ภูมิแพ้ ไรฝุ่น แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน

เคล็ดลับกำจัดไรฝุ่น

เคล็ดลับการกำจัดไรฝุ่น

Previous
Next
 เพราะคนเราใช้เวลาอยู่ในห้องนอนมากกว่าสถานที่อื่นๆ
 
          ยิ่งสำหรับคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ไรฝุ่นนั้น เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาวิธีจัดการฝุ่นในห้องนอน เพื่อสุขภาพที่ดีห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ วันนี้เรามีวิธีง่ายๆ พร้อมเคล็ดลับการทำความสะอาดที่นอน ที่ได้ผลมาแนะนำกัน

ไรฝุ่นสามารถอาศัยในที่นอนได้ถึง 2 ล้านตัว

       ไรฝุ่น สามารถพบอยู่กับฝุ่นตามพื้นบ้าน ห้องนอน ที่นอน หมอน พรม ตุ๊กตาขน และเครื่องเรือนต่างๆ โดยชอบอาศัยในที่อับชื้น และที่อบอุ่น ไรฝุ่นกินเศษผิวหนังและรังแคเป็นอาหาร จากนั้นจะถ่ายมูลไว้ในสถานที่ที่อาศัยอยู่ โดยเฉพาะบนเตียง หรือที่นอน ซึ่งเป็นแหล่งสะสมของตัวไรฝุ่นและมูลของไรฝุ่น ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ในฝุ่น 1 กรัม สามารถพบไรฝุ่นได้ถึง 500 ตัว นอกจากนี้ยังพบอีกว่าน้ำหนัก 1 ใน 10 ของหมอนเก่าอายุ 6 ปี มาจากไรฝุ่นและมูลของไรฝุ่น และในที่นอน 1 หลัง มีไรฝุ่นอาศัยอยู่ประมาณ 2 ล้านตัว อีกทั้งมูลของไรฝุ่นสามารถฟุ้งกระจายได้ง่ายและลอยเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจของเราในขณะนอนหลับ

ภาพ 1 : การเคลื่อนที่ของไรฝุ่น

มีข้อมูลที่น่าสนใจคือ เศษหนังกำพร้าของคน 1 กรัม เป็นอาหารให้ไรฝุ่นหนึ่งล้านตัวมีชีวิตได้นานถึง 1 สัปดาห์ซึ่งตามปกติคนเราจะมีผิวหนังหลุดลอกออกมาถึง 1.5 กรัมต่อวันนั้น ยิ่งจะเป็นการทำให้ไรฝุ่นอยู่กับเราได้นานขึ้นอีกเป็น 1 สัปดาห์กว่าๆ ดังนั้น การตัดวงจรอาหารของไรฝุ่นจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่อทำให้ตัวไรฝุ่นขาดอาหารและลดจำนวนลง

4 เคล็ดลับการทำให้ห้องนอนปลอดไรฝุ่น

1. หมั่น กวาด เช็คทำความสะอาดห้องนอนและที่อยู่อาศัยอย่างสม่ำเสมอ อย่าให้มีฝุ่นจับตัวกันหนา โดยเฉพาะเครื่องนอนและผ้าม่านควรปัดฝุ่นอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ซักทำความสะอาดชุดเครื่องนอนอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ด้วยน้ำร้อน 55-60 องศาเซลเซียส หรืออาจนำ ที่นอน หมอน และพรม มาตากแดดจัดประมาณ 3 ชั่วโมงขึ้นไป สามารถช่วยฆ่าและลดจำนวนตัวตัวไรฝุ่นได้
 
2. หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์ตกแต่งบ้านที่สะสมฝุ่นได้ง่ายและทำความสะอาดได้ยาก เช่น ผ้าบุที่หนาหยาบ พรมที่มีขนฟู ใช้เครื่องนอนที่ทำจากใยสังเคราะห์ เป็นต้น
3. ควรเปิดผ้าม่าน หน้าต่าง ให้แดดส่อง ที่นอนหรืออาจนำออกมาตากแดดเลยก็ได้อย่างน้อยเดือนละครั้งเพื่อเป็นฆ่าเชื้อโรคและระบายอากาศภายในห้องนอน ไม่ให้เกิดความอับชื้น ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยอย่างดีสำหรับไรฝุ่น
 
4. ไม่ควรเก็บตุ๊กตาขนไว้ในห้องนอน เพราะขนของตุ๊กตาถือเป็นแหล่งสะสมฝุ่นและไรฝุ่นได้อย่างดี แต่ถ้าหากต้องการเก็บตุ๊กตาขนไว้ในห้องนอน จำเป็นจะต้องมีการทำความสะอาดอย่างน้อยเดือนละครั้ง
และไม่ควรนำสัตว์เลี้ยงเข้าไปในห้องนอน เพราะรังแคจากสัตว์เลี้ยงถือเป็นอาหารชั้นดีของไรฝุ่นได้เช่นกัน
  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไรฝุ่น

