นักวิจัยพบความลับของเสียงและการงีบหลับ มีส่วนช่วยพัฒนาสมองและความจำ

เมื่อคนเราอายุมากขึ้นประสิทธิภาพด้านความจำก็มักจะเสื่อมถอยไปตามกาลเวลา

 มักเกิดอาการหลงๆ ลืมๆ ดังเช่นผู้สูงอายุชอบเป็นกัน ถ้าไม่อยากมีอาการหลงลืมการวัยอันควร 

การงีบหลับในระยะเวลาสั้นๆ ก็สามารถทำให้การจดจำดีขึ้นได้อีกด้วย

การทดลองจากเสียง

นักวิจัยได้ทำการทดลองโดยใช้เสียงจำนวน 25 เสียง ตั้งแต่เสียงผิวปาก เสียงกาต้มน้ำ จนกระทั่งเสียงร้องของแมว ในขณะที่ทำการทดลองผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะไม่ทราบเลยว่าจะได้ยินเสียงดังกล่าวในขณะที่หลับอยู่ และเมื่อพวกเขาตื่นขึ้นมาและจะได้รับการทดสอบเพื่อเก็บข้อมูล ซึ่งผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่าความทรงจำของพวกเขามีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น เนื่องจากผู้เข้าร่วมการทดลองจะรับการทดสอบโดยการจับคู่วัตถุกับเสียงที่มีความสอดคล้องกันด้วยคอมพิวเตอร์ 25 ภาพ ซึ่งสามาจับคู่วัตถุกับเสียงได้ถูกต้องอย่างมีมีนัยยะสำคัญ

 

                ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า แท้จริงแล้วคนเราไม่ได้อยู่ในสภาวะปิดการรับรู้ของเราทั้งหมดในขณะที่นอนหลับอยู่ โดย John Rudoy ได้ทำการศึกษาในระดับปริญญาเอกด้านประสาทวิทยาที่ Northwestern กล่าวเพิ่มเติบว่า ช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดสำหรับการรวมความทรงจำก็คือช่วงเวลาที่เรานอนนั้นเอง ดังเช่นผลจากการวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าเสียงสามารถแทรกซึมการนอนหลับลึกของเราได้ อีกทั้งเป็นการผลักดันและรวบรวมความทรงจำของคนเราให้ไปในทิศทางเดียว

การประมวลผลความทรงจำ

“ในขณะที่นอนหลับคนเราอาจจะกำลังประมวลผลความทรงจำถึงสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างวัน เช่น กินอะไรเป็นอาหารเช้า รายการโทรทัศน์ที่เขาดู หรืออะไรก็ตามแต่” โดย Ken Paller ศาสตราจารย์วิชาจิตวิทยาที่ Northwestern Weinberg วิทยาลัยศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ได้ตัดสินใจที่จะกระตุ้นความทรงจำของอาสาสมัครโดยการแนะนำให้พวกเขาเข้ารับการฝึกซ้อมและเรียนรู้เกี่ยวกับเสียงและความทรงจำเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันอีกด้วย

 

นอกจากนี้ถ้าต้องการที่จะปรับปรุงความจำ การงีบหลับช่วยคุณได้

“หากคุณกำลังเตรียมความพร้อมสำหรับการพรีเซ้นต์งานขนาด Big project บางทีคุณอาจจำเป็นที่ต้องใช้เวลาสำหรับการงีบหลับสักหน่อย” การวิจัยที่มหาวิทยาลัยซาร์ลันด์ ประเทศเยอรมนี ในการศึกษาด้านความทรงจำของสมอง โดยทำการทดลองจากอาสาสมัคร 41 คน พบว่า ในชั่วโมงของการงีบหลับ สามารถช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพหน่วยความจำของพวกเขาได้ถึง 5 เท่าเลยทีเดียว

การทำงานของสมองในระหว่างการนอนหลับ

สาเหตุที่การงีบหลับ สามารถช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพความทรงจำได้ เพราะฮิบโปแคมปัสของสมองซึ่งมีบทบาทสำคัญในการถ่ายโอน Consolidation หรือหน่วยความจำการเรียนรู้ข้อมูลลงในหน่วยความจำการเก็บข้อมูลของสมองหลังจากที่ได้เรียนรู้ มีประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้นภายหลังจากได้รับการงีบหลับ

                  นอกจากนี้ การทดสอบด้วยเครื่องวัดคลื่นสมอง พบว่า การนอนหลับ (1 ชั่วโมงขึ้นไป) ในระหว่างวันที่มากเกินไปไม่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานฮิบโปแคมบัสในการรับข้อมูลอีกด้วย

 

             นักวิจัยได้ทำการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อคลี่คลายกลไกของสมองที่แตกต่างกัน ระหว่างข้อมูลที่ถูกเก็บไว้ และข้อมูลที่ถูกลืมโดยการนอนหลับ อย่างไรก็ตามการงีบหลับในระยะสั้นๆ มีนัยสำคัญเพียงพอที่จะช่วยในการปรับปรุงกระบวนการความจำและเรียนรู้ของสมองที่มากพอ

 

 เห็นไหมล่ะว่า การนอนหลับนั้นดีต่อสุขภาพร่างกายขนาดไหน ทั้งฟื้นฟูซ่อมแซมส่วนต่างๆ ของร่างกาย อีกทั้งยังช่วยในเรื่องความจำอีกด้วย แต่ต้องระวังการนอนงีบหลับระหว่างวันที่มากเกินไป อาจทำให้ร่างกายเกิดอาการง่วงเหงาหาวนอนได้

  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไรฝุ่น