พฤติกรรมการนอนน้อย

ที่นอนยางพารา หรือ ที่นอนลาเท็กซ์

ก่อนซื้อควรรู้ ที่นอนยางพารา ที่นอนลาเท็กซ์ คืออะไร ?

  • ที่นอน ยางพารา หรือ ที่นอน Latex เป็นที่นอนธรรมชาติที่ผลิตจากน้ำยางพารา  
  • คุณสมบัติโดยหลัก มีความยืดหยุ่นสูง ช่วยโอบสรีระร่างกายเวลานอน และ กระจายแรงกดทับจากน้ำหนักตัวได้ดี ถือว่าเป็นประเภทวัสดุที่นอน ที่เหมาะกับผู้มีปัญหาปวดเมื่อยตามร่างกาย หรือ ปวดหลัง  
  • ด้วยคุณสมบัติธรรมชาติของตัวโฟมลาเท็กซ์ ทำให้มันเป็นที่นอนต้านไรฝุ่น แบคทีเรีย เป็นทางเลือกที่เหมาะสมกับผู้มีปัญหาเกี่ยวกับทางเดินหายใจ หรือ แพ้ฝุ่นในอากาศง่ายกว่าปกติ
  • น้ำยางพาราที่นำมาผลิต ที่นอนยางพารา นั้นถูกค้นพบตามธรรมชาติในรูปแบบของเหลวตามลำต้น ของต้นยาง เดิมพื้นที่ในประเทศไทยที่มีการปลูกยางส่วนใหญ่อยู่ในภาคใต้และภาคอีสาน ซึ่งปัจจุบันได้มีการขยายพันธุ์ยางปลูกเพิ่มในภาคกลาง และภาคเหนือ

กรรมวิธีการผลิตแผ่นโฟมลาเท็กซ์ที่ใช้ในที่นอน มีอยู่ 2 แบบ

วิธีดันลอป (Dunlop)

แบบที่ 1 คือ วิธีดันลอป (Dunlop) เป็นวิธีดั้งเดิมในการผลิตแผ่นโฟมลาเท็กซ์ 

เมื่อปี คศ. 1929 บริษัทดันลอป (Dunloppilo) เป็นผู้ค้นพบคุณสมบัติพิเศษของยางพารา ว่าที่แท้มันเป็นวัสดุชั้นเลิศสำหรับการนำมาทำที่นอน จึงได้ริเริ่มนำยางพารามาแปรรูป

โดยขั้นตอนการผลิตแผ่นโฟมลาเท็กซ์จะใช้ยางพาราธรรมชาติเป็นส่วนผสมโดยล้วน

เริ่มจากการนำเนื้อยางเหลวที่เก็บมาจากต้นยาง นำมาตีเป็นโฟม เทใส่แม่พิมพ์ และ นำเข้าไปอบในเตาร้อนจัด สุดท้ายแผ่นโฟมจะถูกทำความสะอาด และทำให้เย็นลงเพื่อเซ็ทตัว

ลักษณะของโฟมลาเท็กซ์ที่ได้จากวิธีนี้ จะมีความแน่นด้านล่าง นุ่มด้านบน ทำให้เวลานอนช่วยคลายความตึงของกล้ามเนื้อตามส่วนต่างๆของร่างกายได้ดีเยี่ยม

วิธีทาลาเลย์ (Talalay)

ต่อมา วิธีที่ 2 คือ วิธีทาลาเลย์ (Talalay) ซึ่งมีขั้นตอน และส่วนผสมมากขึ้นมาหน่อย 

ในกระบวนการผลิตของวิธีทาลาเลย์  เนื้อยางเหลวถูกเทเข้าไปในกล่องที่สามารถปิดแน่นได้ เพื่อที่จะใช้แรงดูดภายนอกช่วยให้เนื้อยางขยายตัวข้างในได้สม่ำเสมอทั่วแผ่น หลังจากนี้ส่วนผสมจะถูกนำไปแช่แข็ง ก่อนถูกใส่เข้าไปในเตาอบร้อนจัด 

ผลที่ได้คือความหนาแน่นของยางที่น้อยกว่าจากแบบดันลอป ความนุ่มแน่นจะความสม่ำเสมอกันทั่วแผ่นลาเท็กซ์ วิธีการนี้จะเกิด ของเสียจากการผลิตมากกว่าวิธีแรก และใช้พลังงานทรัพยากรมากกว่าด้วย

