วิธีการเลือกที่นอน ให้เหมาะกับคุณ

ผ้ารองกันเปื้อนกับท็อปเปอร์ต่างกันยังไง? มาเปรียบเทียบให้ดูชัดๆกันเลย

ผ้ารองกันเปื้อนกับท็อปเปอร์ต่างกันยังไง?
มาเปรียบเทียบให้ดูชัดๆกันเลยว่าควรเลือกซื้ออันไหนให้เหมาะกับการนอนของคุณ

เวลา 1 ใน 3 ของชีวิตคนเราถูกใช้ไปกับการนอน ซึ่งเป็นช่วงที่ร่างกายได้พักผ่อน ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอให้พร้อมลุยต่อในเช้าวันใหม่ การหันมาใส่ใจเรื่องคุณภาพของการนอนจึงจัดได้ว่าเป็นการลงทุนกับสุขภาพร่างกายของคุณที่ดีในระยะยาว

ด้วยสรีระ น้ำหนักตัว หรือ ปัญหาสุขภาพที่แตกต่างออกไปของเราทุกคน การหาที่นอนที่เหมาะสมกับตัวเรา อาจจะเป็นเรื่องที่ทำให้คุณต้องปวดหัว ดังนั้นการมีเครื่องนอนเสริมที่ช่วยให้ห้องนอนของคุณแสนสุขมากขึ้น จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้คุณนอนหลับพักผ่อนได้อย่างครบคุณภาพมากขึ้น

สองเครื่องนอนชิ้นหลักๆที่จะช่วยพัฒนาการนอนของคุณได้โดยตรง คือ ผ้ารองกันเปื้อน และ ท็อปเปอร์ ทั้งคู่ใช้วางทับบนที่นอน สามารถช่วยควบคุมอุณหภูมิบนที่นอน ไม่ใช่เรื่องแปลกที่บรรดาคนรักการนอนหลายๆท่านจะมีทั้งผ้ารองกันเปื้อนและท็อปเปอร์วางบนที่นอนไปด้วยกัน โดยวางผ้ารองไว้ชั้นบนสุด ให้ท็อปเปอร์คั่นกลางระหว่างที่นอนและผ้ารองกันเปื้อน เพื่อการปกป้องที่นอนและคุณภาพของการนอนที่ดีที่สุดระหว่างคืน

วันนี้สลีปเพ็นเลือกเครื่องนอนสองอย่างนี้ มาเปรียบเทียบให้ดูกันชัดๆ เพื่อช่วยคุณเลือกซื้อเครื่องนอนที่เหมาะสำหรับการนอนของคุณมากที่สุดค่ะ

ผู้นอนที่ควรมีผ้ารองกันเปื้อน

  • คุณเป็นคนที่เหงื่อออกเยอะระหว่างนอน และไม่ต้องการให้ที่นอนเปื้อนจากคราบเหงื่อ น้ำลาย หรือ เลือด (สำหรับคนเป็นประจำเดือน)
  • ถ้าคุณเป็นคนที่ห่วงเรื่องความสะอาดบนที่นอน ผ้ารองกันเปื้อน จะช่วยปกป้องที่นอนของคุณจากการสะสมตัวของแบคทีเรีย เชื้อรา ตัวเรือด แมลง สารก่อภูมิแพ้ เช่น ไรฝุ่น และสารปนเปื้อนอื่นๆ เมื่อเวลาผ่านไป
  • คุณชอบความสบายของที่นอนที่มีอยู่ อยู่แล้ว  แต่อาจอยากได้ความนุ่มเพิ่มขึ้นมาหน่อย
  • คุณต้องการสิ่งที่ปกป้องที่นอนคุณได้ ที่ง่ายต่อการถอดออกมาซัก ทำความสะอาดได้ง่าย สามารถพับเก็บเข้าตู้ได้โดยไม่เปลืองพื้นที่เมื่อเวลาไม่ได้ใช้งาน

ผู้นอนที่ควรมีท็อปเปอร์

ถ้าที่บ้านคุณที่นอนมีคุณภาพดีอยู่แล้ว ปกติแล้วไม่จำเป็นจะต้องมีท็อปเปอร์ก็ได้ เว้นเสียแต่ว่า:

