อันตราย! นอนหลับไม่เพียงพอ ส่งผลระบบภูมิคุ้มกันต่ำ เสี่ยงเจ็บป่วยง่าย
ยุคสมัยที่เปลี่ยนไปคนเราจึงหันไปใช้เวลาทำอย่างอื่นแทนการนอนหลับพักผ่อน
เช่น ดูหนัง ฟังเพลง เล่นโทรศัพท์ แชทคุยกับเพื่อนๆ หรือทำกิจกรรมต่างๆ นานา แล้วนำมาซึ่งข้ออ้างว่าไม่มีเวลานอนหลับพักผ่อน ด้วยความคิดที่ว่าการนอนหลับพักผ่อนนั้นไม่มีความจำเป็น เดี๋ยวค่อยนอนก็ได้ ซึ่งความคิดเหล่านี้สวนทางกับการดูแลรักษาสุขภาพที่ดีอย่างสิ้นเชิง
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์
คนเราใช้เวลาถึงหนึ่งในสามของชีวิตไปกับการนอนหลับพักผ่อน ซึ่งเป็นช่วงเวลาในการพักผ่อนที่ดีที่สุด เพราะอีกสองส่วนของชีวิตที่เหลือ คือการลืมตาทำกิจกรรมต่างๆ ของแต่ละวัน ซึ่งพฤติกรรมการใช้ชีวิตย่อมสร้างภาระให้กับร่างกายและสมอง ดังนั้นการใช้เวลาพักผ่อนอย่างเต็มที่ และเพียงพอในแต่ละวัน จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก โดยเฉลี่ยคนเราควรนอนอย่างน้อย 6-7 ชั่วโมงต่อคืน หากน้อยกว่านี้ย่อมเป็นการทำให้เสียสุขภาพของตัวเองทั้งทางตรงคือ ประสิทธิภาพการใช้ชีวิตและการทำงานต่ำลง และทางอ้อมคือโรคภัยความเจ็บป่วยในระยะยาว
ประโยชน์มหาศาลจากการนอนหลับ
จากงานวิจัยของ เดนนิส แม็คกินตี้ นักวิจัยประสาทวิทยาของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในลอสแองเจลีส บอกว่าการนอนสามารถช่วยลดอุณหภูมิของร่างกาย โดยมีสมองส่วนหนึ่งจะทำหน้าที่สั่งการให้เราหลับเมื่อระดับอุณหภูมิในร่างกายสูงเกินควร และส่งผลกระทบไปยังสมอง ทฤษฏีนี้พิสูจน์ได้อย่างง่ายๆ โดยการสังเกตจากการออกกำลังกาย เช่น วิ่งหรือเล่นฟุตบอลในวันที่ร้อนจัดไม่นานก็อาจจะเป็นลม เช่นเดียวกับนักกีฬาที่ออกกำลังกายอย่างหักโหมจะต้องใช้เวลาในการนอนพักผ่อนมากกว่าคนปกติ เนื่องด้วยอุณหภูมิในร่างกายสูงผิดปกติ ทำให้ประสาทส่วนรับความร้อนภายในสั่งการให้ระบบดูดซึมอาหารทำงานช้าลงด้วยการทำให้รู้สึกง่วงนอน และหลังจากนั้นระดับอุณหภูมิก็จะลดต่ำลงเป็นปกติ
ฟื้นฟูระบบการทำงานของสมอง
นอกจากมีประโยชน์ต่อร่างกายแล้ว การนอนหลับยังสามารถส่งผลดีต่อสมองอีกด้วย เนื่องจากสมองเป็นอวัยวะชิ้นสำคัญของคนเราแม้จะมีขนาดเล็กแต่ว่าสามารถนำพลังงานสะสมภายในร่างกายไปใช้ถึง 20% ในแต่ละวัน ซึ่งหากเรานอนหลับให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ระบบจัดเก็บความทรงจำหรือระบบประสาทจะถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเราหลับสนิทลึกถึงขั้นฝัน
เพราะจากงานวิจัยทางสมองพบว่า ความฝันเป็นอีกหนึ่งกระบวนการจัดเก็บข้อมูล โดยฉายภาพประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในตอนที่ตื่นเพื่อจัดเก็บข้อมูลเหล่านั้น เป็นการเชื่อมต่อเซลล์ประสาทของสมองเพื่อเก็บเป็นความทรงจำถาวร โดยอวัยวะที่ทำหน้าที่ดังกล่าว มีชื่อว่า ฮิปโปแคมปัส จะทำหน้าที่ถ่ายโอนข้อมูลที่เรียนรู้ในระหว่างวันเข้าสู่ความทรงจำระยะยาวตอนที่เราหลับเท่านั้นและจะทำงานได้ดียิ่งขึ้นไปอีกเมื่อเรานอนหลับอย่างเพียงพอ
ผลร้ายจากการ อดนอน
อัตราการพักผ่อนของร่างกายคนเรามีความแตกต่างกัน ซึ่งผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงและสุขภาพสมบูรณ์อาจต้องการพักผ่อนเพียง 5 ชั่วโมงต่อคืนก็เพียงพอแล้ว แต่ในบางคนต้องใช้เวลานอนอย่างน้อย 7-8 ชั่วโมง ร่างกายจึงจะพักผ่อนได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นถ้าหากพักผ่อนไม่เพียงพอ ร่างกายจะเกิดอาการง่วงนอน ซึมเซาตลอดทั้งวัน อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย ประสิทธิภาพในการทำงานและใช้ชีวิตต่ำลง อาจมีอาการหลับใน ซึ่งเป็นอันตรายอย่างมากถ้าหากต้องขับขี่ยานพาหนะ
ร่างกายทรุดโทรม เสียสมดุล
นอกจากจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการดำเนินชีวิตที่ต่ำแล้ว หากทำติดต่อกันจนกลายเป็นกิจวัตรประจำวันร่างกายจะส่งผลเสียในระยะยาว ได้แก่ ระบบภายในร่างกายจะเริ่มเกิดการแปรปรวนและสูญเสียความสมดุล โดยเฉพาะระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดย แครอล อีเวอร์สัน นักจิตวิทยาสังคมที่มหาวิทยาลัยแห่งเทนเนสซี ได้ค้นพบว่าหากมีการอดนอนติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานหนักขึ้นในช่วงแรก เลือดจะมีเม็ดโลหิตขาวเพิ่มขึ้นและเกิดการสลายตัวทำให้ความสามารถในการต้านทานเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสของร่างกายต่ำลงเกิดอาการเจ็บป่วยได้ง่าย โดยเฉพาะผู้หญิงจะสูญเสียความอ่อนวัยอย่างรวดเร็ว เกิดความร่วงโรยแห่งวัยตามใบหน้า รูปร่าง เช่น ริ้วรอยและสิวต่างๆ อาการดวงตาหมองคล้ำ ผิวหน้าเหี่ยวเฉาและมีอาการอิดโรยอย่างเห็นได้ชัดจากการอดนอน ดังนั้นจึงไม่ใช่ความคิดที่ดีนักหากฝืนอดนอนและพักผ่อนน้อย