วิธีทาลาเลย์ จะได้แผ่นลาเท็กซ์ที่นุ่มกว่าวิธีดันลอป โดยทั่วไปจะนำมาใช้เป็น pillowtop วางข้างบนที่นอน เมื่อเราพลิกตัวระหว่างคืน ที่นอนจะตอบสนองการเคลื่อนไหวของเรามากขึ้น แต่ก็ยังคงรักษารูปของมันไว้อยู่ ทำให้นอนแล้วไม่จม 

โดยหลัก ที่นอนลาเท็กซ์มีอยู่สองประเภท คือ :

ข้อดี-ข้อเสีย ของที่นอนยางพาราแท้ และ ที่นอนยางพาราผสม จะแตกต่างกันออกไป เกณฑ์การเลือกว่าแบบไหนที่เหมาะกับเรา ผู้นอนควรคำนึงถึงปัจจัยดังเช่น ความนุ่มแน่นที่ชอบ และ งบประมาณของเรา 

1. ที่นอนยางพาราแท้ 100%

ราคาของที่นอนยางพาราแท้สูงกว่าที่นอนที่ทำจากบรรดาใย/ผลผลิตอื่นๆจากธรรมชาติ อาทิเช่น ที่นอนใยมะพร้าว ที่นอนนุ่น 

ข้อดีของที่นอนจากยางพาราคือ มีความคงทน อายุการใช้งานยาว และไม่กักเก็บไรฝุ่น เป็นคุณสมบัติของโฟมลาเท็กแท้ ทำให้เหมาะกับผู้แพ้ฝุ่น หรือ มักsensitiveกับสารเคมีในของใช้ไกล้ตัว

ข้อดี

  • ยางพาราแท้จะมีรูพรุนทั่วแผ่นที่ตั้งใจทำใว้ในการผลิต ซึ่งทำหน้าที่ช่วยลดแรงกด จากการกดทับของร่างกายบนที่นอน 
  • ลดแรงสั่นสะเทือนจากการดิ้น พลิกตัวบนที่นอน เหมาะกับคู่รักที่แชร์เตียงนอน 
  • ทนทานต่อการใช้งานมากกว่าวัสดุฟองน้ำมาก หากดูแลดีอายุการใช้งานเกือบ 10 ปี 
  • ถูกสุขลักษณะเพราะไรฝุ่นและแบคทีเรียอยู่ไม่ได้ จึงเหมาะกับคนที่มีอาการแพ้ง่าย ผู้ที่มีอาการแพ้ลาเท็กซ์มีปริมาณน้อยมาก (แค่ 0.8% to 8.2% ในประชากรเท่านั้น)
  • เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะยางพารามาจากธรรมชาติ

ข้อเสีย

  • ที่นอนยางพาราใหม่ ใช้อาทิตย์แรกๆจะมีกลิ่นยางที่แรง ซึ่งจะค่อยๆหายไป
  • ที่นอนมีน้ำหนักเยอะ การเคลื่อนย้าย จะต้องใช้แรงจาก 3 คนขึ้นไป
  • ราคาสูง 

2. ที่นอนลาเท็กซ์แบบอัดแน่น 

มีราคาถูกกว่าแบบยางพาราแท้ แผ่นที่นอนลาเท็กแบบผสมเป็นการนำเศษยางพารา ที่เหลือจากการตัดแต่งส่วนเกินแผ่นลาเท็กซ์แท้ นำมาอัดรวมกันกับฟองน้ำชิ้นเล็กๆ กลิ่นของที่นอนจะไม่แรงเท่าแบบที่นอนพาราแท้ 

ข้อดี

  • สำหรับผู้ที่ชอบการนอนที่นอนแข็ง จะชื่นชอบที่นอนลาเท็กซ์ แบบอัดแน่น เพราะมีความแน่นกว่าที่นอนลาเท็กซ์ ยางพาราแท้
  • มีความคงตัวสูง ยืดหยุ่นน้อย ไม่ยุบง่าย ดังนั้นจะซัพพอร์ตผู้ใช้ที่น้ำหนักมาก 
  • ราคาไม่สูงนัก เหมาะกับผู้ที่อยากประหยัดงบ 