  • คุณรู้สึกว่าที่นอนที่มีอยู่แข็งเกิน หรือที่นอนเก่าของคุณมีการยุบตัวลงเป็นบริเวณต่างๆ จากการใช้งานหลายปี
  • คุณอยากได้ความหนานุ่มขึ้นบนที่นอน เนื่องจากการบาดเจ็บตามร่างกายบางอย่าง เช่น อาการปวดหลัง ปวดข้อ หรืออาการบาดเจ็บชั่วคราวอื่นๆ ซึ่งท็อปเปอร์จะมาเพื่อช่วยลดการสั่นสะเทือนเมื่อมีการพลิกตัวระหว่างนอน ทำให้การกดทับบนอวัยวะที่บาดเจ็บน้อยลง
ท็อปเปอร์ขนห่านเทียม Antivirus
ท็อปเปอร์ที่ให้ความรู้สึกหนานุ่ม เปรียบเสมือนนอนบนขนห่านจริง สำหรับผู้นอนที่ต้องการความนุ่มบนที่นอนมากขึ้น ได้รับการยืนยันโดยผลทดสอบจาก 3 สถาบันเรื่องการป้องกันแบคทีเรีย ไรฝุ่น และเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ 99.98% จึงเพิ่มความสะอาดยิ่งขึ้นต่อการนอนของคุณ
ดูสินค้า
ท็อปเปอร์ Antivirus High Performance Foam
วางบนที่นอนเก่าที่มีอยู่ของคุณ เพิ่มความสะอาดยิ่งขึ้นต่อการใช้งานและช่วยเสริมความแน่น แก้ปัญหาอาการปวดหลังจากการนอนบนที่นอนที่ยุบตัวจากการใช้งาน ได้รับการยืนยันโดยผลทดสอบจาก 3 สถาบันเรื่องการป้องกันแบคทีเรีย ไรฝุ่น และเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ 99.98%
ดูสินค้า
Previous
Next
Facebook
Twitter
WhatsApp
Email

ที่นอนยางพารา หรือ ที่นอนลาเท็กซ์

ก่อนซื้อควรรู้ ที่นอนยางพารา ที่นอนลาเท็กซ์ คืออะไร ?

  • ที่นอน ยางพารา หรือ ที่นอน Latex เป็นที่นอนธรรมชาติที่ผลิตจากน้ำยางพารา  
  • คุณสมบัติโดยหลัก มีความยืดหยุ่นสูง ช่วยโอบสรีระร่างกายเวลานอน และ กระจายแรงกดทับจากน้ำหนักตัวได้ดี ถือว่าเป็นประเภทวัสดุที่นอน ที่เหมาะกับผู้มีปัญหาปวดเมื่อยตามร่างกาย หรือ ปวดหลัง  
  • ด้วยคุณสมบัติธรรมชาติของตัวโฟมลาเท็กซ์ ทำให้มันเป็นที่นอนต้านไรฝุ่น แบคทีเรีย เป็นทางเลือกที่เหมาะสมกับผู้มีปัญหาเกี่ยวกับทางเดินหายใจ หรือ แพ้ฝุ่นในอากาศง่ายกว่าปกติ
  • น้ำยางพาราที่นำมาผลิต ที่นอนยางพารา นั้นถูกค้นพบตามธรรมชาติในรูปแบบของเหลวตามลำต้น ของต้นยาง เดิมพื้นที่ในประเทศไทยที่มีการปลูกยางส่วนใหญ่อยู่ในภาคใต้และภาคอีสาน ซึ่งปัจจุบันได้มีการขยายพันธุ์ยางปลูกเพิ่มในภาคกลาง และภาคเหนือ

กรรมวิธีการผลิตแผ่นโฟมลาเท็กซ์ที่ใช้ในที่นอน มีอยู่ 2 แบบ

วิธีดันลอป (Dunlop)

แบบที่ 1 คือ วิธีดันลอป (Dunlop) เป็นวิธีดั้งเดิมในการผลิตแผ่นโฟมลาเท็กซ์ 

เมื่อปี คศ. 1929 บริษัทดันลอป (Dunloppilo) เป็นผู้ค้นพบคุณสมบัติพิเศษของยางพารา ว่าที่แท้มันเป็นวัสดุชั้นเลิศสำหรับการนำมาทำที่นอน จึงได้ริเริ่มนำยางพารามาแปรรูป

โดยขั้นตอนการผลิตแผ่นโฟมลาเท็กซ์จะใช้ยางพาราธรรมชาติเป็นส่วนผสมโดยล้วน

เริ่มจากการนำเนื้อยางเหลวที่เก็บมาจากต้นยาง นำมาตีเป็นโฟม เทใส่แม่พิมพ์ และ นำเข้าไปอบในเตาร้อนจัด สุดท้ายแผ่นโฟมจะถูกทำความสะอาด และทำให้เย็นลงเพื่อเซ็ทตัว

ลักษณะของโฟมลาเท็กซ์ที่ได้จากวิธีนี้ จะมีความแน่นด้านล่าง นุ่มด้านบน ทำให้เวลานอนช่วยคลายความตึงของกล้ามเนื้อตามส่วนต่างๆของร่างกายได้ดีเยี่ยม

วิธีทาลาเลย์ (Talalay)

ต่อมา วิธีที่ 2 คือ วิธีทาลาเลย์ (Talalay) ซึ่งมีขั้นตอน และส่วนผสมมากขึ้นมาหน่อย 

