ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ

ความเครียดส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร

ความเครียดส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร

ใครที่เคยผ่านการพักผ่อนไม่เพียงพอ ไม่ว่าจะเพราะต้องปั่นงาน อ่านหนังสือสอบ หรือ ติดซีรี่ย์เรื่องใหม่ จะรู้เลยว่าในวันนั้นๆอารมณ์แปรปรวนอย่างแน่นอน อีกทั้งยังรู้สึกไร้เรี่ยวแรง และขาดสมาธิ ขี้หลงขี้ลืม โดยรวมแล้วคนที่ขาดนอนจะสัมผัสได้ว่าการทำงานโดยทั่วไปของร่างกายเรามันไม่เหมือนวันอื่นๆ

             การอดนอนอาจจะมีผลกระทบที่ร้ายแรงทวีคูณขึ้นในบางสถานการณ์ เช่นเมื่อต้องขับรถ หรือ ในการต้องบังคับงานเครื่องจักรใหญ่ๆด้วยร่างกายที่แสนเหนื่อยล้าในขณะที่การได้นอนน้อยบ้าง สองถึงสามวันครั้ง คงไม่ได้อันตรายหนักหนา แต่การอดหลับอดนอนในระยะยาว สามารถเพิ่มโอกาศการเกิดปัญหาสุขภาพแบบเรื้อรังได้

              จากงานวิจัยของ CDC พบว่า กลุ่มคนที่นอนน้อยกว่า 7 ชั่วโมงต่อวันมีความเสี่ยงสูงขึ้นต่อการเป็นบรรดาโรคต่างๆ:

  • ภาวะโรคอ้วน
  • โรคหัวใจ
  • โรคเบาหวาน
  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • ภาวะซึมเศร้า
  • โรคข้ออักเสบ
  • โรคไต
 

ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียด และการนอน

               เมื่อได้ยินคำว่า ‘เครียด’ เราตีความหมายมันไปในทางลบโดยทันที แต่ในเชิงวิวัฒนาการของมนุษย์และสัตว์นั้น ความเครียดเป็นสัญญาณเตือนจากร่างกายให้เราจัดการกับปัญหาหรือภัยที่อยู่ตรงหน้า ก่อนที่มันจะบานปลายมาคุกคามการอยู่รอดของเรา

            ในมนุษย์ ความเครียดมีหน้าที่กระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic Nervous System) ให้ทำการหลั่งฮอร์โมน ที่เพิ่มแรงเต้นของหัวใจ ให้เลือดถูกไหลเวียนไปทั่วอวัยวะสำคัญข้างใน รวมถึงกล้ามเนื้อของเราอีกด้วย กระบวนการนี้ก็เพื่อเตรียมร่างกายให้พร้อมกับการต้องต่อสู้ เคลื่อนไหว ในสถานการณ์คับขัน ผลกระทบของความเครียด ต่อร่างกายในระยะยาว           แน่นอนว่าการรู้สึกเครียดเป็นบางครั้งบางคราวเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน แต่หากความเครียดถูกปล่อยให้อยู่นานๆ ระบบประสาทของเราต้องเผชิญกับภาวะตื่นตัวนานกว่าที่ควร ซึ่งส่งผลร้ายต่อกายภาพและสุขภาพจิตของเราได้

หนึ่งในผลกระทบจากความเครียดคือ อาการนอนไม่หลับ

           หากเราเป็นคนที่อยู่ในสภาวะตื่นตัวจากความเครียดบ่อยครั้ง จะทำให้เกิดดีเลย์ในกระบวนการของการนอนหลับ (Sleep Onset) ซึ่งคือการเปลี่ยนแปลงของร่างกายเราจากตอนเรารู้สึกตื่น ไปถึงตอนเรารู้สึกง่วงจนเข้าสู่การหลับสนิท การล่าช้าดังกล่าวเป็นที่มาของความคิดวิตกกังวลที่บ่อยขึ้น ณ ตอนกลางคืน