ฉีดซิโนแวกแล้ว จะไปเที่ยวยุโรปได้ไหม แล้วจะไปติดโควิดจากที่นั่นหรือปล่าว

ฉีดซิโนแวกแล้ว จะไปเที่ยวยุโรปได้ไหม แล้วจะไปติดโควิดจากที่นั่นหรือปล่าว

                ข้อมูลจาก ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้ว่า หลังฉีด ซิโนแวก 3 สัปดาห์ คน 66 % (124 ใน 188 ราย) จะสร้างแอนตี้บอดี้ และเมื่อกระตุ้นด้วยเข็มสอง ภายใน 4 สัปดาห์คน คน 99.49  % จะสร้างแอนตี้บอดี้

                 ดังนั้น จึงประมาณได้ว่า หากเราจะไปต่างประเทศ ก็ควร ไป หลังการฉีดกระตุ้นเข็มสอง 4 สัปดาห์จึงจะมีความปลอดภัย  แต่หากประเทศปลายทาง ยังไม่ยอมรับวัคซีนซิโนแวท ก่อนการเดินทาง เราก็สามารถไปฉีดวัคซีนตัวที่ประเทศนั้นยอมรับก็ได้ อาทิ อาจจะเป็น ไฟเซอร์ หรือ แอสตราซิเนกา

              ทั้งนี้ทั้งนั้น ข้อมูลเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2021 ทาง องค์การอนามัยโลก ได้ประกาศรับรอง วัคซีนโควิด19 ที่ผลิตโดยบริษัท ซิโนแวค ไบโอเทค ใช้ในกรณีฉุกเฉินได้แล้ว
เมื่อเร็วๆนี้ ทาง WHO ได้ออกมายอมรับว่า เชื้อโควิดนี้ ไม่ได้แค่อยู่ใน ละอองฝอย แต่ เชื้อนี้อยู่ในละอองลอย และ ยัง airborne ล่องลอยอยู่ในอากาศอยู่ได้หลายชั่วโมงลักษณะเดียวกับควัน หากเชื้ออยู่แต่ในละอองฝอย การล้างมือบ่อยและ การ social distancing ก็จะเพียงพอ แต่เพราะเชื้อนั้นอยู่ในละอองลอยด้วย การใส่หน้ากากจึงจำเป็นอย่างยิ่ง

            ทีนี้ เมื่อเราเดินทางไปต่างประเทศ โอกาส ที่เราจะไปรับเชื้อนั้นก็เป็นไปได้เสมอ ดังนั้นการใส่หน้ากากทั้งในสนามบิน ในเครื่องบิน และ เมื่ออยู่นอกที่พัก จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น แต่ถ้าเราเผลอเรอชอบไปจับหน้ากาก หรือหน้ากากหลวมหล่นมาอยู่ที่ปาก ก็จะทำให้ เชื้อไวรัส เล็ดลอดเข้าจมูกของเราได้ คนที่ไม่ได้ใส่แว่น ก็มีความเสี่ยงมากกว่า เพราะ เชื้อสามารถเข้าสู่เยื่อบุตาของเรา ได้โดยไม่มีอะไรมาขวางกั้นเลย

           ขณะนี้ มีหน้ากากที่ใช้นวัตกรรมสิ่งทอ ไวโรบล็อค (viroblock) จากสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่ง ทำได้มากกว่าป้องกันไวรัส แต่ต่อสู้ ไวรัสที่มาเกาะติดหน้ากากเราได้ด้วย เป็นการคิดค้น ที่ได้รับรางวัล Swiss Technology Award 2020 ด้วยการผสานซิลเวอร์นาโน กับ เวสิเคิล ลิโปโซม (Vesicle liposome) เจาะเปลือกไขมันของไวรัสเข้าไป แล้วทำลายสารพันธุกรรมของมัน
 

        ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพจาก 3 สถาบันชั้นนำ (UK, China and Thailand) ตามมาตรฐาน ISO 18184 ว่าต่อต้านทำลายไวรัสได้จริง ผลการทดสอบจาก มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ผ้าคอตต้อนที่เคลือบไวโรบล็อค ต่อต้านไวรัส ได้ถึง 99.98 % และ แม้ผ่านการซักน้ำ 15 ครั้ง ก็ยังมีฤทธิ์ต่อต้านได้ ถึง 99.47 % นอกจากนี้ ไวโรบล็อคยังปลอดภัยต่อผิวหนัง และร่างกายมนุษย์ เนื่องจากได้รับตรา Okeo Tex Standard ซึ่งเป็นเครื่องหมายออกให้สำหรับสิ่งทอที่มีความปลอดภัย อีกด้วย

Facebook
Twitter
WhatsApp
Email
  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไรฝุ่น

ไม่กล้าฉีดวัคซีนโควิด กลัวลิ่มเลือดอุดตัน ขอใส่หน้ากากอนามัยอย่างเดียวได้ไหม

ไม่กล้าฉีดวัคซีนโควิด กลัวลิ่มเลือดอุดตัน ขอใส่หน้ากากอนามัยอย่างเดียวได้ไหม

                              ในรายการ ชัวร์ก่อนแชร์ พ.อ. นพ.วิริสสร วงศ์ศรีชนาลัย อายุรแพทย์ โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤต รพ. จุฬาลงกรณ์ ได้กล่าวว่า หากคนไข้ติดเชื้อโควิดแล้ว เชื้อนี้มักจะทำให้เกิดการอักเสบในเส้นเลือดที่รุนแรงมาก เกิดการอักเสบไปทั่วร่างกาย โดยทั่วไปพบว่า คนไข้ 5 ใน 100 ราย (หรือประมาณ 2-5 % ) จะเกิดลิ่มเลือดอุดตัน

               ในขณะเดียวกัน สำหรับคนที่ฉีดวัคซีนนั้น โอกาส การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ คือ 4 ใน 100000 ราย เป็นอุบัติการณ์ที่ต่ำกว่ากรณีติดเชื้อโควิดแล้วลิ่มเลือดอุดตันอยู่มาก และอีกประการหนึ่ง ลิ่มเลือดอุดตัน นี้ เกี่ยวกับ เชื้อชาติด้วย การเกิดขึ้นพบได้บ่อยกว่าในกลุ่มคนสแกนดิเนเวีย มากกว่าคนเอเชีย มักเกิดในหญิง มากกว่าชาย และยาคุมกำเนิด มีส่วนทำให้ เลือดหนืดขึ้น ไหลช้า ทำให้เกิดลิ่มเลือดง่ายขึ้น

                 ดูจากข้อมูลนี้แล้ว คุ้มที่จะฉีดวัคซีนมากกว่า นอกจาก อุบัติการณ์ลิ่มเลือดอุดตันต่ำกว่าเมื่อเป็นโควิดจริงๆ เรายังได้ทำตัวเองให้เป็นเกราะป้องกัน คนในบ้านที่อ่อนแอ สูงวัย หรือเด็กเล็กๆ ด้วย เนื่องจากวัคซีนจะช่วยให้เราไม่นำพาเชื้อที่รุนแรงเข้าบ้าน

                  หน้ากากอนามัย ป้องกันเราจาก ดร็อปเลต ละอองฝอย ได้ในระดับหนึ่ง แต่ ความเผลอเรอชอบไปจับหน้ากาก หรือหน้ากากหลวมหล่นมาอยู่ที่ปาก ก็ทำให้ เชื้อไวรัส เล็ดลอดเข้าจมูกของเราได้ คนที่ไม่ได้ใส่แว่น ก็มีความเสี่ยงมากกว่า เพราะ เชื้อสามารถเข้าสู่เยื่อบุตาของเรา ได้โดยไม่มีอะไรมาขวางกั้นเลย 

                    ขณะนี้ มีหน้ากากที่ใช้นวัตกรรมสิ่งทอ ไวโรบล็อค (viroblock) จากสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่ง ทำได้มากกว่าป้องกันไวรัส แต่ต่อสู้ ไวรัสที่มาเกาะติดหน้ากากเราได้ด้วย เป็นการคิดค้น ที่ได้รับรางวัล Swiss Technology Award 2020 ด้วยการผสานซิลเวอร์นาโน กับ เวสิเคิล ลิโปโซม (Vesicle liposome) เจาะเปลือกไขมันของไวรัสเข้าไป แล้วทำลายสารพันธุกรรมของไวรัส

                     ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพจาก 3 สถาบันชั้นนำ (UK, China and Thailand) ตามมาตรฐาน ISO 18184 ว่าต่อต้านทำลายไวรัสได้จริง ผลการทดสอบจาก มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ผ้าคอตต้อนที่เคลือบ ไวโรบล็อค ต่อต้านไวรัส ได้ถึง 99.98 % และ แม้ผ่านการซักน้ำ 15 ครั้ง ก็ยังมีฤทธิ์ต่อต้านได้ ถึง 99.47 % นอกจากนี้ ไวโรบล็อคยังปลอดภัยต่อผิวหนัง และร่างกายมนุษย์ เนื่องจากได้รับตรา Okeo Tex Standard ซึ่งเป็นเครื่องหมายออกให้สำหรับสิ่งทอที่มีความปลอดภัย อีกด้วย