ในกระบวนการผลิตของวิธีทาลาเลย์  เนื้อยางเหลวถูกเทเข้าไปในกล่องที่สามารถปิดแน่นได้ เพื่อที่จะใช้แรงดูดภายนอกช่วยให้เนื้อยางขยายตัวข้างในได้สม่ำเสมอทั่วแผ่น หลังจากนี้ส่วนผสมจะถูกนำไปแช่แข็ง ก่อนถูกใส่เข้าไปในเตาอบร้อนจัด 

ผลที่ได้คือความหนาแน่นของยางที่น้อยกว่าจากแบบดันลอป ความนุ่มแน่นจะความสม่ำเสมอกันทั่วแผ่นลาเท็กซ์ วิธีการนี้จะเกิด ของเสียจากการผลิตมากกว่าวิธีแรก และใช้พลังงานทรัพยากรมากกว่าด้วย

วิธีทาลาเลย์ จะได้แผ่นลาเท็กซ์ที่นุ่มกว่าวิธีดันลอป โดยทั่วไปจะนำมาใช้เป็น pillowtop วางข้างบนที่นอน เมื่อเราพลิกตัวระหว่างคืน ที่นอนจะตอบสนองการเคลื่อนไหวของเรามากขึ้น แต่ก็ยังคงรักษารูปของมันไว้อยู่ ทำให้นอนแล้วไม่จม 

โดยหลัก ที่นอนลาเท็กซ์มีอยู่สองประเภท คือ :

ข้อดี-ข้อเสีย ของที่นอนยางพาราแท้ และ ที่นอนยางพาราผสม จะแตกต่างกันออกไป เกณฑ์การเลือกว่าแบบไหนที่เหมาะกับเรา ผู้นอนควรคำนึงถึงปัจจัยดังเช่น ความนุ่มแน่นที่ชอบ และ งบประมาณของเรา 

1. ที่นอนยางพาราแท้ 100%

ราคาของที่นอนยางพาราแท้สูงกว่าที่นอนที่ทำจากบรรดาใย/ผลผลิตอื่นๆจากธรรมชาติ อาทิเช่น ที่นอนใยมะพร้าว ที่นอนนุ่น 

ข้อดีของที่นอนจากยางพาราคือ มีความคงทน อายุการใช้งานยาว และไม่กักเก็บไรฝุ่น เป็นคุณสมบัติของโฟมลาเท็กแท้ ทำให้เหมาะกับผู้แพ้ฝุ่น หรือ มักsensitiveกับสารเคมีในของใช้ไกล้ตัว

ข้อดี

  • ยางพาราแท้จะมีรูพรุนทั่วแผ่นที่ตั้งใจทำใว้ในการผลิต ซึ่งทำหน้าที่ช่วยลดแรงกด จากการกดทับของร่างกายบนที่นอน 
  • ลดแรงสั่นสะเทือนจากการดิ้น พลิกตัวบนที่นอน เหมาะกับคู่รักที่แชร์เตียงนอน 
  • ทนทานต่อการใช้งานมากกว่าวัสดุฟองน้ำมาก หากดูแลดีอายุการใช้งานเกือบ 10 ปี 
  • ถูกสุขลักษณะเพราะไรฝุ่นและแบคทีเรียอยู่ไม่ได้ จึงเหมาะกับคนที่มีอาการแพ้ง่าย ผู้ที่มีอาการแพ้ลาเท็กซ์มีปริมาณน้อยมาก (แค่ 0.8% to 8.2% ในประชากรเท่านั้น)
  • เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะยางพารามาจากธรรมชาติ

ข้อเสีย

  • ที่นอนยางพาราใหม่ ใช้อาทิตย์แรกๆจะมีกลิ่นยางที่แรง ซึ่งจะค่อยๆหายไป
  • ที่นอนมีน้ำหนักเยอะ การเคลื่อนย้าย จะต้องใช้แรงจาก 3 คนขึ้นไป
  • ราคาสูง 

2. ที่นอนลาเท็กซ์แบบอัดแน่น 

มีราคาถูกกว่าแบบยางพาราแท้ แผ่นที่นอนลาเท็กแบบผสมเป็นการนำเศษยางพารา ที่เหลือจากการตัดแต่งส่วนเกินแผ่นลาเท็กซ์แท้ นำมาอัดรวมกันกับฟองน้ำชิ้นเล็กๆ กลิ่นของที่นอนจะไม่แรงเท่าแบบที่นอนพาราแท้ 

ข้อดี

  • สำหรับผู้ที่ชอบการนอนที่นอนแข็ง จะชื่นชอบที่นอนลาเท็กซ์ แบบอัดแน่น เพราะมีความแน่นกว่าที่นอนลาเท็กซ์ ยางพาราแท้
  • มีความคงตัวสูง ยืดหยุ่นน้อย ไม่ยุบง่าย ดังนั้นจะซัพพอร์ตผู้ใช้ที่น้ำหนักมาก 
  • ราคาไม่สูงนัก เหมาะกับผู้ที่อยากประหยัดงบ 