           นี่แหละเป็นวงจรที่ไม่มีไครอยากเข้าไปอยู่ เพราะการนอนหลับไม่พอยิ่งทำให้เกิดความเครียดเข้าไปอีก

            ในแบบสอบถามที่ถูกจัดเตรียมโดย National sleep foundation สถิติชี้ว่าในกลุ่มคนที่อายุระหว่าง 13-64 ปี 43%  มักประสบปัญหาการนอนไม่หลับ โดยนอนเฉยๆอยู่บนเตียงแต่ไม่สามารถหลับได้ อย่างน้อยๆเลยหนึ่งครั้งในเดือนที่ผ่านมา

  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • อาการหลับยาก ทำอย่างไรดี
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไขความลับ การนอนเปลี่ยนชีวิต
  • ไรฝุ่น

อยากใช้เครื่องนอนผ้าคอตต้อน รู้ไหมอันไหนจริง อันไหนย้อมแมว

ใครๆ บอกพูดแต่ผ้าคอตตอน รู้หรืออันไหนจริง อันไหนย้อมแมว ??

              ปัจจุบันในธุรกิจสิ่งทอเคหะโดยเฉพาะผ้าปูปลอกหมอนที่ใช้ตามบ้านมีความสับสนสูงมากค่ะ โดยเฉพาะในตลาดออนไลน์ซึ่งลูกค้าไม่สามารถจะจับต้องเนื้อผ้าได้แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าโดนเขาหลอกว่าเป็นผ้าคอตตอน แต่ที่แท้แล้วไม่ใช่ !

ก่อนอื่นต้องมาเรียนรู้พื้นฐานของเส้นใยและเส้นด้ายกันนิดนึงในโลกของสิ่งทอรวมถึงเสื้อผ้าที่เราสวมใส่กันอยู่เส้นใย มาจาก ประเภท
1. ฝั่งที่มาจากธรรมชาติ 
2. ฝั่งที่มาจากสังเคราะห์  

ภายใต้ฝั่งธรรมชาติเส้นใย จะมาจาก สัตว์ และ พืช

ฝั่งที่ได้มาจากสัตว์ เช่น รังไหม ขนแกะ ส่วนฝั่งที่ได้มาจากพืช เช่น ฝ้าย หรือคอตต้อนในภาษาอังกฤษ  ที่เป็น ตัวหลัก มีหลายพันธุ์ แต่ที่คุณภาพสูงจะเป็นพันธุ์ อียิปต์ และ sea island

Previous
Next

ในส่วนของฝั่งเส้นใยสังเคราะห์

ตัวแม่ที่เป็นที่แพร่หลายที่สุดคือ ใยโปลีเอสเตอร์ (เส้นใยจะถูกปั่นตีเกลียวเป็นเส้นด้ายโปลีเยสเตอร์) เมื่อ 10 ปี มานี้ มีใยไมโครไฟเบอร์ถูกพัฒนาต่อยอดจากใยโปลีเอสเตอร์มีความบางขนาด 5-10 ไมครอน เท่านั้น  ซึ่งบางกว่าเส้นใยฝ้ายที่มีขนาด 20 ไมครอน เสียอีก  

