฝุ่นผงซึ่งอาจส่งผลเสียต่อระบบทางเดินหายใจได้

4. ที่นอนลม

           เหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นแผลกดทับ อีกทั้งป้องกันการเกิดแผลกดทับจากการนอน จากการเสียดสีกันระหว่างที่นอนกับผิวของผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ จากอาการเจ็บป่วย อัมพาต อัมพฤกษ์ หรือมีความจำเป็นต้องนอนพักรักษาตัวเป็นเวลานานๆ อีกด้วย เลือกที่นอนลมที่ผิวที่นอนเป็นผ้า หากเป็นพลาสติกจะลื่น ไม่เหมาะกับการนอน

           การเลือกที่นอนควรคำนึงถึงช่วงอายุที่จะใช้งานที่นอน โดยเฉพาะในผู้สูงอายุควรเลือกให้เหมาะสมกับสภาพของร่างกาย เพราะอยู่ในช่วงวัยที่ร่างกายมีความเสื่อมโดยเฉพาะเรื่องของกระดูกและโครงสร้างของร่างกายที่ความแข็งแรงค่อนข้างต่ำ ซึ่งการใช้ที่นอน ที่เหมาะสม สามารถช่วยปรับปรุงคุณภาพการนอนของผู้สูงวัยได้

Facebook
Twitter
WhatsApp
Email
  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไรฝุ่น

งานวิจัยเผย ที่นอนใหม่ ช่วยลดความเครียด

งานวิจัยเผย ที่นอนใหม่ ช่วยลดความเครียด

ที่นอนมีความสำคัญต่อสุขภาพร่างกายมากกว่าเพียงแค่การนอนหลับพักผ่อน โดยเฉพาะที่ถูกออกแบบและผลิตด้วยวัสดุที่มีคุณภาพ ซึ่งเรื่องนี้ได้รับการยืนยันจากงานวิจัยในต่างประเทศ เกี่ยวกับประสิทธิภาพของที่นอนใหม่ ที่ส่งผลดีต่อร่างกายมากกว่าแค่การนอนหลับสบาย

ที่นอนใหม่ ช่วยลดอาการปวดเมื่อย

     จากการศึกษางานวิจัยชิ้นใหม่แสดงให้เห็นว่า เมื่อเราได้นอนหลับพักผ่อนบนที่นอนใหม่ นอกจากจะช่วยทำให้มีการพักผ่อนที่ดียิ่งขึ้น ช่วยลดอาการปวดหลังและความเครียดให้น้อยลงได้อีกด้วย ข้อมูลจากวารสารทางการแพทย์ Chiropractic Medicine กล่าวถึงผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยโอคลาโฮ “นวัตกรรมใหม่ของที่นอน สามารถช่วยให้อาการปวดหลังและอาการเครียดลดน้อยลง นำไปสู่การนอนหลับที่ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น”

Previous
Next

เบิร์ตเจ คอปสัน

นักวิจัยและอธิบดีของมหาวิทยาลัย ได้ทำการศึกษางานวิจัยไว้ก่อนหน้านี้ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างที่นอนใหม่กับอาการปวดหลัง และการนอนหลับอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในการศึกษานี้ได้ถูกตีพิมพ์ลงวารสารทางการแพย์ Chiropractic Medicine ปี 2009

ทดลองด้วยการนอน 2 ลักษณะ

          จากการทดลองในกลุ่มผู้มีสุขภาพดีจำนวน 59 คน แล้วทำการบันทึกอาการปวดหลังพร้อมด้วยคุณภาพการนอนหลับ ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ การตื่นนอนจากที่นอนหลังเดิมของพวกเขาเองนาน 28 วันติดต่อกัน และในอีกลักษณะหนึ่งคือ การตื่นนอนจากที่นอนใหม่นาน 28 วันเช่นเดียวกัน

 

           จากการศึกษาพบว่า คุณภาพของที่นอน ช่วยทำให้การนอนหลับมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งช่วยลดปัญหาต่างๆ ในการนอนหลับพักผ่อนได้อีกด้วย ซึ่ง Jacobson พบอีกว่า การแทนที่ ที่นอนเก่า ด้วยที่นอนใหม่ที่มีความหนานุ่ม แข็งระดับกลาง สามารถช่วยลดอาการปวดหลัง ปวดไหล่ และอาการเมื่อยล้าของหลังส่วนล่างได้ ทั้งยังส่งผลต่อคุณภาพของการนอนหลับในเชิงบวกอีกด้วย

 

           การศึกษานี้ได้รับการสนับสนุนจาก Better Sleep Council the International Sleep Products Association’s Consumer Education ที่แสดงถึงสภาวะความเครียดที่ลดลง รวมถึงการการนอนหลับและอาการปวดหลังที่มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ภายหลังจากการได้นอนด้วยที่นอนใหม่อย่างมีนัยสำคัญ

การศึกษาโดยเฉพาะ

           การศึกษาจากผู้หญิงจำนวน 30 คน และ ผู้ชายจำนวน 29 คน ที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อเล็กน้อยจากการบาดเจ็บแต่ไม่มีข้อมูลหรือประวัติการรักษาเกี่ยวกับการนอนหลับ ด้วยการนอนบนที่นอนสปริงอย่างน้อย 5 ปี ในช่วงระยะเวลา 28 วันแรก ผู้ร่วมทดลองนอนหลับบนที่นอนของตนเอง และวัดผลของการนอนหลับในช่วงเช้าเพื่อสร้างเป็นมาตรฐาน ก่อนส่งมอบที่นอนใหม่ให้ผู้เข้าร่วมการทดลองได้นอนอีก 28 วัน โดยที่นอนเหล่านั้นไม่มีป้ายกำกับรายละเอียดของที่นอน แต่ถูกออกแบบมาเพื่อการทดลองโดยเฉพาะ