ข้อเสีย

  • มีน้ำหนักมากกว่าแบบยางพาราแท้ เนื่องจากมีความแน่นกว่า เคลื่อนที่ลำบาก
  • การใช้งานหลายปี อาจมีกลิ่นเหม็นอับ ระบายอากาศได้ไม่ดีเท่ายางพาราแท้ 
  • หากดูแลไม่ดี ที่นอนจะแตกตัวได้

 

สำหรับผู้ที่สนใจที่นอนลาเท็กซ์ สลีพเพ็นแนะนำ :

ที่นอนยางพาราแท้ และ ที่นอนยางอัด

Sleepen
Latex X5

ที่นอนยางพาราแท้ 100%

Sleepen NS

compressed latex, no backache 

ที่นอนลาเท็กซ์ไฮบริด (แบบผสม) มีแผ่นลาเท็กซ์ในชั้นพิลโล่ท็อป

Sleepen PLUS

  compact spring system with latex pillowtop
ชั้นพิลโล่ท็อปยางแท้

Sleepen
พ็อกเก็ต X5

  ที่นอนพ็อคเก็ตสปริง
 ชั้นพิลโล่ท็อปยางแท้

 

Facebook
Twitter
WhatsApp
Email
  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไรฝุ่น

เปิดความจริง ที่นอนนำเข้า ที่นอนใส่กล่อง

เปิดความจริง ที่นอนนำเข้า จะได้เข้าใจกันซักที

กระแสมาที่นอนนำเข้าใส่กล่อง ที่นอนใส่กล่องคืออะไรกันแน่?
ที่นอนแบบไหนใส่กล่องได้ แบบไหนไม่ควรใส่กล่อง จะมาบอกกันให้รู้วันนี้ 

จุดเริ่มต้นของที่นอนใส่กล่องมาจากความพยายามลดต้นทุนการขนส่ง ก่อนจะใส่กล่องได้ ที่นอนต้องถูกดูดลม จนเหลือ อย่างน้อย หนึ่งในสามของปริมาตร แล้ว ถูก ม้วน ให้ กลม เพื่อบรรจุลงกล่องทรงสูง

                ในบรรดาที่นอนที่หลากหลาย ที่นอนสปริงธรรมดา  ที่นอนพ็อคเกตสปริง ที่นอนยางพาราแท้   มีเพียงที่นอนฟองน้ำ ยางพารา และ  เมมโมรี่โฟม  ที่ดูจะมีปัญหาน้อยเมื่อถูกดูดลม เนื่องจาก ปราศจากโครงสร้างลวดสปริงที่เป็นของแข็ง  การคืนตัวหลังแกะกล่อง จะใช้เวลาประมาณ 1 วัน ให้กลับสู่สภาพสมบูรณ์ 

สำหรับที่นอนยางพาราแท้นั้น...

มีความหนาแน่นที่สูงมากและมีน้ำหนักที่หนักมาก ซึ่งแล้วแต่สูตรการผลิตของแต่ละโรงงานที่ผลิตยางพารา โดยจะมีความหนาแน่นอยู่ที่ 50-80 kg/cbm โดยประมาณ  ที่นอนยางพาราเนื้อดีหรือไม่จะอยู่ที่ส่วนผสมของเนื้อยาง หากผลิตออกมาแล้วเนื้อยุ่ยง่าย ฉีกขาดง่าย เมื่อนำมาดูดสุญญากาศม้วนแล้วจะมีผลอย่างมากที่ทำให้ยางพาราฉีกขาดอย่างรวดเร็ว

                  โดยปกติแล้วไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำที่นอนยางพาราที่หนากว่า 4 นิ้ว ในรูปแบบที่นอนปกติ เนื่องจากด้วยน้ำหนักตัวคนเมื่อนอนลงไประยะการยุบตัวของชั้นยางพาราจะไม่ถึง 4 นิ้ว
ดังนั้นสำหรับความเชื่อที่ต้องซื้อที่นอนยางพาราทั้งก้อนหนามากกว่า 4 นิ้วแล้วจะทำให้นอนดีจึงเป็นความเชื่อที่ไม่จำเป็นค่ะ ไม่ต้องจ่ายแพงสำหรับที่นอนทั้งชิ้นขนาดนั้นเลย หนักเกินไป แถมเปลี่ยนผ้าปูก็ยังเหนื่อยอีกต่างหาก

 