ส่งเสริมการพักผ่อนที่มีประสิทธิภาพ
Sleepen มีความเชี่ยวชาญในการผลิตที่นอน ผลิตจากเทคโนโลยีและวัสดุที่มีคุณภาพเยี่ยม ด้วยลักษณะการดำเนินชีวิตของคนในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในวัยเรียน และวัยทำงาน ต่างละเลยและไม่ให้ความสำคัญต่อการนอนหลับพักผ่อน ซึ่งเป็นค่านิยมที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้นควรรู้จักแบ่งเวลาการใช้ชีวิตและการนอนหลับให้มีความพอเหมาะ พอดี เพื่อการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข พร้อมด้วยสุขภาพที่ดีของตัวเราเอง
- All
- ที่นอนผู้สูงอายุ
- ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
- พฤติกรรมการนอนน้อย
- ภูมิแพ้
- ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
- วิธีดูแลตัวเอง
- วิธีเลือกที่นอน
- อาการจาม
- โรคจมูกอักเสบ
- ไรฝุ่น

ผ้ารองกันเปื้อนกับท็อปเปอร์ต่างกันยังไง? มาเปรียบเทียบให้ดูชัดๆกันเลย

ใช้เวลากับครอบครัวนอกบ้านอย่างไร ให้ปลอดภัยจากโควิด

อาการภูมิแพ้ อาการจาม ในตอนเช้า เกิดจากอะไร ?

ที่นอนยางพารา หรือ ที่นอนลาเท็กซ์

ความเครียดส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร

มันบุกมาแล้ว ไรฝุ่น และ ตัวเรือด EP 2

งานวิจัยโควิดชี้แนะ วิธีเลี่ยงการติดเชื้อกันภายในรถ

มันบุกมาแล้ว เมื่อเชื้อโรคและสารพัดสัตว์ บุกที่นอนของคุณ ep 1

เปิดความจริง ที่นอนนำเข้า ที่นอนใส่กล่อง

อยากใช้เครื่องนอนผ้าคอตต้อน รู้ไหมอันไหนจริง อันไหนย้อมแมว

ภูมิแพ้เกิดจากมูลของไรฝุ่น มีของแถมเป็นเชื้อรา ด้วยจ้า

ตัว(ไร) อ่ะ?!? หน้าฝนนี้ ใช้เครื่องนอนต้านไรฝุ่น ต้านไวรัส โอกว่า

อาการภูมิแพ้และไรฝุ่น มีความเกี่ยวข้องกับที่นอนอย่างไร

ต้นไม้ ลดไรฝุ่น สำหรับคนเป็นภูมิแพ้

เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุ การเลือกที่นอนให้เหมาะสม จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก
