การนอนหลับพักผ่อน ช่วยชดเชยผลกระทบจากภาวะ Digital Brain Drain

Previous
Next

การปรับตัวให้สอดคล้องและก้าวทันตามเทคโนโลยีและกระแสสังคมที่เปลี่ยนไปเป็นสิ่งที่ดี แต่เมื่อมีการเสพติดสื่อดิจิตอลและสภาวะออนไลน์มากเกินพอดี ก็จะส่งผลต่อความสามารถในการทำงานและการใช้ชีวิตของคนเรา ซึ่งมีงานวิจัยมากมายที่บอกเป็นทางเดียวกันเลยว่า การถูกรบกวนด้วยสื่อออนไลน์เหล่านี้ ส่งผลต่อ IQ ของเรามากกว่าการเสพยาเสพติด วันนี้ที่นอน SLEEPEN จึงมีสาระความรู้เกี่ยวกับภาวะ Digital Brain Drain หรือ ภาวะสมองไหล มาบอกกันค่ะ

ผลกระทบจากภาวะ Digital Brain Drain

            การหลั่งไหลของอีเมล์ ข้อความ การอัพเดตข้อมูลจากสื่อออนไลน์ต่างๆ การค้นหาจากคอมพิวเตอร์ และการค้นหาข้อมูลบนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ไม่ได้ดึงแค่เวลาในชีวิตของคนเราไปอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงพลังงานของสมองเราอีกด้วย ทำให้ประสิทธิภาพลดน้อยลงและยังขัดขวางปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของเราไปอย่างไม่รู้ตัว นอกจากนี้สื่อจากต่างประเทศยังรายงานอีกว่า คนส่วนมากใช้เวลาในแต่ละวันหมดไปกับอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ ถึง 8 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อยอีกด้วย

Previous
Next

สื่อจากต่างประเทศรายงาน

             สื่อในต่างประเทศให้ความสนใจเกี่ยวกับผลกระทบภาวะสมองไหล โดย ดร.เจนนิเฟอร์ แอสตัน นักวิจัยแห่งวงการแพทย์ กล่าวว่า ค่าเฉลี่ยของ ชาวอเมริกัน ใช้เวลาส่วนมากหมดไปกับการเสพอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ เช่น โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ iPods และ Smartphone มากถึงวันละ 8 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย (ข้อมูลจากสำนักข่าวซีบีเอส) ซึ่งการรับเอาข้อมูลที่มากเกินไปย่อมส่งผลเสียต่อสมองอย่างแน่นอน

สมองถูกทำลาย

           นักวิจัยยังกล่าวอีกว่า การรับข้อมูลดิจิตอลที่มากเกินไป ส่งผลกระทบถึงความคิดและความประพฤติได้ ซึ่งบางครั้งอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น

 

            แต่ในขณะเดียวกันความสามารถต่อการมีสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆของเราจะถูกลดประสิทธิภาพเช่นกัน เพราะการได้รับข้อมูลที่มากเกินไปจากสื่อดิจิตอลนั้นเอง นอกจากนี้ แอสตันยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า สมองของคนเราจะเกิดการเสพติดเมื่อมีการกระตุ้นด้วยข้อมูลจากสื่อดิจิตอล ซึ่งเชื่อมโยงไปสู่ภาวะซึมเศร้าและปัญหาอื่นๆ ได้อีกด้วย และการแก้ไขปัญหาการเสพติดสื่อต่างๆ แอสตันได้ให้คำแนะนำวิธีไว้ดังนี้

คำแนะนำจากนักวิจัย

             ในแต่ละวันควรหยุดพักการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ ปิดอุปกรณ์และพูดคุยกับคนรอบข้าง หรืออาจออกไปเดินเล่นเพื่อผ่อนคลายบ้าง ลองนั่งสมาธิ เพื่อพักผ่อนจิตใจ จะสามารถช่วยฟื้นฟูอาการสมองเหนื่อยล้าได้ ออกกำลังกายเสียบ้าง เพื่อให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมองได้ดียิ่งขึ้น นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ เพื่อให้สมองได้พักผ่อนและซ่อมแซมตัวเอง

            เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่ดี เพราะสามารถช่วยให้การทำงานและการดำเนินชีวิตของคนในปัจจุบันง่ายขึ้น แต่ถึงอย่างไรก็ตามทุกอย่างควรอยู่บนความพอดี ไม่หักโหม ใช้งานมากจนเกินไป เพื่อสุขภาพร่างกายและจิตใจที่แข็งแรงสมบูรณ์

Facebook
Twitter
Email
WhatsApp
  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไรฝุ่น