            ที่นอนสปริงธรรมดา ตามโครงสร้างที่ดี จะต้อง มี ลวดขอบ border perimeter wire วางอยู่ บน และ ล่าง ของที่นอน รวมถึงลวดซัพพอร์ตด้านข้าง เพื่อรักษาทรงของที่นอนให้อยู่ในลักษณะทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตลอดอายุการใช้งานความเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ไม่โย้ ไปด้านใดด้านหนึ่ง มีความสำคัญ ในการรักษาสมดุลของวงสปริงภายในให้เฉลี่ยรับน้ำหนักผู้นอนอย่างเท่าเทียม  แต่ ลวดขอบนี้ไม่สามารถจะหักหรือจับม้วนได้เลย

            ดังนั้นที่นอนสปริงที่นำเข้าจากต่างประเทศ (จีน) จึงมีราคาถูกจะไม่มีลวดขอบและตัวลวดซัพพอร์ตด้านข้าง ซึ่งผู้บริโภคสามารถสังเกตได้ง่ายโดยการนั่งลงด้านข้างที่นอน (ด้านใดก็ได้)  จะรู้สึกถึง การยุบตัวและไหลตัวลงพื้นทันที
ข้อเสียของการดูดสุญญากาศที่นอนในลักษณะนี้จะมีหลายประการ

                     1. สปริงคืนตัวไม่ถึง 80%
                     2. ยุบตัวเร็ว หรือ ลวดภายในอาจจะทิ่มหรือหัก แทงออกมาให้เห็นนอกที่นอน เป็นอันตรายต่อผู้นอนได้
                     3. ชั้นวัสดุฟองน้ำภายในก็สามารถที่จะยุ่ยเร็วเนื่องจากเกิดการเสียดสีกับโครงสร้างลวดภายในโดยตรงอีกด้วย

                 ที่นอนพ็อคเกตสปริง เป็นที่นอนที่มีคุณภาพสูงจะมีชั้นฟองน้ำและชั้นวัสดุอื่นหลายชั้น และมีราคาสูงตาม ดังนั้นผู้ผลิตจะไม่นิยม ดูดลม และ ม้วนใส่กล่อง  เนื่องจากการคืนตัวของที่นอน อาจจะไม่ ถึง 100% อีกหนึ่งงประเด็น หากที่นอนถูกเก็บในกล่องนานเกิน 6 เดือน มีความเป็นไปได้ที่กาว adhesive ที่เชื่อมถุงพ็อคเก็ตจะเกิดเสื่อมสภาพทำให้ถุงพ็อคเกตมากมายจะแตกตัวออกจากกันได้ ซึ่งทำให้สปริงล้มและเกิดการยุบตัวเป็นแอ่งของที่นอนทำให้ผู้นอนปวดหลังนั่นเองค่ะ

                  ตอนนี้ข้อดี ข้อเสีย ของที่นอนใส่กล่องก็เริ่มชัดขึ้นแล้ว ดาร์ลิ่งก็หวังว่าจะช่วยเพิ่มความเชี่ยวชาญในการช้อปปิ้งออนไลน์ให้กับทุกคนนะคะ

Facebook
Twitter
WhatsApp
Email
  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • อาการหลับยาก ทำอย่างไรดี
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไขความลับ การนอนเปลี่ยนชีวิต
  • ไรฝุ่น

อยากใช้เครื่องนอนผ้าคอตต้อน รู้ไหมอันไหนจริง อันไหนย้อมแมว

ใครๆ บอกพูดแต่ผ้าคอตตอน รู้หรืออันไหนจริง อันไหนย้อมแมว ??

              ปัจจุบันในธุรกิจสิ่งทอเคหะโดยเฉพาะผ้าปูปลอกหมอนที่ใช้ตามบ้านมีความสับสนสูงมากค่ะ โดยเฉพาะในตลาดออนไลน์ซึ่งลูกค้าไม่สามารถจะจับต้องเนื้อผ้าได้แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าโดนเขาหลอกว่าเป็นผ้าคอตตอน แต่ที่แท้แล้วไม่ใช่ !

ก่อนอื่นต้องมาเรียนรู้พื้นฐานของเส้นใยและเส้นด้ายกันนิดนึงในโลกของสิ่งทอรวมถึงเสื้อผ้าที่เราสวมใส่กันอยู่เส้นใย มาจาก ประเภท
1. ฝั่งที่มาจากธรรมชาติ 
2. ฝั่งที่มาจากสังเคราะห์  

ภายใต้ฝั่งธรรมชาติเส้นใย จะมาจาก สัตว์ และ พืช

ฝั่งที่ได้มาจากสัตว์ เช่น รังไหม ขนแกะ ส่วนฝั่งที่ได้มาจากพืช เช่น ฝ้าย หรือคอตต้อนในภาษาอังกฤษ  ที่เป็น ตัวหลัก มีหลายพันธุ์ แต่ที่คุณภาพสูงจะเป็นพันธุ์ อียิปต์ และ sea island