           อ้าว แล้วทีนี้ มันยังไงต่อหล่ะ ต้นทุนในการผลิตเส้นใยผ้าย (ซึ่งต่อมาก็จะถูกปั่น ตีเกลียวเป็น เส้นด้ายฝ้าย ) นับว่าแพงมากเลย เมื่อเทียบกับพวกเส้นใยสังเคราะห์ การปลูกฝ้ายใช้เคมีเยอะมากเพื่อฆ่าศัตรูพืชต้องรดน้ำกันมหาศาลเลยเวลานำผ้าฝ้าย  มา ฟอก มาย้อม มาพิมพ์ ก็ปล่อยก๊าซคาร์บอนอีก
อย่างไรก็ตามคอตตอนมีข้อดีมากมายจึงไม่มีวันตายและใยสังเคราะห์ก็เลียนแบบไม่ได้ คือระบายอากาศได้ดี ใส่แล้วเย็น  ใช้ได้ดีทั้งในเมืองร้อนเมืองหนาว ทนการอบผ้าแบบร้อนๆได้ ยิ่งซักยิ่งนุ่ม ทนการซักรีดได้สูง  โรงแรมจึงระบุเลือกแต่ ผ้าค้อตต้อน 100 %  
ส่วนต้นทุนการผลิตผ้าไมโครไฟเบอร์นั้นถูกกว่าเยอะ เพราะมันถูกสังเคราะห์มาไง ยิ่งผลิตเยอะก็ยิ่งถูก ทีนี้ผ้าไมโครฯ เขามีเนื้อเนียน ผิวสัมผัสนุ่ม  เพราะมีใยไมโครไฟเบอร์ที่เป็นต้นตอ  ผู้บริโภคจึงเข้าใจไปเองว่า น่าจะเป็นคอตต้อน (ชนิดหนึ่ง) ฝ่ายพ่อค้าแม่ค้า ก็ เออๆ ออๆ ไปด้วย ประมาณว่าอยากขายของให้ได้เเลยไม่อยากพูดมากหรืออาจจะไม่มีความรู้ด้านสิ่งทอเลยก็เป็นไปได้

 

            แล้วเวลาช้อปปิ้งออนไลน์จะแยกออกได้ยังไงหล่ะ ?  เวลาที่มันเป็นผ้าไมโครฯ นั้น ผู้ผลิตก็จะเลี่ยงไม่ใช้คำว่า คอตตอน 100%  แต่จะหันไปตั้งชื่อเก๋ๆ (แต่ถ้าถามไป คนขายอาจจะบ่ายเบี่ยง ไม่ตอบ เพราะไม่รู้จริงก็ได้นะ ) ส่วนใหญ่มักจะลงท้าย ด้วยคำว่า “เทค” “นาโน” “ไมโคร” เอาแน่เอานอนไม่ได้ (ตามสะดวกคนตั้งชื่อละกัน อย่าไปซ้ำกับ แบรนด์คู่แข่งเป็นใช้ได้)

 
ส่วนการเคลมจำนวนเส้นด้าย ก็แล้วแต่จินตนาการไปเลย 1,000 เส้นก็มี ซึ่งมันเป็นไปได้ยากมาก (มันเกี่ยวกับ ขนาดของเส้นด้าย ที่มีขนาดตายตัวแน่นอนอยู่แล้วในวงการสิ่งทอ)


แล้วเดี๋ยว EP หน้า จะมาอธิบาย ความหมายของ จำนวนเส้นด้าย หรือ thread count เพื่อช่วยในการเลือกซื้อผ้าปูปลอกหมอนฯ กันค่ะ 

Facebook
Twitter
WhatsApp
Email
  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไรฝุ่น

งานวิจัยเผย ที่นอนใหม่ ช่วยลดความเครียด

งานวิจัยเผย ที่นอนใหม่ ช่วยลดความเครียด

ที่นอนมีความสำคัญต่อสุขภาพร่างกายมากกว่าเพียงแค่การนอนหลับพักผ่อน โดยเฉพาะที่ถูกออกแบบและผลิตด้วยวัสดุที่มีคุณภาพ ซึ่งเรื่องนี้ได้รับการยืนยันจากงานวิจัยในต่างประเทศ เกี่ยวกับประสิทธิภาพของที่นอนใหม่ ที่ส่งผลดีต่อร่างกายมากกว่าแค่การนอนหลับสบาย