 

        การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวกับการพักผ่อนบนที่นอนใหม่ ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ ในตอนหน้ามีงานวิจัยที่บ่งบอกถึงคุณภาพของการนอนและอาการปวดหลัง ความตึงเครียด ที่มีผลต่อด้านร่างกายและจิตใจ ซึ่งจะส่งต่อสุขภาพอย่างไรมาให้ได้รู้กัน

Previous
Next
Facebook
Twitter
WhatsApp
Email
  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไรฝุ่น

การอดนอน คร่าชีวิตเราได้หรือไม่

การอดนอน คร่าชีวิตเรา ได้หรือไม่

        ผลลัพธ์จากการนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอ ผ่านการพิสูจน์มาแล้วว่าว่า การนอนเป็นยารักษาชีวิตให้ยืนยาว และในขณะตรงกันข้าม การอดนอน สามารถคร่าชีวิตคุณให้สั้นลงได้เช่นกัน

จากหนังสือ Why We Sleep ของคุณแมตธิว วอล์กเกอร์

    ศาสตราจารย์ด้านประสาทวิทยาศาสตร์และจิตวิทยา ควบตำแหน่ง ผอ.ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์การนอนหลับของมนุษย์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ได้มีเคสตัวอย่างที่ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติทางพันธุกรรมที่พบได้ในรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเริ่มต้นจากโรคนอนไม่หลับที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ โดยปรากฎในวัยกลางคน  หลังจากมีอาการโรคนี้หลายเดือน ผู้ป่วยจะหยุดนอนหลับอย่างสิ้นเชิง เมื่อถึงขั้นนี้ พวกเขาจะเริ่มสูญเสียการทำงานพื้นฐานของสมองและร่างกายไป

         

หลังจากอดนอนอย่างสิ้นเชิง 12 -18 เดือน ผู้ป่วยจะเสียชีวิต แม้กรณีเช่นนี้จะพบได้น้อยเหลือเกิน แต่ทว่าความผิดปกติดังกล่าวก็ช่วยยืนยันได้ว่า การอดนอนคร่าชีวิตมนุษย์ได้

การหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ เป็นสาเหตุที่คร่าชีวิตมนุษย์

การอดนอน ทำให้เกิดสถานการณ์อันตรายถึงชีวิต ทำให้การหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ เป็นอีกหนึ่งสาเหตุ ที่คร่าชีวิตมนุษย์เป็นจำนวนมากมายนับแสนคนแต่ละปี จากอุบัติเหตุบนท้องถนน ไม่เพียงแต่ชีวิตของผู้อดนอนเท่านั้นที่มีความเสี่ยง แต่ยังรวมถึงชีวิตคนรอบข้างพวกเขาด้วย นับเป็นเรื่องน่าหวั่นวิตกที่อุบัติเหตุจากยวดยานพาหนะทำให้การขับรถในขณะง่วงนอน มีอัตราสูงกว่าการดื่มแอลกอฮอล์และการเสพยารวมกันอีก

 

แรงขับพื้นฐานสามประการของชีวิต เช่น การกิน การดื่ม การสืบพันธุ์

 

 ไม่เพียงพอต่อการให้มีชีวิตรอดและยืนยาวของมนุษย์ เมื่อขาดแรงขับจากการนอนหลับ ซึ่งส่วนมาก เรามักจะมองข้ามแรงขับนี้มานานแสนนาน

Facebook
Twitter
WhatsApp
Email
  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไรฝุ่น

เซอร์คาร์เดียน ริธึ่ม (Circadian Rhythm) คืออะไร​

Circadian Rhythm คืออะไร ?

Previous
Next

           คุณเคยได้ยินไหมว่าร่างกายเรามันมีนาฬิกาของมันเอง นี่แหละสิ่งที่เรียกว่านาฬิกาชีวภาพในตัวของคนเรา หรือจังหวะวงจรชีวิต 

จังหวะวงจรชีวิตคือการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม จิตใจ และ กายภาพ ที่หมุนเวียนในระยะ 24 ชม. โดยปัจจัยหลักที่ควบคุมวงจรนี้คือแสงสว่างและความมืด ซึ่งส่งผลต่อการสั่งงานของสมองให้หลั่งฮอร์โมนต่างๆไปยังอวัยวะทุกส่วนในร่างกายเราเป็นประจำทุกวัน

นอกเหนือจากมนุษย์เราๆแล้ว จังหวะวงจรชีวิตยังควบคุมสิ่งมีชีวิตอื่นๆเช่นสัตว์และพืชพันธุ์เหล่าต้นไม้ รวมถึงพวกจุลินทรีย์

จังหวะ 24 ชม.นี้ จะช่วยกำหนดว่า

           เมื่อไหร่ที่เราอยากจะตื่น และเมื่อไหร่ที่เราอยากจะหลับ และยังควบคุมช่วงเวลาของร่างกายในรูปแบบอื่นๆ ด้วยเช่นกัน เช่น การหิวอาหาร หรือการกระหายน้ำเป็นเวลา การขับถ่าย การกำหนดอุณหภูมิและอัตราการเผาผลาญในร่างกาย รวมถึงการหลั่งฮอร์โมนหลากหลายชนิด และกระบวนการต่างๆ ของร่างกายเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด

      การสร้างจังหวะรอบวัน สร้างจากกิจวัตรประจำวันของแต่ละคน นาฬิกาชีวภาพของเราทุกคน จึงไม่ได้เท่ากันเสมอไป

Previous
Next

ไซท์เกเบอร์ (Zeitgeber) ผู้ให้เวลา

       สัญญาณที่ตั้งนาฬิกาสมองนี้ มีชื่อเรียกว่า ไซท์เกเบอร์ (Zeitgeber) เป็นภาษาเยอรมัน แปลว่า ผู้ให้เวลา 

        หารู้ไม่ว่า กระบวนการที่เกิดการให้เวลาเหล่านี้ ไม่ได้ตกอยู่แค่ภายใต้กระบวนการของแสงอาทิตย์เพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากการสร้างกิจวัตรที่ร่างกายจดจำไว้ภายใน เช่น การหลับ การตื่นนอน การบริโภค และการขับถ่าย เป็นต้น

และเพราะว่า กิจวัตรของแต่ละคนที่ไม่เท่ากัน นาฬิกาชีวภาพของแต่ละคน จึงไม่ได้เท่ากัน ไม่ว่าจะเป็นพืชหรือ มนุษย์ ก็จะสร้างจังหวะรอบวันในสมองไว้เป็น นาฬิกาชีวภาพ เซอร์คาเดียน ริธึ่ม ของตนเองเช่นกัน

Facebook
Twitter
WhatsApp
Email
  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไรฝุ่น

นักวิจัย Carnegie Mellon เผยนอนน้อยเสี่ยงป่วยเป็นไข้หวัดมากถึง 3 เท่า

นักวิจัย Carnegie Mellon เผยนอนน้อยเสี่ยงป่วยเป็นไข้หวัดมากถึง 3 เท่า

Previous
Next

 หลายคนจำเป็นที่ต้องใช้ชีวิตในเวลากลางคืน เพราะหน้าที่การงานหรือเหตุผลอะไรก็ตาม แต่ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดทุกคนต่างรู้ดีว่า “การอดนอนหรือนอนหลับพักผ่อนไม่พอนั้น ส่งผลเสียต่อสุขภาพแน่ ดาร์ลิ่ง มีผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการนอนน้อยที่น่าสนใจมาบอก

นอนน้อยเสี่ยงเป็นหวัดได้มากปกติถึง 3 เท่า

              จากการศึกษาที่ตีพิมพ์โดย Archives of Internal Medicine นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Carnegie Mellon ใน Pittsburgh ได้ทำการศึกษาในชายและหญิงจำนวน 153 คน ที่มีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับระยะเวลาการนอนและประสิทธิภาพขณะนอนหลับ (โดยนับระยะเวลาของการนอนหลับที่เกิดขึ้นจริง) เป็นเวลา 14 วัน พบว่า ผู้ที่นอนหลับน้อยกว่า 7 ชั่วโมงต่อคืน มีแนวโน้มที่จะเป็นหวัดได้มากถึง 3 เท่า เมื่อเทียบกับคนปกติที่ได้นอนหลับประมาณ 8 ชั่วโมงต่อคืน

Previous
Next

               โดยผู้เข้าร่วมการทดลองจะถูกสังเกตและเก็บข้อมูล หลังจากการได้รับยาหยอดจมูกที่มีเชื้อหวัด Rhinovirus และสังเกตดูปฏิกิริยาต่อยาดังกล่าว 5 วัน จึงได้ข้อสรุปว่าไม่ใช่เพียงแค่ผู้ที่นอนหลับน้อยลงจะมีปฏิริยาที่ไวต่อไข้หวัดมากขึ้น ผู้เข้าร่วมการทดลองอื่นๆ ที่นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอก็มีโอกาสถึง 5.5 เท่า ที่จะป่วยเป็นไข้หวัดได้ง่ายกว่าปกติอีกด้วย

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยเกี่ยวกับ การไม่จามขณะที่นอนหลับอยู่

             ด็อกเตอร์ Fredric Neuman ตั้งข้อสังเกตุว่า ในขณะที่นอนหลับคนเราสามารถมีการไอเกิดขึ้นได้ แต่ไม่เคยมีการจาม ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายสาเหตุที่ยังไม่ได้รับคำตอบที่แน่ชัดนักในหมู่นักวิจัยด้านการนอนหลับ Fighting Fear ซึ่งเป็น Blog ด้านจิตวิทยา ของด็อกเตอร์ Fredric Neumon นำเสนอเรื่องที่น่าสนใจ ในขณะที่มีการนอนหลับสนิท ร่างกายของคนเราจะได้รับการป้องกันจากระบบร่างกายที่เรียกว่า Nighttime Predetors จึงทำให้การจามไม่เกิดขึ้นในขณะที่หลับ เพราะอาการจามจะทำให้เกิดการหยุดหายใจชั่วคราว ซึ่งในภาวะการนอนหลับจะถูกรบกวนและทำให้ตื่นได้

การนอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มที่

 มีความจำเป็นต่อการฟื้นฟู ซ่อมแซมส่วนของร่างกาย เราจึงต้องให้ความสำคัญกับนอนหลับอย่างมาก เพื่อที่จะได้ตื่นเช้ามาอย่างสดชื่น และพร้อมที่จะออกไปลุยได้ตลอดทั้งวัน โดยปราศจากความป่วยไข้

Facebook
Twitter
WhatsApp
Email
  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไรฝุ่น

