เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุ การเลือกที่นอนให้เหมาะสม จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก

         สำหรับที่นอนหรือฟูกที่เหมาะสำหรับการนอนหลับพักผ่อนในผู้สูงอายุ ถือเป็นอีกหนึ่งคำถามที่หลายคนกำลังสงสัย ว่าควรเลือกใช้แบบไหน จึงจะเหมาะสมต่อสุขภาพร่างกายของผู้สูงอายุมากที่สุด เพราะที่นอนมีหลากหลายรูปแบบ และแน่นอนการใช้งานในแต่ละช่วงวัยย่อมแตกต่างกันไป ดาร์ลิ่งมีคำแนะนำดีๆ มาฝากกันเช่นเคย

ที่นอนสำหรับผู้สูงอายุ

             โดยทั่วไปการเลือกซื้อที่นอน จะเลือกตามความพึงพอใจตามลักษณะและรูปแบบการในนอนในแต่ละบุคคล บางคนชอบที่นอนแข็ง บางคนชอบที่นอนนิ่ม บางคนชอบที่นอนไม่แข็งหรือนิ่มมากเกินไปก็สุดแล้วแต่ความชอบของบุคคลนั้นๆ แต่สำหรับการเลือกที่นอน ให้มีความเหมาะสมกับผู้สูงอายุนั้น ควรเลือกที่นอนที่มีความยืดหยุ่นได้ดี ทีความแข็งประมาณนึงเพราะช่วยในการรองรับกระดูกสันหลังได้ดีในขณะที่นอน เนื่องจากกระดูกสันหลังของผู้สูงอายุค่อนข้างมีความอ่อนแอ เสื่อมถอยไปตามอายุที่มากขึ้น

 

แข็งไปก็ไม่ดี นิ่มไปก็ปวดเมื่อย

        เพราะผู้สูงอายุต้องการการนอนหลับที่ค่อนข้างมาก ดังนั้นในหนึ่งวันผู้สูงอายุจึงต้องนอนหลับมากกว่าช่วงวัยอื่นๆ ซึ่งที่นอน ที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญอย่างมาก หากใช้ที่นอนไม่เหมาะสมจะยิ่งทำให้เกิดอาการปวดหลังเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งจำเป็นต้อง สังเกตุอาการความปวดเมื่อยของผู้สูงอายุประกอบกันด้วน เนื่องจากในช่วงระยะเวลาหนึ่ง การนอนที่แข็งอาจช่วยให้หายจากปวดหลังได้ แต่พอเวลาผ่านไป อาจจะกลายเป็นว่าเกิดการปวดเมื่อยบริเวณกล้ามเนื้อในบริเวณอื่นแทน

การเลือกที่นอนสำหรับผู้สูงอายุ

         อันดับแรกที่ควรเลือกใส่ใจเป็นเรื่องแรก ได้แก่ขนาดของที่นอน ที่ต้องมีความใหญ่พอสมควร ไม่ควรเล็กกว่า 3.5 ฟุต เพราะหากที่นอนเล็กเกินไปทำให้ไม่มีพื้นที่ในการพลิก ขยับตัวเพื่อเปลี่ยนอริยาบถในการนอน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการปวดเมื่อยตามตัว เนื่องจากนอนในท่าใดท่าหนึ่งนานมากจนเกินไป นอกจากนี้ควรคำนึงถึงน้ำหนักที่นอน ไม่ควรใช้ที่นอนหนัก ๆ เพราะหากผู้สูงอายุต้องเก็บที่นอน ปูผ้าปูเอง จะได้ไม่เกิดอันตรายเวลาก้มตัวขึ้นลง และการเลือกที่นอนจากวัสดุเพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับสรีระของผู้สูงอายุมากที่สุด ดังนี้

1. ที่นอนยางพารา

            ด้วยคุณสมบัติความเป็นยาง ได้แก่ ความยืดหยุ่นสูง จึงทำให้สามารถวางใจได้ว่าจะไม่เกิดการยุบตัวเป็นแอ่งของที่นอน อีกทั้งยังมีคุณสมบัติความนุ่มพอสมควร  ที่นอนโอบรับกับส่วนโค้งเว้ารับร่างกายได้ดีอีกด้วย อาจสั่งซื้อจากผู้ผลิต ความหนา 4 นิ้ว ก็เพียงพอ มิฉะนั้นน้ำหนักจะมาก ทำให้ดูแลที่นอนลำบาก

2. ที่นอนสปริง

หากที่นอนยางพารามีราคาสูงเกินไป ที่นอนสปริง ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว เนื่องจากมีราคากลาง ๆ แต่ยังคงให้คุณสมบัติของความยืดหยุ่นและการคืนตัวที่ดี อาจดีกว่าที่นอนยางพารา ควรเลือกที่นอนสปริงที่แน่น น้ำหนักพอประมาณ

3. ที่นอนใยมะพร้าว

           ผลิตจากใยมะพร้าว โดยการนำมาอัดแน่นเข้าด้วยกาว ก่อนขึ้นรูปเป็นที่นอนใยมะพร้าว ซึ่งมีจุดเด่นเรื่องของความแน่นหนา สามารถใช้ได้ผู้สูงอายุอีกกัน เนื่องจากคุณสมบัติความแข็งไม่ยุบตัว ทำให้กระดูกไม่มีการแอ่นตัว แต่มีข้อควรระวังคือความแข็งและหนาแน่นที่มากเกินไป อาจไม่เหมาะกับสรีระของผู้สูงอายุบางคน อีกทั้งที่นอนใยมะร้าวเมื่อเกิดการเสื่อมสภาพควรเปลี่ยนทันที ก่อนที่จะเปื่อยยุ่ยและฟุ้งกระจายเป็นฝุ่นผงซึ่งอาจส่งผลเสียต่อระบบทางเดินหายใจได้

4. ที่นอนลม

           เหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นแผลกดทับ อีกทั้งป้องกันการเกิดแผลกดทับจากการนอน จากการเสียดสีกันระหว่างที่นอนกับผิวของผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ จากอาการเจ็บป่วย อัมพาต อัมพฤกษ์ หรือมีความจำเป็นต้องนอนพักรักษาตัวเป็นเวลานานๆ อีกด้วย เลือกที่นอนลมที่ผิวที่นอนเป็นผ้า หากเป็นพลาสติกจะลื่น ไม่เหมาะกับการนอน

           การเลือกที่นอนควรคำนึงถึงช่วงอายุที่จะใช้งานที่นอน โดยเฉพาะในผู้สูงอายุควรเลือกให้เหมาะสมกับสภาพของร่างกาย เพราะอยู่ในช่วงวัยที่ร่างกายมีความเสื่อมโดยเฉพาะเรื่องของกระดูกและโครงสร้างของร่างกายที่ความแข็งแรงค่อนข้างต่ำ ซึ่งการใช้ที่นอน ที่เหมาะสม สามารถช่วยปรับปรุงคุณภาพการนอนของผู้สูงวัยได้

Facebook
Twitter
WhatsApp
Email
  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไรฝุ่น