ข้อเสีย

  • มีน้ำหนักมากกว่าแบบยางพาราแท้ เนื่องจากมีความแน่นกว่า เคลื่อนที่ลำบาก
  • การใช้งานหลายปี อาจมีกลิ่นเหม็นอับ ระบายอากาศได้ไม่ดีเท่ายางพาราแท้ 
  • หากดูแลไม่ดี ที่นอนจะแตกตัวได้

 

สำหรับผู้ที่สนใจที่นอนลาเท็กซ์ สลีพเพ็นแนะนำ :

ที่นอนยางพาราแท้ และ ที่นอนยางอัด

Sleepen
Latex X5

ที่นอนยางพาราแท้ 100%

Sleepen NS

compressed latex, no backache 

ที่นอนลาเท็กซ์ไฮบริด (แบบผสม) มีแผ่นลาเท็กซ์ในชั้นพิลโล่ท็อป

Sleepen PLUS

  compact spring system with latex pillowtop
ชั้นพิลโล่ท็อปยางแท้

Sleepen
พ็อกเก็ต X5

  ที่นอนพ็อคเก็ตสปริง
 ชั้นพิลโล่ท็อปยางแท้

 

Facebook
Twitter
WhatsApp
Email
  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไรฝุ่น

นักวิจัย Carnegie Mellon เผยนอนน้อยเสี่ยงป่วยเป็นไข้หวัดมากถึง 3 เท่า

นักวิจัย Carnegie Mellon เผยนอนน้อยเสี่ยงป่วยเป็นไข้หวัดมากถึง 3 เท่า

Previous
Next

 หลายคนจำเป็นที่ต้องใช้ชีวิตในเวลากลางคืน เพราะหน้าที่การงานหรือเหตุผลอะไรก็ตาม แต่ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดทุกคนต่างรู้ดีว่า “การอดนอนหรือนอนหลับพักผ่อนไม่พอนั้น ส่งผลเสียต่อสุขภาพแน่ ดาร์ลิ่ง มีผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการนอนน้อยที่น่าสนใจมาบอก

นอนน้อยเสี่ยงเป็นหวัดได้มากปกติถึง 3 เท่า

              จากการศึกษาที่ตีพิมพ์โดย Archives of Internal Medicine นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Carnegie Mellon ใน Pittsburgh ได้ทำการศึกษาในชายและหญิงจำนวน 153 คน ที่มีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับระยะเวลาการนอนและประสิทธิภาพขณะนอนหลับ (โดยนับระยะเวลาของการนอนหลับที่เกิดขึ้นจริง) เป็นเวลา 14 วัน พบว่า ผู้ที่นอนหลับน้อยกว่า 7 ชั่วโมงต่อคืน มีแนวโน้มที่จะเป็นหวัดได้มากถึง 3 เท่า เมื่อเทียบกับคนปกติที่ได้นอนหลับประมาณ 8 ชั่วโมงต่อคืน

Previous
Next

               โดยผู้เข้าร่วมการทดลองจะถูกสังเกตและเก็บข้อมูล หลังจากการได้รับยาหยอดจมูกที่มีเชื้อหวัด Rhinovirus และสังเกตดูปฏิกิริยาต่อยาดังกล่าว 5 วัน จึงได้ข้อสรุปว่าไม่ใช่เพียงแค่ผู้ที่นอนหลับน้อยลงจะมีปฏิริยาที่ไวต่อไข้หวัดมากขึ้น ผู้เข้าร่วมการทดลองอื่นๆ ที่นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอก็มีโอกาสถึง 5.5 เท่า ที่จะป่วยเป็นไข้หวัดได้ง่ายกว่าปกติอีกด้วย

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยเกี่ยวกับ การไม่จามขณะที่นอนหลับอยู่