อันตราย! นอนหลับไม่เพียงพอ ส่งผลระบบภูมิคุ้มกันต่ำ เสี่ยงเจ็บป่วยง่าย

อันตราย! นอนหลับไม่เพียงพอ ส่งผลระบบภูมิคุ้มกันต่ำ เสี่ยงเจ็บป่วยง่าย

ยุคสมัยที่เปลี่ยนไปคนเราจึงหันไปใช้เวลาทำอย่างอื่นแทนการนอนหลับพักผ่อน

          เช่น ดูหนัง ฟังเพลง เล่นโทรศัพท์ แชทคุยกับเพื่อนๆ หรือทำกิจกรรมต่างๆ นานา แล้วนำมาซึ่งข้ออ้างว่าไม่มีเวลานอนหลับพักผ่อน ด้วยความคิดที่ว่าการนอนหลับพักผ่อนนั้นไม่มีความจำเป็น เดี๋ยวค่อยนอนก็ได้ ซึ่งความคิดเหล่านี้สวนทางกับการดูแลรักษาสุขภาพที่ดีอย่างสิ้นเชิง

Previous
Next

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์

               คนเราใช้เวลาถึงหนึ่งในสามของชีวิตไปกับการนอนหลับพักผ่อน ซึ่งเป็นช่วงเวลาในการพักผ่อนที่ดีที่สุด เพราะอีกสองส่วนของชีวิตที่เหลือ คือการลืมตาทำกิจกรรมต่างๆ ของแต่ละวัน ซึ่งพฤติกรรมการใช้ชีวิตย่อมสร้างภาระให้กับร่างกายและสมอง ดังนั้นการใช้เวลาพักผ่อนอย่างเต็มที่ และเพียงพอในแต่ละวัน จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก โดยเฉลี่ยคนเราควรนอนอย่างน้อย 6-7 ชั่วโมงต่อคืน หากน้อยกว่านี้ย่อมเป็นการทำให้เสียสุขภาพของตัวเองทั้งทางตรงคือ ประสิทธิภาพการใช้ชีวิตและการทำงานต่ำลง และทางอ้อมคือโรคภัยความเจ็บป่วยในระยะยาว

ประโยชน์มหาศาลจากการนอนหลับ

                 จากงานวิจัยของ เดนนิส แม็คกินตี้ นักวิจัยประสาทวิทยาของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในลอสแองเจลีส บอกว่าการนอนสามารถช่วยลดอุณหภูมิของร่างกาย โดยมีสมองส่วนหนึ่งจะทำหน้าที่สั่งการให้เราหลับเมื่อระดับอุณหภูมิในร่างกายสูงเกินควร และส่งผลกระทบไปยังสมอง ทฤษฏีนี้พิสูจน์ได้อย่างง่ายๆ โดยการสังเกตจากการออกกำลังกาย เช่น วิ่งหรือเล่นฟุตบอลในวันที่ร้อนจัดไม่นานก็อาจจะเป็นลม เช่นเดียวกับนักกีฬาที่ออกกำลังกายอย่างหักโหมจะต้องใช้เวลาในการนอนพักผ่อนมากกว่าคนปกติ เนื่องด้วยอุณหภูมิในร่างกายสูงผิดปกติ ทำให้ประสาทส่วนรับความร้อนภายในสั่งการให้ระบบดูดซึมอาหารทำงานช้าลงด้วยการทำให้รู้สึกง่วงนอน และหลังจากนั้นระดับอุณหภูมิก็จะลดต่ำลงเป็นปกติ

 

ฟื้นฟูระบบการทำงานของสมอง

             นอกจากมีประโยชน์ต่อร่างกายแล้ว การนอนหลับยังสามารถส่งผลดีต่อสมองอีกด้วย เนื่องจากสมองเป็นอวัยวะชิ้นสำคัญของคนเราแม้จะมีขนาดเล็กแต่ว่าสามารถนำพลังงานสะสมภายในร่างกายไปใช้ถึง 20% ในแต่ละวัน ซึ่งหากเรานอนหลับให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ระบบจัดเก็บความทรงจำหรือระบบประสาทจะถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเราหลับสนิทลึกถึงขั้นฝัน

            เพราะจากงานวิจัยทางสมองพบว่า ความฝันเป็นอีกหนึ่งกระบวนการจัดเก็บข้อมูล โดยฉายภาพประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในตอนที่ตื่นเพื่อจัดเก็บข้อมูลเหล่านั้น เป็นการเชื่อมต่อเซลล์ประสาทของสมองเพื่อเก็บเป็นความทรงจำถาวร โดยอวัยวะที่ทำหน้าที่ดังกล่าว มีชื่อว่า ฮิปโปแคมปัส จะทำหน้าที่ถ่ายโอนข้อมูลที่เรียนรู้ในระหว่างวันเข้าสู่ความทรงจำระยะยาวตอนที่เราหลับเท่านั้นและจะทำงานได้ดียิ่งขึ้นไปอีกเมื่อเรานอนหลับอย่างเพียงพอ

 

ผลร้ายจากการ อดนอน

              อัตราการพักผ่อนของร่างกายคนเรามีความแตกต่างกัน ซึ่งผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงและสุขภาพสมบูรณ์อาจต้องการพักผ่อนเพียง 5 ชั่วโมงต่อคืนก็เพียงพอแล้ว แต่ในบางคนต้องใช้เวลานอนอย่างน้อย 7-8 ชั่วโมง ร่างกายจึงจะพักผ่อนได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นถ้าหากพักผ่อนไม่เพียงพอ ร่างกายจะเกิดอาการง่วงนอน ซึมเซาตลอดทั้งวัน อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย ประสิทธิภาพในการทำงานและใช้ชีวิตต่ำลง อาจมีอาการหลับใน ซึ่งเป็นอันตรายอย่างมากถ้าหากต้องขับขี่ยานพาหนะ