ที่นอนใหม่ ช่วยลดอาการปวดเมื่อย

     จากการศึกษางานวิจัยชิ้นใหม่แสดงให้เห็นว่า เมื่อเราได้นอนหลับพักผ่อนบนที่นอนใหม่ นอกจากจะช่วยทำให้มีการพักผ่อนที่ดียิ่งขึ้น ช่วยลดอาการปวดหลังและความเครียดให้น้อยลงได้อีกด้วย ข้อมูลจากวารสารทางการแพทย์ Chiropractic Medicine กล่าวถึงผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยโอคลาโฮ “นวัตกรรมใหม่ของที่นอน สามารถช่วยให้อาการปวดหลังและอาการเครียดลดน้อยลง นำไปสู่การนอนหลับที่ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น”

Previous
Next

เบิร์ตเจ คอปสัน

นักวิจัยและอธิบดีของมหาวิทยาลัย ได้ทำการศึกษางานวิจัยไว้ก่อนหน้านี้ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างที่นอนใหม่กับอาการปวดหลัง และการนอนหลับอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในการศึกษานี้ได้ถูกตีพิมพ์ลงวารสารทางการแพย์ Chiropractic Medicine ปี 2009

ทดลองด้วยการนอน 2 ลักษณะ

          จากการทดลองในกลุ่มผู้มีสุขภาพดีจำนวน 59 คน แล้วทำการบันทึกอาการปวดหลังพร้อมด้วยคุณภาพการนอนหลับ ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ การตื่นนอนจากที่นอนหลังเดิมของพวกเขาเองนาน 28 วันติดต่อกัน และในอีกลักษณะหนึ่งคือ การตื่นนอนจากที่นอนใหม่นาน 28 วันเช่นเดียวกัน

 

           จากการศึกษาพบว่า คุณภาพของที่นอน ช่วยทำให้การนอนหลับมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งช่วยลดปัญหาต่างๆ ในการนอนหลับพักผ่อนได้อีกด้วย ซึ่ง Jacobson พบอีกว่า การแทนที่ ที่นอนเก่า ด้วยที่นอนใหม่ที่มีความหนานุ่ม แข็งระดับกลาง สามารถช่วยลดอาการปวดหลัง ปวดไหล่ และอาการเมื่อยล้าของหลังส่วนล่างได้ ทั้งยังส่งผลต่อคุณภาพของการนอนหลับในเชิงบวกอีกด้วย

 

           การศึกษานี้ได้รับการสนับสนุนจาก Better Sleep Council the International Sleep Products Association’s Consumer Education ที่แสดงถึงสภาวะความเครียดที่ลดลง รวมถึงการการนอนหลับและอาการปวดหลังที่มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ภายหลังจากการได้นอนด้วยที่นอนใหม่อย่างมีนัยสำคัญ

การศึกษาโดยเฉพาะ

           การศึกษาจากผู้หญิงจำนวน 30 คน และ ผู้ชายจำนวน 29 คน ที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อเล็กน้อยจากการบาดเจ็บแต่ไม่มีข้อมูลหรือประวัติการรักษาเกี่ยวกับการนอนหลับ ด้วยการนอนบนที่นอนสปริงอย่างน้อย 5 ปี ในช่วงระยะเวลา 28 วันแรก ผู้ร่วมทดลองนอนหลับบนที่นอนของตนเอง และวัดผลของการนอนหลับในช่วงเช้าเพื่อสร้างเป็นมาตรฐาน ก่อนส่งมอบที่นอนใหม่ให้ผู้เข้าร่วมการทดลองได้นอนอีก 28 วัน โดยที่นอนเหล่านั้นไม่มีป้ายกำกับรายละเอียดของที่นอน แต่ถูกออกแบบมาเพื่อการทดลองโดยเฉพาะ

 

        การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวกับการพักผ่อนบนที่นอนใหม่ ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ ในตอนหน้ามีงานวิจัยที่บ่งบอกถึงคุณภาพของการนอนและอาการปวดหลัง ความตึงเครียด ที่มีผลต่อด้านร่างกายและจิตใจ ซึ่งจะส่งต่อสุขภาพอย่างไรมาให้ได้รู้กัน

Previous
Next
Facebook
Twitter
WhatsApp
Email
  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไรฝุ่น