             ด็อกเตอร์ Fredric Neuman ตั้งข้อสังเกตุว่า ในขณะที่นอนหลับคนเราสามารถมีการไอเกิดขึ้นได้ แต่ไม่เคยมีการจาม ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายสาเหตุที่ยังไม่ได้รับคำตอบที่แน่ชัดนักในหมู่นักวิจัยด้านการนอนหลับ Fighting Fear ซึ่งเป็น Blog ด้านจิตวิทยา ของด็อกเตอร์ Fredric Neumon นำเสนอเรื่องที่น่าสนใจ ในขณะที่มีการนอนหลับสนิท ร่างกายของคนเราจะได้รับการป้องกันจากระบบร่างกายที่เรียกว่า Nighttime Predetors จึงทำให้การจามไม่เกิดขึ้นในขณะที่หลับ เพราะอาการจามจะทำให้เกิดการหยุดหายใจชั่วคราว ซึ่งในภาวะการนอนหลับจะถูกรบกวนและทำให้ตื่นได้

การนอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มที่

 มีความจำเป็นต่อการฟื้นฟู ซ่อมแซมส่วนของร่างกาย เราจึงต้องให้ความสำคัญกับนอนหลับอย่างมาก เพื่อที่จะได้ตื่นเช้ามาอย่างสดชื่น และพร้อมที่จะออกไปลุยได้ตลอดทั้งวัน โดยปราศจากความป่วยไข้

Facebook
Twitter
WhatsApp
Email
  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไรฝุ่น

นักวิจัยพบความลับของเสียงและการงีบหลับ มีส่วนช่วยพัฒนาสมองและความจำ

นักวิจัยพบความลับของเสียงและการงีบหลับ มีส่วนช่วยพัฒนาสมองและความจำ

เมื่อคนเราอายุมากขึ้นประสิทธิภาพด้านความจำก็มักจะเสื่อมถอยไปตามกาลเวลา

 มักเกิดอาการหลงๆ ลืมๆ ดังเช่นผู้สูงอายุชอบเป็นกัน ถ้าไม่อยากมีอาการหลงลืมการวัยอันควร 

การงีบหลับในระยะเวลาสั้นๆ ก็สามารถทำให้การจดจำดีขึ้นได้อีกด้วย

การทดลองจากเสียง

นักวิจัยได้ทำการทดลองโดยใช้เสียงจำนวน 25 เสียง ตั้งแต่เสียงผิวปาก เสียงกาต้มน้ำ จนกระทั่งเสียงร้องของแมว ในขณะที่ทำการทดลองผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะไม่ทราบเลยว่าจะได้ยินเสียงดังกล่าวในขณะที่หลับอยู่ และเมื่อพวกเขาตื่นขึ้นมาและจะได้รับการทดสอบเพื่อเก็บข้อมูล ซึ่งผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่าความทรงจำของพวกเขามีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น เนื่องจากผู้เข้าร่วมการทดลองจะรับการทดสอบโดยการจับคู่วัตถุกับเสียงที่มีความสอดคล้องกันด้วยคอมพิวเตอร์ 25 ภาพ ซึ่งสามาจับคู่วัตถุกับเสียงได้ถูกต้องอย่างมีมีนัยยะสำคัญ

 

                ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า แท้จริงแล้วคนเราไม่ได้อยู่ในสภาวะปิดการรับรู้ของเราทั้งหมดในขณะที่นอนหลับอยู่ โดย John Rudoy ได้ทำการศึกษาในระดับปริญญาเอกด้านประสาทวิทยาที่ Northwestern กล่าวเพิ่มเติบว่า ช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดสำหรับการรวมความทรงจำก็คือช่วงเวลาที่เรานอนนั้นเอง ดังเช่นผลจากการวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าเสียงสามารถแทรกซึมการนอนหลับลึกของเราได้ อีกทั้งเป็นการผลักดันและรวบรวมความทรงจำของคนเราให้ไปในทิศทางเดียว

การประมวลผลความทรงจำ

“ในขณะที่นอนหลับคนเราอาจจะกำลังประมวลผลความทรงจำถึงสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างวัน เช่น กินอะไรเป็นอาหารเช้า รายการโทรทัศน์ที่เขาดู หรืออะไรก็ตามแต่” โดย Ken Paller ศาสตราจารย์วิชาจิตวิทยาที่ Northwestern Weinberg วิทยาลัยศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ได้ตัดสินใจที่จะกระตุ้นความทรงจำของอาสาสมัครโดยการแนะนำให้พวกเขาเข้ารับการฝึกซ้อมและเรียนรู้เกี่ยวกับเสียงและความทรงจำเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันอีกด้วย

 