ร่างกายทรุดโทรม เสียสมดุล

             นอกจากจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการดำเนินชีวิตที่ต่ำแล้ว หากทำติดต่อกันจนกลายเป็นกิจวัตรประจำวันร่างกายจะส่งผลเสียในระยะยาว ได้แก่ ระบบภายในร่างกายจะเริ่มเกิดการแปรปรวนและสูญเสียความสมดุล โดยเฉพาะระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดย แครอล อีเวอร์สัน นักจิตวิทยาสังคมที่มหาวิทยาลัยแห่งเทนเนสซี ได้ค้นพบว่าหากมีการอดนอนติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานหนักขึ้นในช่วงแรก เลือดจะมีเม็ดโลหิตขาวเพิ่มขึ้นและเกิดการสลายตัวทำให้ความสามารถในการต้านทานเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสของร่างกายต่ำลงเกิดอาการเจ็บป่วยได้ง่าย โดยเฉพาะผู้หญิงจะสูญเสียความอ่อนวัยอย่างรวดเร็ว เกิดความร่วงโรยแห่งวัยตามใบหน้า รูปร่าง เช่น ริ้วรอยและสิวต่างๆ อาการดวงตาหมองคล้ำ ผิวหน้าเหี่ยวเฉาและมีอาการอิดโรยอย่างเห็นได้ชัดจากการอดนอน ดังนั้นจึงไม่ใช่ความคิดที่ดีนักหากฝืนอดนอนและพักผ่อนน้อย

 

ส่งเสริมการพักผ่อนที่มีประสิทธิภาพ

            Sleepen  มีความเชี่ยวชาญในการผลิตที่นอน ผลิตจากเทคโนโลยีและวัสดุที่มีคุณภาพเยี่ยม ด้วยลักษณะการดำเนินชีวิตของคนในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในวัยเรียน และวัยทำงาน ต่างละเลยและไม่ให้ความสำคัญต่อการนอนหลับพักผ่อน ซึ่งเป็นค่านิยมที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้นควรรู้จักแบ่งเวลาการใช้ชีวิตและการนอนหลับให้มีความพอเหมาะ พอดี เพื่อการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข พร้อมด้วยสุขภาพที่ดีของตัวเราเอง

  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไรฝุ่น

เคล็ดลับกำจัดไรฝุ่น

เคล็ดลับการกำจัดไรฝุ่น

Previous
Next
 เพราะคนเราใช้เวลาอยู่ในห้องนอนมากกว่าสถานที่อื่นๆ
 
          ยิ่งสำหรับคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ไรฝุ่นนั้น เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาวิธีจัดการฝุ่นในห้องนอน เพื่อสุขภาพที่ดีห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ วันนี้เรามีวิธีง่ายๆ พร้อมเคล็ดลับการทำความสะอาดที่นอน ที่ได้ผลมาแนะนำกัน

ไรฝุ่นสามารถอาศัยในที่นอนได้ถึง 2 ล้านตัว

       ไรฝุ่น สามารถพบอยู่กับฝุ่นตามพื้นบ้าน ห้องนอน ที่นอน หมอน พรม ตุ๊กตาขน และเครื่องเรือนต่างๆ โดยชอบอาศัยในที่อับชื้น และที่อบอุ่น ไรฝุ่นกินเศษผิวหนังและรังแคเป็นอาหาร จากนั้นจะถ่ายมูลไว้ในสถานที่ที่อาศัยอยู่ โดยเฉพาะบนเตียง หรือที่นอน ซึ่งเป็นแหล่งสะสมของตัวไรฝุ่นและมูลของไรฝุ่น ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ในฝุ่น 1 กรัม สามารถพบไรฝุ่นได้ถึง 500 ตัว นอกจากนี้ยังพบอีกว่าน้ำหนัก 1 ใน 10 ของหมอนเก่าอายุ 6 ปี มาจากไรฝุ่นและมูลของไรฝุ่น และในที่นอน 1 หลัง มีไรฝุ่นอาศัยอยู่ประมาณ 2 ล้านตัว อีกทั้งมูลของไรฝุ่นสามารถฟุ้งกระจายได้ง่ายและลอยเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจของเราในขณะนอนหลับ

ภาพ 1 : การเคลื่อนที่ของไรฝุ่น

มีข้อมูลที่น่าสนใจคือ เศษหนังกำพร้าของคน 1 กรัม เป็นอาหารให้ไรฝุ่นหนึ่งล้านตัวมีชีวิตได้นานถึง 1 สัปดาห์ซึ่งตามปกติคนเราจะมีผิวหนังหลุดลอกออกมาถึง 1.5 กรัมต่อวันนั้น ยิ่งจะเป็นการทำให้ไรฝุ่นอยู่กับเราได้นานขึ้นอีกเป็น 1 สัปดาห์กว่าๆ ดังนั้น การตัดวงจรอาหารของไรฝุ่นจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่อทำให้ตัวไรฝุ่นขาดอาหารและลดจำนวนลง

4 เคล็ดลับการทำให้ห้องนอนปลอดไรฝุ่น

1. หมั่น กวาด เช็คทำความสะอาดห้องนอนและที่อยู่อาศัยอย่างสม่ำเสมอ อย่าให้มีฝุ่นจับตัวกันหนา โดยเฉพาะเครื่องนอนและผ้าม่านควรปัดฝุ่นอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ซักทำความสะอาดชุดเครื่องนอนอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ด้วยน้ำร้อน 55-60 องศาเซลเซียส หรืออาจนำ ที่นอน หมอน และพรม มาตากแดดจัดประมาณ 3 ชั่วโมงขึ้นไป สามารถช่วยฆ่าและลดจำนวนตัวตัวไรฝุ่นได้
 
2. หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์ตกแต่งบ้านที่สะสมฝุ่นได้ง่ายและทำความสะอาดได้ยาก เช่น ผ้าบุที่หนาหยาบ พรมที่มีขนฟู ใช้เครื่องนอนที่ทำจากใยสังเคราะห์ เป็นต้น
3. ควรเปิดผ้าม่าน หน้าต่าง ให้แดดส่อง ที่นอนหรืออาจนำออกมาตากแดดเลยก็ได้อย่างน้อยเดือนละครั้งเพื่อเป็นฆ่าเชื้อโรคและระบายอากาศภายในห้องนอน ไม่ให้เกิดความอับชื้น ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยอย่างดีสำหรับไรฝุ่น
 
4. ไม่ควรเก็บตุ๊กตาขนไว้ในห้องนอน เพราะขนของตุ๊กตาถือเป็นแหล่งสะสมฝุ่นและไรฝุ่นได้อย่างดี แต่ถ้าหากต้องการเก็บตุ๊กตาขนไว้ในห้องนอน จำเป็นจะต้องมีการทำความสะอาดอย่างน้อยเดือนละครั้ง
และไม่ควรนำสัตว์เลี้ยงเข้าไปในห้องนอน เพราะรังแคจากสัตว์เลี้ยงถือเป็นอาหารชั้นดีของไรฝุ่นได้เช่นกัน
  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไรฝุ่น

นักวิจัยพบความลับของเสียงและการงีบหลับ มีส่วนช่วยพัฒนาสมองและความจำ

นักวิจัยพบความลับของเสียงและการงีบหลับ มีส่วนช่วยพัฒนาสมองและความจำ

เมื่อคนเราอายุมากขึ้นประสิทธิภาพด้านความจำก็มักจะเสื่อมถอยไปตามกาลเวลา

 มักเกิดอาการหลงๆ ลืมๆ ดังเช่นผู้สูงอายุชอบเป็นกัน ถ้าไม่อยากมีอาการหลงลืมการวัยอันควร 

การงีบหลับในระยะเวลาสั้นๆ ก็สามารถทำให้การจดจำดีขึ้นได้อีกด้วย

การทดลองจากเสียง

นักวิจัยได้ทำการทดลองโดยใช้เสียงจำนวน 25 เสียง ตั้งแต่เสียงผิวปาก เสียงกาต้มน้ำ จนกระทั่งเสียงร้องของแมว ในขณะที่ทำการทดลองผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะไม่ทราบเลยว่าจะได้ยินเสียงดังกล่าวในขณะที่หลับอยู่ และเมื่อพวกเขาตื่นขึ้นมาและจะได้รับการทดสอบเพื่อเก็บข้อมูล ซึ่งผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่าความทรงจำของพวกเขามีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น เนื่องจากผู้เข้าร่วมการทดลองจะรับการทดสอบโดยการจับคู่วัตถุกับเสียงที่มีความสอดคล้องกันด้วยคอมพิวเตอร์ 25 ภาพ ซึ่งสามาจับคู่วัตถุกับเสียงได้ถูกต้องอย่างมีมีนัยยะสำคัญ

 

                ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า แท้จริงแล้วคนเราไม่ได้อยู่ในสภาวะปิดการรับรู้ของเราทั้งหมดในขณะที่นอนหลับอยู่ โดย John Rudoy ได้ทำการศึกษาในระดับปริญญาเอกด้านประสาทวิทยาที่ Northwestern กล่าวเพิ่มเติบว่า ช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดสำหรับการรวมความทรงจำก็คือช่วงเวลาที่เรานอนนั้นเอง ดังเช่นผลจากการวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าเสียงสามารถแทรกซึมการนอนหลับลึกของเราได้ อีกทั้งเป็นการผลักดันและรวบรวมความทรงจำของคนเราให้ไปในทิศทางเดียว

การประมวลผลความทรงจำ

“ในขณะที่นอนหลับคนเราอาจจะกำลังประมวลผลความทรงจำถึงสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างวัน เช่น กินอะไรเป็นอาหารเช้า รายการโทรทัศน์ที่เขาดู หรืออะไรก็ตามแต่” โดย Ken Paller ศาสตราจารย์วิชาจิตวิทยาที่ Northwestern Weinberg วิทยาลัยศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ได้ตัดสินใจที่จะกระตุ้นความทรงจำของอาสาสมัครโดยการแนะนำให้พวกเขาเข้ารับการฝึกซ้อมและเรียนรู้เกี่ยวกับเสียงและความทรงจำเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันอีกด้วย

 

นอกจากนี้ถ้าต้องการที่จะปรับปรุงความจำ การงีบหลับช่วยคุณได้

“หากคุณกำลังเตรียมความพร้อมสำหรับการพรีเซ้นต์งานขนาด Big project บางทีคุณอาจจำเป็นที่ต้องใช้เวลาสำหรับการงีบหลับสักหน่อย” การวิจัยที่มหาวิทยาลัยซาร์ลันด์ ประเทศเยอรมนี ในการศึกษาด้านความทรงจำของสมอง โดยทำการทดลองจากอาสาสมัคร 41 คน พบว่า ในชั่วโมงของการงีบหลับ สามารถช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพหน่วยความจำของพวกเขาได้ถึง 5 เท่าเลยทีเดียว