Previous
Next

ในส่วนของฝั่งเส้นใยสังเคราะห์

ตัวแม่ที่เป็นที่แพร่หลายที่สุดคือ ใยโปลีเอสเตอร์ (เส้นใยจะถูกปั่นตีเกลียวเป็นเส้นด้ายโปลีเยสเตอร์) เมื่อ 10 ปี มานี้ มีใยไมโครไฟเบอร์ถูกพัฒนาต่อยอดจากใยโปลีเอสเตอร์มีความบางขนาด 5-10 ไมครอน เท่านั้น  ซึ่งบางกว่าเส้นใยฝ้ายที่มีขนาด 20 ไมครอน เสียอีก  

           อ้าว แล้วทีนี้ มันยังไงต่อหล่ะ ต้นทุนในการผลิตเส้นใยผ้าย (ซึ่งต่อมาก็จะถูกปั่น ตีเกลียวเป็น เส้นด้ายฝ้าย ) นับว่าแพงมากเลย เมื่อเทียบกับพวกเส้นใยสังเคราะห์ การปลูกฝ้ายใช้เคมีเยอะมากเพื่อฆ่าศัตรูพืชต้องรดน้ำกันมหาศาลเลยเวลานำผ้าฝ้าย  มา ฟอก มาย้อม มาพิมพ์ ก็ปล่อยก๊าซคาร์บอนอีก
อย่างไรก็ตามคอตตอนมีข้อดีมากมายจึงไม่มีวันตายและใยสังเคราะห์ก็เลียนแบบไม่ได้ คือระบายอากาศได้ดี ใส่แล้วเย็น  ใช้ได้ดีทั้งในเมืองร้อนเมืองหนาว ทนการอบผ้าแบบร้อนๆได้ ยิ่งซักยิ่งนุ่ม ทนการซักรีดได้สูง  โรงแรมจึงระบุเลือกแต่ ผ้าค้อตต้อน 100 %  
ส่วนต้นทุนการผลิตผ้าไมโครไฟเบอร์นั้นถูกกว่าเยอะ เพราะมันถูกสังเคราะห์มาไง ยิ่งผลิตเยอะก็ยิ่งถูก ทีนี้ผ้าไมโครฯ เขามีเนื้อเนียน ผิวสัมผัสนุ่ม  เพราะมีใยไมโครไฟเบอร์ที่เป็นต้นตอ  ผู้บริโภคจึงเข้าใจไปเองว่า น่าจะเป็นคอตต้อน (ชนิดหนึ่ง) ฝ่ายพ่อค้าแม่ค้า ก็ เออๆ ออๆ ไปด้วย ประมาณว่าอยากขายของให้ได้เเลยไม่อยากพูดมากหรืออาจจะไม่มีความรู้ด้านสิ่งทอเลยก็เป็นไปได้

 

            แล้วเวลาช้อปปิ้งออนไลน์จะแยกออกได้ยังไงหล่ะ ?  เวลาที่มันเป็นผ้าไมโครฯ นั้น ผู้ผลิตก็จะเลี่ยงไม่ใช้คำว่า คอตตอน 100%  แต่จะหันไปตั้งชื่อเก๋ๆ (แต่ถ้าถามไป คนขายอาจจะบ่ายเบี่ยง ไม่ตอบ เพราะไม่รู้จริงก็ได้นะ ) ส่วนใหญ่มักจะลงท้าย ด้วยคำว่า “เทค” “นาโน” “ไมโคร” เอาแน่เอานอนไม่ได้ (ตามสะดวกคนตั้งชื่อละกัน อย่าไปซ้ำกับ แบรนด์คู่แข่งเป็นใช้ได้)

 
ส่วนการเคลมจำนวนเส้นด้าย ก็แล้วแต่จินตนาการไปเลย 1,000 เส้นก็มี ซึ่งมันเป็นไปได้ยากมาก (มันเกี่ยวกับ ขนาดของเส้นด้าย ที่มีขนาดตายตัวแน่นอนอยู่แล้วในวงการสิ่งทอ)


แล้วเดี๋ยว EP หน้า จะมาอธิบาย ความหมายของ จำนวนเส้นด้าย หรือ thread count เพื่อช่วยในการเลือกซื้อผ้าปูปลอกหมอนฯ กันค่ะ 

Facebook
Twitter
WhatsApp
Email
  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไรฝุ่น

สิ่งที่ไม่รู้ไม่ได้ สำหรับคนเตรียมจะซื้อที่นอน

สิ่งที่ไม่รู้ไม่ได้ สำหรับคนเตรียมจะซื้อที่นอน

Previous
Next

           ในแต่ละวัน เราจะใช้เวลาไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ไปกับการพักผ่อน ผ่อนคลายอิริยาบถ เพื่อเก็บแรงไว้สำหรับวันพรุ่งนี้ เพราะฉะนั้น ที่นอนจึงเป็นของใช้ที่เราต้องอยู่กับมัน ต้องสัมผัสมันทุกวันแน่นอน แล้วก็เป็นอะไรที่เราต้องการ เรียกร้องหามากๆ เวลาเราเหนื่อยมาทั้งวัน ก็อยากจะเอนกายลงบนที่นอน แล้วก็หลับพักผ่อน… 

