พฤติกรรมการนอนน้อย ส่งผลกระทบต่ออาการไมเกรนและปวดหลังที่รุนแรงขึ้น

การนอนทำให้กล้ามเนื้อและอวัยวะทุกส่วนได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ พร้อมสำหรับการทำงานในวันต่อไป เมื่อนอนน้อยอาจส่งผลให้เกิดอาการอ่อนเพลีย ประสิทธิภาพในการดำเนินชีวิตต่ำลง ซึ่งมีงานวิจัยในต่างประเทศ พบว่าผู้ที่นอนน้อยเป็นประจำ อาจมีอายุสั้นกว่าคนที่นอนหลับปกติ อีกทั้งยังมีส่งผลกระทบต่ออาการไมเกรนและปวดหลังอีกด้วย

ปวดไมเกรนมีความสัมพันธ์กับการนอนหลับที่ผิดปกติ

พฤติกรรมการอดหลับอดนอน พักผ่อนไม่เพียงพออาจทำให้อาการปวดหัวไมเกรนรุนแรงมากขึ้น จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัย แห่งรัฐมิสซูรี ได้ทำการทดลองในกลุ่มหนูทดลอง ซึ่งจะถูกทำให้ไม่ได้นอนเป็นเวลา 3 คืนติดต่อกัน และกลุ่มหนูทดลองที่เหลือให้นอนหลับอย่างปกติ ซึ่งหนูที่ไม่ได้รับการนอนหลับจะเกิดภาวะระดับโปรตีนที่ต่ำ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบประสาท จากผลการทดลองนี้ นำไปสู่การข้อสรุปที่ชาวอเมริกันประมาณ 36 ล้านคน เผชิญกับอาการปวดหัวไมเกรนที่รุนแรงมากขึ้น และส่วนใหญ่มักมีอาการปวดไมเกรนอย่างน้อย 2-3 ครั้งต่อเดือน เพราะการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ

อาการปวดหัวไมเกรน ควรได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ

การนอนหลับที่เพียงพอเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากต่อผู้ที่มีอาการปวดหัวไมเกรน แต่ต้องไม่ใช่การนอนหลับที่มากเกินไปด้วย ดร. เดวิด Dodick ประธานสมาคมการปวดหัวของชาวอเมริกัน กล่าวใน WebMD ข่าวเกี่ยวกับสุขภาพว่า “หากผู้ที่มีอาการปวดหัวไมเกรน การตื่น 6 โมงเช้าในระหว่างสัปดาห์ คือวันจันทร์ ถึงวันศุกร์ และนอนตลอดวันเสาร์ เป็นสาเหตุสำคัญของอาการปวดหัวไมเกรนที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผู้มีอาการปวดหัวไมเกรนการนอนหลับพักผ่อนที่ตรงเวลาเป็นประจำ เป็นเรื่องสำคัญมาก ผู้ที่มีอาการปวดหัวไมเกรนจำเป็นต้องที่จะต้องนอนหลับพักผ่อนและตื่นในช่วงเวลาเดิมๆ ของทุกวัน แม้จะเป็นวันหยุดก็ตาม นั้นจึงเป็นเหตุผลสำคัญว่าทำไมทุกๆ วันหยุดมักจะมีอาการปวดหัวไมเกรนมากกว่าวันปกติ”

คุณภาพของการนอนหลับมีส่วนเชื่อมโยงกับอาการปวดหลังช่วงล่าง อย่างรุนแรงอีกด้วย

งานวิจัยเกี่ยวกับอาการปวดหลัง ซึ่งตีพิมพ์ในนิตยสาร โรคปวดข้อและวิทยารูมาติก ให้การแนะนำผู้ที่มีอาการปวดหลังช่วงล่าง เกี่ยวกับคุณภาพของการนอนหลับที่ดีว่ามีความเชื่อมโยงต่ออาการปวดหลังช่วงล่าง เป็นการศึกษาโดยตรงของด็อกเตอร์ Saad M.Alsaadi โรงพยาบาลคิงฟาฮ์ดมหาวิยาลัยใน ซาอุดิอาระเบีย และผู้ที่มีส่วนร่วมได้ทำการพิจารณาผลกระทบคุณภาพของการนอนหลับ ที่ส่งผลกระทบต่อการปวดหลังอย่างที่รุนแรงมากขึ้น โดยได้ทำการศึกษาผลกระทบของคุณภาพการนอนหลับ จากผู้ที่มีอาการปวดหลังอย่างรุนแรงจำนวน 1,246 คน นักวิจัยพบว่าการนอนหลับที่แย่ส่งผลผลกระทบต่อความปวดหลังแบบรุนแรง โดยคุณภาพการนอนหลับที่ลดลง อาจจะมีการเพิ่มขึ้นถึง 2.08 เท่าของอาการความปวดหลังแบบรุนแรง ซึ่งผลกระทบนี้ไม่เกี่ยวกับภาวะซึมเศร้า ผลลัพธ์ของงานวิจัยชี้ให้เห็นถึงการมีบทบาทสำคัญของการออกแบบที่นอนที่ดี เหมาะสมกับโครงสร้างของร่างกายของคนเราเพื่อการพักผ่อนที่ดี มีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งยังมีส่วนสำคัญต่อผู้ที่มีอาการปวดหลังช่วงล่าง ในการช่วยป้องกันและลดอาการปวดอีกด้วย

 

 

การนอนหลับพักผ่อนมีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตในแต่ละวันของเราอย่างมาก

การเลือกที่นอนที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่่ไม่ควรมองข้าม เพราะที่นอนที่ดีจะช่วยทำให้เรานอนหลับพักผ่อนได้อย่างเต็มที่ และตื่นขึ้นมาพร้อมกับสุขภาพที่ดี

Facebook
Twitter
WhatsApp
Email
  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไรฝุ่น