การทำงานของสมองในระหว่างการนอนหลับ

สาเหตุที่การงีบหลับ สามารถช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพความทรงจำได้ เพราะฮิบโปแคมปัสของสมองซึ่งมีบทบาทสำคัญในการถ่ายโอน Consolidation หรือหน่วยความจำการเรียนรู้ข้อมูลลงในหน่วยความจำการเก็บข้อมูลของสมองหลังจากที่ได้เรียนรู้ มีประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้นภายหลังจากได้รับการงีบหลับ

                  นอกจากนี้ การทดสอบด้วยเครื่องวัดคลื่นสมอง พบว่า การนอนหลับ (1 ชั่วโมงขึ้นไป) ในระหว่างวันที่มากเกินไปไม่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานฮิบโปแคมบัสในการรับข้อมูลอีกด้วย

 

             นักวิจัยได้ทำการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อคลี่คลายกลไกของสมองที่แตกต่างกัน ระหว่างข้อมูลที่ถูกเก็บไว้ และข้อมูลที่ถูกลืมโดยการนอนหลับ อย่างไรก็ตามการงีบหลับในระยะสั้นๆ มีนัยสำคัญเพียงพอที่จะช่วยในการปรับปรุงกระบวนการความจำและเรียนรู้ของสมองที่มากพอ

 

 เห็นไหมล่ะว่า การนอนหลับนั้นดีต่อสุขภาพร่างกายขนาดไหน ทั้งฟื้นฟูซ่อมแซมส่วนต่างๆ ของร่างกาย อีกทั้งยังช่วยในเรื่องความจำอีกด้วย แต่ต้องระวังการนอนงีบหลับระหว่างวันที่มากเกินไป อาจทำให้ร่างกายเกิดอาการง่วงเหงาหาวนอนได้

  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไรฝุ่น

ฉีดซิโนแวกแล้ว จะไปเที่ยวยุโรปได้ไหม แล้วจะไปติดโควิดจากที่นั่นหรือปล่าว

ฉีดซิโนแวกแล้ว จะไปเที่ยวยุโรปได้ไหม แล้วจะไปติดโควิดจากที่นั่นหรือปล่าว

                ข้อมูลจาก ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้ว่า หลังฉีด ซิโนแวก 3 สัปดาห์ คน 66 % (124 ใน 188 ราย) จะสร้างแอนตี้บอดี้ และเมื่อกระตุ้นด้วยเข็มสอง ภายใน 4 สัปดาห์คน คน 99.49  % จะสร้างแอนตี้บอดี้

                 ดังนั้น จึงประมาณได้ว่า หากเราจะไปต่างประเทศ ก็ควร ไป หลังการฉีดกระตุ้นเข็มสอง 4 สัปดาห์จึงจะมีความปลอดภัย  แต่หากประเทศปลายทาง ยังไม่ยอมรับวัคซีนซิโนแวท ก่อนการเดินทาง เราก็สามารถไปฉีดวัคซีนตัวที่ประเทศนั้นยอมรับก็ได้ อาทิ อาจจะเป็น ไฟเซอร์ หรือ แอสตราซิเนกา

              ทั้งนี้ทั้งนั้น ข้อมูลเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2021 ทาง องค์การอนามัยโลก ได้ประกาศรับรอง วัคซีนโควิด19 ที่ผลิตโดยบริษัท ซิโนแวค ไบโอเทค ใช้ในกรณีฉุกเฉินได้แล้ว
เมื่อเร็วๆนี้ ทาง WHO ได้ออกมายอมรับว่า เชื้อโควิดนี้ ไม่ได้แค่อยู่ใน ละอองฝอย แต่ เชื้อนี้อยู่ในละอองลอย และ ยัง airborne ล่องลอยอยู่ในอากาศอยู่ได้หลายชั่วโมงลักษณะเดียวกับควัน หากเชื้ออยู่แต่ในละอองฝอย การล้างมือบ่อยและ การ social distancing ก็จะเพียงพอ แต่เพราะเชื้อนั้นอยู่ในละอองลอยด้วย การใส่หน้ากากจึงจำเป็นอย่างยิ่ง

            ทีนี้ เมื่อเราเดินทางไปต่างประเทศ โอกาส ที่เราจะไปรับเชื้อนั้นก็เป็นไปได้เสมอ ดังนั้นการใส่หน้ากากทั้งในสนามบิน ในเครื่องบิน และ เมื่ออยู่นอกที่พัก จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น แต่ถ้าเราเผลอเรอชอบไปจับหน้ากาก หรือหน้ากากหลวมหล่นมาอยู่ที่ปาก ก็จะทำให้ เชื้อไวรัส เล็ดลอดเข้าจมูกของเราได้ คนที่ไม่ได้ใส่แว่น ก็มีความเสี่ยงมากกว่า เพราะ เชื้อสามารถเข้าสู่เยื่อบุตาของเรา ได้โดยไม่มีอะไรมาขวางกั้นเลย

           ขณะนี้ มีหน้ากากที่ใช้นวัตกรรมสิ่งทอ ไวโรบล็อค (viroblock) จากสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่ง ทำได้มากกว่าป้องกันไวรัส แต่ต่อสู้ ไวรัสที่มาเกาะติดหน้ากากเราได้ด้วย เป็นการคิดค้น ที่ได้รับรางวัล Swiss Technology Award 2020 ด้วยการผสานซิลเวอร์นาโน กับ เวสิเคิล ลิโปโซม (Vesicle liposome) เจาะเปลือกไขมันของไวรัสเข้าไป แล้วทำลายสารพันธุกรรมของมัน
 

        ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพจาก 3 สถาบันชั้นนำ (UK, China and Thailand) ตามมาตรฐาน ISO 18184 ว่าต่อต้านทำลายไวรัสได้จริง ผลการทดสอบจาก มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ผ้าคอตต้อนที่เคลือบไวโรบล็อค ต่อต้านไวรัส ได้ถึง 99.98 % และ แม้ผ่านการซักน้ำ 15 ครั้ง ก็ยังมีฤทธิ์ต่อต้านได้ ถึง 99.47 % นอกจากนี้ ไวโรบล็อคยังปลอดภัยต่อผิวหนัง และร่างกายมนุษย์ เนื่องจากได้รับตรา Okeo Tex Standard ซึ่งเป็นเครื่องหมายออกให้สำหรับสิ่งทอที่มีความปลอดภัย อีกด้วย

Facebook
Twitter
WhatsApp
Email
  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไรฝุ่น

ไม่กล้าฉีดวัคซีนโควิด กลัวลิ่มเลือดอุดตัน ขอใส่หน้ากากอนามัยอย่างเดียวได้ไหม

ไม่กล้าฉีดวัคซีนโควิด กลัวลิ่มเลือดอุดตัน ขอใส่หน้ากากอนามัยอย่างเดียวได้ไหม

                              ในรายการ ชัวร์ก่อนแชร์ พ.อ. นพ.วิริสสร วงศ์ศรีชนาลัย อายุรแพทย์ โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤต รพ. จุฬาลงกรณ์ ได้กล่าวว่า หากคนไข้ติดเชื้อโควิดแล้ว เชื้อนี้มักจะทำให้เกิดการอักเสบในเส้นเลือดที่รุนแรงมาก เกิดการอักเสบไปทั่วร่างกาย โดยทั่วไปพบว่า คนไข้ 5 ใน 100 ราย (หรือประมาณ 2-5 % ) จะเกิดลิ่มเลือดอุดตัน

               ในขณะเดียวกัน สำหรับคนที่ฉีดวัคซีนนั้น โอกาส การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ คือ 4 ใน 100000 ราย เป็นอุบัติการณ์ที่ต่ำกว่ากรณีติดเชื้อโควิดแล้วลิ่มเลือดอุดตันอยู่มาก และอีกประการหนึ่ง ลิ่มเลือดอุดตัน นี้ เกี่ยวกับ เชื้อชาติด้วย การเกิดขึ้นพบได้บ่อยกว่าในกลุ่มคนสแกนดิเนเวีย มากกว่าคนเอเชีย มักเกิดในหญิง มากกว่าชาย และยาคุมกำเนิด มีส่วนทำให้ เลือดหนืดขึ้น ไหลช้า ทำให้เกิดลิ่มเลือดง่ายขึ้น

                 ดูจากข้อมูลนี้แล้ว คุ้มที่จะฉีดวัคซีนมากกว่า นอกจาก อุบัติการณ์ลิ่มเลือดอุดตันต่ำกว่าเมื่อเป็นโควิดจริงๆ เรายังได้ทำตัวเองให้เป็นเกราะป้องกัน คนในบ้านที่อ่อนแอ สูงวัย หรือเด็กเล็กๆ ด้วย เนื่องจากวัคซีนจะช่วยให้เราไม่นำพาเชื้อที่รุนแรงเข้าบ้าน

                  หน้ากากอนามัย ป้องกันเราจาก ดร็อปเลต ละอองฝอย ได้ในระดับหนึ่ง แต่ ความเผลอเรอชอบไปจับหน้ากาก หรือหน้ากากหลวมหล่นมาอยู่ที่ปาก ก็ทำให้ เชื้อไวรัส เล็ดลอดเข้าจมูกของเราได้ คนที่ไม่ได้ใส่แว่น ก็มีความเสี่ยงมากกว่า เพราะ เชื้อสามารถเข้าสู่เยื่อบุตาของเรา ได้โดยไม่มีอะไรมาขวางกั้นเลย 

                    ขณะนี้ มีหน้ากากที่ใช้นวัตกรรมสิ่งทอ ไวโรบล็อค (viroblock) จากสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่ง ทำได้มากกว่าป้องกันไวรัส แต่ต่อสู้ ไวรัสที่มาเกาะติดหน้ากากเราได้ด้วย เป็นการคิดค้น ที่ได้รับรางวัล Swiss Technology Award 2020 ด้วยการผสานซิลเวอร์นาโน กับ เวสิเคิล ลิโปโซม (Vesicle liposome) เจาะเปลือกไขมันของไวรัสเข้าไป แล้วทำลายสารพันธุกรรมของไวรัส

                     ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพจาก 3 สถาบันชั้นนำ (UK, China and Thailand) ตามมาตรฐาน ISO 18184 ว่าต่อต้านทำลายไวรัสได้จริง ผลการทดสอบจาก มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ผ้าคอตต้อนที่เคลือบ ไวโรบล็อค ต่อต้านไวรัส ได้ถึง 99.98 % และ แม้ผ่านการซักน้ำ 15 ครั้ง ก็ยังมีฤทธิ์ต่อต้านได้ ถึง 99.47 % นอกจากนี้ ไวโรบล็อคยังปลอดภัยต่อผิวหนัง และร่างกายมนุษย์ เนื่องจากได้รับตรา Okeo Tex Standard ซึ่งเป็นเครื่องหมายออกให้สำหรับสิ่งทอที่มีความปลอดภัย อีกด้วย