แต่!!!    ถ้าที่นอนมันสร้างปัญหาให้กับการนอนขึ้นมาล่ะ

คุณยังจะแฮปปี้ไหม? กับเรื่องของการนอนแล้ว หลายคนมักเจอปัญหาเหล่านี้… 

 • อยากนอน แต่เอนตัวลงนอน แล้วนอนไม่หลับ 

• ปวดหลังเมื่อยตัว ทุกครั้งหลังตื่นนอน 

• ตื่นอยู่เป็นประจำ เมื่อคนนอนข้างๆ พลิกตัว หรือขยับตัว

• นอนๆไปแล้วปวดไหล่ เลยพาให้หลับไม่ลง

Previous
Next

       ปัญหาพวกนี้มันเกิดขึ้นได้กับทุกคน ถ้าเกิดเราเลือกที่นอนไม่ดีพอ หรือไม่เหมาะกับสรีระ และลักษณะการนอนของแต่ละคน แต่ละครอบครัว   แล้วควรเลือกซื้อที่นอนอย่างไร มีอะไรบ้างที่ควรรู้?

การเลือกซื้อที่นอนมันไม่ใช่ว่าเราจะเลือกที่นอนแพงๆ แล้วดีแน่นอน

         มันไม่ใช่!!!  หรือลองนอนแล้วนุ่มมาก เลยเลือกซื้ออันนี้แหละ โดยที่หารู้ไม่ว่ามันอาจสร้างปัญหาให้เราภายหลัง และเชื่อเถอะว่าที่นอนหนึ่งหลัง มันไม่ใช่ว่าเราอ่านสเปคที่นอนของแต่ละยี่ห้อ แต่ละรุ่น แล้วก็สามารถตัดสินใจได้เลย แต่มันต้องดูหลาย ๆ อย่าง ทั้งความรู้สึก โครงสร้าง วัสดุ การเอนรับหลัง ดูสรีระของเราและดูความกระชับของที่นอน ที่มีต่อร่างกาย เพราะฉะนั้น เมื่อการเลือกที่นอนเป็นเรื่องละเอียดขนาดนี้ เราก็เลยมีการลิสต์ 5 สิ่ง สำหรับการเลือกซื้อที่นอนใหม่ ที่คุณจะไม่รู้ไม่ได้   มาฝากกันค่ะ

1. ที่นอนนุ่มไม่ดีเสมอไป

               เชื่อเลยว่าไม่ว่าใครก็อยากได้ที่นอนนุ่มๆ แต่หารู้ไม่ว่า ที่นอนที่นุ่มจนเกินไป มันมีความยุ่งยากตามมา เช่น ที่นอนเป็นหลุมง่าย นอนไปสักพักปวดหลัง หรือบางเตียง นอนสองคน พลิกตัวแล้วคนที่นอนข้างๆตื่น ที่นอนที่ดีจริงๆแล้ว จะต้องมีความนุ่มและความหนาแน่นเท่ากันทั้งหมดทุกส่วนของที่นอน ถ้าก่อนซื้อเรามีโอกาสได้ลองนอน ควรจะทดสอบให้รู้เลยว่า ไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งของที่นอนนิ่มจนยวบมากเกินไป 

          ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเรานั่งลงไปบนที่นอน จะต้องไม่นิ่มยวบลงไปมากจนเกินไป เวลาเรานอนลงไปแล้วจะต้องเต็มหลัง โดยการอาจจะทดลองนอน แล้วเอามือสอดตรงแผ่นหลังดู ที่นอนที่สอดมือเข้าไปแล้วเต็ม ไม่มีช่องว่างระหว่างกายกับที่นอน เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับการซื้อที่นอนใหม่