นอกจากนี้ถ้าต้องการที่จะปรับปรุงความจำ การงีบหลับช่วยคุณได้

“หากคุณกำลังเตรียมความพร้อมสำหรับการพรีเซ้นต์งานขนาด Big project บางทีคุณอาจจำเป็นที่ต้องใช้เวลาสำหรับการงีบหลับสักหน่อย” การวิจัยที่มหาวิทยาลัยซาร์ลันด์ ประเทศเยอรมนี ในการศึกษาด้านความทรงจำของสมอง โดยทำการทดลองจากอาสาสมัคร 41 คน พบว่า ในชั่วโมงของการงีบหลับ สามารถช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพหน่วยความจำของพวกเขาได้ถึง 5 เท่าเลยทีเดียว

การทำงานของสมองในระหว่างการนอนหลับ

สาเหตุที่การงีบหลับ สามารถช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพความทรงจำได้ เพราะฮิบโปแคมปัสของสมองซึ่งมีบทบาทสำคัญในการถ่ายโอน Consolidation หรือหน่วยความจำการเรียนรู้ข้อมูลลงในหน่วยความจำการเก็บข้อมูลของสมองหลังจากที่ได้เรียนรู้ มีประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้นภายหลังจากได้รับการงีบหลับ

                  นอกจากนี้ การทดสอบด้วยเครื่องวัดคลื่นสมอง พบว่า การนอนหลับ (1 ชั่วโมงขึ้นไป) ในระหว่างวันที่มากเกินไปไม่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานฮิบโปแคมบัสในการรับข้อมูลอีกด้วย

 

             นักวิจัยได้ทำการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อคลี่คลายกลไกของสมองที่แตกต่างกัน ระหว่างข้อมูลที่ถูกเก็บไว้ และข้อมูลที่ถูกลืมโดยการนอนหลับ อย่างไรก็ตามการงีบหลับในระยะสั้นๆ มีนัยสำคัญเพียงพอที่จะช่วยในการปรับปรุงกระบวนการความจำและเรียนรู้ของสมองที่มากพอ

 

 เห็นไหมล่ะว่า การนอนหลับนั้นดีต่อสุขภาพร่างกายขนาดไหน ทั้งฟื้นฟูซ่อมแซมส่วนต่างๆ ของร่างกาย อีกทั้งยังช่วยในเรื่องความจำอีกด้วย แต่ต้องระวังการนอนงีบหลับระหว่างวันที่มากเกินไป อาจทำให้ร่างกายเกิดอาการง่วงเหงาหาวนอนได้

  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไรฝุ่น

พฤติกรรมการนอนน้อย ส่งผลกระทบต่ออาการไมเกรนและปวดหลังที่รุนแรงขึ้น

พฤติกรรมการนอนน้อย ส่งผลกระทบต่ออาการไมเกรนและปวดหลังที่รุนแรงขึ้น

การนอนทำให้กล้ามเนื้อและอวัยวะทุกส่วนได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ พร้อมสำหรับการทำงานในวันต่อไป เมื่อนอนน้อยอาจส่งผลให้เกิดอาการอ่อนเพลีย ประสิทธิภาพในการดำเนินชีวิตต่ำลง ซึ่งมีงานวิจัยในต่างประเทศ พบว่าผู้ที่นอนน้อยเป็นประจำ อาจมีอายุสั้นกว่าคนที่นอนหลับปกติ อีกทั้งยังมีส่งผลกระทบต่ออาการไมเกรนและปวดหลังอีกด้วย

ปวดไมเกรนมีความสัมพันธ์กับการนอนหลับที่ผิดปกติ

พฤติกรรมการอดหลับอดนอน พักผ่อนไม่เพียงพออาจทำให้อาการปวดหัวไมเกรนรุนแรงมากขึ้น จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัย แห่งรัฐมิสซูรี ได้ทำการทดลองในกลุ่มหนูทดลอง ซึ่งจะถูกทำให้ไม่ได้นอนเป็นเวลา 3 คืนติดต่อกัน และกลุ่มหนูทดลองที่เหลือให้นอนหลับอย่างปกติ ซึ่งหนูที่ไม่ได้รับการนอนหลับจะเกิดภาวะระดับโปรตีนที่ต่ำ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบประสาท จากผลการทดลองนี้ นำไปสู่การข้อสรุปที่ชาวอเมริกันประมาณ 36 ล้านคน เผชิญกับอาการปวดหัวไมเกรนที่รุนแรงมากขึ้น และส่วนใหญ่มักมีอาการปวดไมเกรนอย่างน้อย 2-3 ครั้งต่อเดือน เพราะการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ

อาการปวดหัวไมเกรน ควรได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ

การนอนหลับที่เพียงพอเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากต่อผู้ที่มีอาการปวดหัวไมเกรน แต่ต้องไม่ใช่การนอนหลับที่มากเกินไปด้วย ดร. เดวิด Dodick ประธานสมาคมการปวดหัวของชาวอเมริกัน กล่าวใน WebMD ข่าวเกี่ยวกับสุขภาพว่า “หากผู้ที่มีอาการปวดหัวไมเกรน การตื่น 6 โมงเช้าในระหว่างสัปดาห์ คือวันจันทร์ ถึงวันศุกร์ และนอนตลอดวันเสาร์ เป็นสาเหตุสำคัญของอาการปวดหัวไมเกรนที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผู้มีอาการปวดหัวไมเกรนการนอนหลับพักผ่อนที่ตรงเวลาเป็นประจำ เป็นเรื่องสำคัญมาก ผู้ที่มีอาการปวดหัวไมเกรนจำเป็นต้องที่จะต้องนอนหลับพักผ่อนและตื่นในช่วงเวลาเดิมๆ ของทุกวัน แม้จะเป็นวันหยุดก็ตาม นั้นจึงเป็นเหตุผลสำคัญว่าทำไมทุกๆ วันหยุดมักจะมีอาการปวดหัวไมเกรนมากกว่าวันปกติ”

คุณภาพของการนอนหลับมีส่วนเชื่อมโยงกับอาการปวดหลังช่วงล่าง อย่างรุนแรงอีกด้วย

งานวิจัยเกี่ยวกับอาการปวดหลัง ซึ่งตีพิมพ์ในนิตยสาร โรคปวดข้อและวิทยารูมาติก ให้การแนะนำผู้ที่มีอาการปวดหลังช่วงล่าง เกี่ยวกับคุณภาพของการนอนหลับที่ดีว่ามีความเชื่อมโยงต่ออาการปวดหลังช่วงล่าง เป็นการศึกษาโดยตรงของด็อกเตอร์ Saad M.Alsaadi โรงพยาบาลคิงฟาฮ์ดมหาวิยาลัยใน ซาอุดิอาระเบีย และผู้ที่มีส่วนร่วมได้ทำการพิจารณาผลกระทบคุณภาพของการนอนหลับ ที่ส่งผลกระทบต่อการปวดหลังอย่างที่รุนแรงมากขึ้น โดยได้ทำการศึกษาผลกระทบของคุณภาพการนอนหลับ จากผู้ที่มีอาการปวดหลังอย่างรุนแรงจำนวน 1,246 คน นักวิจัยพบว่าการนอนหลับที่แย่ส่งผลผลกระทบต่อความปวดหลังแบบรุนแรง โดยคุณภาพการนอนหลับที่ลดลง อาจจะมีการเพิ่มขึ้นถึง 2.08 เท่าของอาการความปวดหลังแบบรุนแรง ซึ่งผลกระทบนี้ไม่เกี่ยวกับภาวะซึมเศร้า ผลลัพธ์ของงานวิจัยชี้ให้เห็นถึงการมีบทบาทสำคัญของการออกแบบที่นอนที่ดี เหมาะสมกับโครงสร้างของร่างกายของคนเราเพื่อการพักผ่อนที่ดี มีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งยังมีส่วนสำคัญต่อผู้ที่มีอาการปวดหลังช่วงล่าง ในการช่วยป้องกันและลดอาการปวดอีกด้วย

 

 

การนอนหลับพักผ่อนมีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตในแต่ละวันของเราอย่างมาก

การเลือกที่นอนที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่่ไม่ควรมองข้าม เพราะที่นอนที่ดีจะช่วยทำให้เรานอนหลับพักผ่อนได้อย่างเต็มที่ และตื่นขึ้นมาพร้อมกับสุขภาพที่ดี

Facebook
Twitter
WhatsApp
Email
  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไรฝุ่น