2. เลือกที่นอนแบบไหนดี ที่นอนแล้วไม่ปวดหลัง

                 เรื่องของอาการปวดหลังจากการนอนนั้น เกี่ยวกับที่นอนโดยตรง ซึ่งโครงสร้างของที่นอนนั้นมีผลอย่างมาก ที่อาจส่งผลต่อร่างกายเวลานอน ซึ่งอาการปวดหลังที่เกิดขึ้นมักเกิดจากที่นอนมีความหนาแน่นไม่เท่ากัน ใช้ไปนานๆ กลายเป็นหลุม เลยทำให้หลังของเรารับน้ำหนักร่างกายมากเกินไป เมื่อสะสมเป็นระยะเวลายาวนาน ก็เลยทำให้ปวดหลังได้
ถามว่าแล้วเราควรเลือกที่นอนแบบไหน?  ที่นอนที่เหมาะจะนอน แล้วไม่ปวดหลัง ก็คือที่นอนยางพาราสำหรับคนทั่วไป และที่นอนยางพาราอัด
สำหรับท่านที่มีอายุเกิน 50-60 ปี หรือท่านที่มีน้ำหนักตัวมาก ซึ่งมีความหนาแน่นเท่ากัน ที่นอนอีกประเภทที่เป็นทางเลือกที่น่าสนใจก็คือ ที่นอนสปริง ที่แม้ว่าจะมีราคาที่ต่ำกว่าที่นอนยางพารา แต่ตัวโครงสร้างของมันก็มีความหนาแน่นไม่ต่างกัน แถมยังมีความยืดหยุ่นและการคืนตัวที่ดีกว่าด้วยซ้ำ เพราะสปริงที่อยู่ในที่นอนจะรองรับสรีระได้ดีกว่า เหมาะมากสำหรับคนที่ชอบนอนตะแคงเพราะสปริงจะยุบตัวลงไปไม่กดทับ จึงไม่ปวดไหล่ ปวดหลังเวลานอน

3. ที่นอนยี่ห้อดีๆ ใช้ทนเกิน 10 ปี ไม่มียวบ

            บอกเลยว่า ถ้าคุณเลือกที่นอนยี่ห้อดี ๆ โครงสร้างทน ๆ คุณไม่มีทางได้เสียเงินซื้อที่นอนใหม่ในช่วง 10-20 ปี เพราะว่ามันไม่พังแน่ ดูอย่างบางบ้าน เชื่อไหมว่าที่นอนใช้มาตั้งแต่รุ่นคุณพ่อคุณแม่ก็ยังทนทานดี ไม่มียวบ หรืออย่างตามโรงแรมนี่ก็ ที่นอนทนมาก จากประสบการณ์การผลิตที่นอนของเรานั้น นานหลาย 10 ปี ถึงจะเปลี่ยนใหม่ ทั้งที่แขกเข้าพักไม่เว้นวัน

ถ้าคุณอยากได้ที่นอนที่ทนทานแบบโรงแรมบ้าง สิ่งสำคัญที่คุณต้องดูคือโครงสร้างของที่นอน ซึ่งมี 3 ส่วนหลักๆ คือ

ส่วนรับน้ำหนัก

 

          นั่นคือ วงสปริง ที่คุณต้องเลือกที่นอนที่มีวงสปริงแข็งแรง คงทน แต่ยืดหยุ่น มีคุณภาพของลวดที่ดี เส้นผ่านศูนย์กลางลวดนั้น รองรับน้ำหนักการใช้งานได้เพียงพอ และควรตรวจสอบเรื่องการพับงอได้ของที่นอนด้วย เนื่องจากบางครั้ง ห้องของเราอาจจะมีประตูแคบกว่ามาตรฐาน หรือลิฟท์/บันได แคบเกินกว่าจะขน ที่นอนขนาดคิงไซส์ให้ผ่านได้ 

ส่วนให้ความสบาย

         ส่วนนี้คือ ส่วนที่เป็นวัสดุที่ประกบวงสปริง โดยสิ่งที่ต้องคำนึง ถ้าอยากได้ที่นอนทนๆ ก็คือคุณภาพฟองน้ำต้องดีเยี่ยม แน่นอนว่าสำหรับที่นอน SLEEPEN แล้ว ได้คุณภาพ ความนุ่มกำลังดี มีความแน่นเท่ากันทุกส่วน รับรองว่า “ทน ทุก ท่า” แน่นอน!!!

ส่วนผ้าหุ้ม

          ส่วนนี้มองข้ามไม่ได้ เนื่องจากมีส่วนทำให้ที่นอน ทั้งทนทาน ไม่สกปรกง่าย และยังปลอดภัย รักษาสุขภาพอีกด้วย อาทิ ที่นอน SLEEPEN รุ่นต่อต้านไวรัส ใช้ผ้าหุ้มนิตแจ็คการ์ด นวัตกรรมจากสวิตเซอร์แลนด์ ที่สามารถต่อต้านไวรัส และแบคทีเรียร้าย ที่นอนจึงไม่เป็นที่เพาะพันธุ์ และแพร่พันธุ์ของเชื้อโรค อีกต่อไป ซึ่งอันนี้มีผลกับการกำจัดไรฝุ่นออกไปจากที่นอนไปด้วยเลย นอกจากนี้ผ้าหุ้มยังมีแบบ ไม่ลามไฟ แบบสะท้อนน้ำ ซึ่งเป็นคุณสมบัติ ที่เหมาะกับที่นอนในโรงแรม และงานโครงการอย่างยิ่ง

Facebook
Twitter
WhatsApp
Email
  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไรฝุ่น