อาการหลับยาก ทำอย่างไรดี

แก้ไขปัญหานอนหลับยาก ตื่นไม่เป็นเวลา ด้วยวิธีแสนง่ายจนคุณคิดไม่ถึงเลยเชียวล่ะ

แก้ไขปัญหานอนหลับยาก ตื่นไม่เป็นเวลา ด้วยวิธีแสนง่ายจนคุณคิดไม่ถึงเลยเชียวล่ะ

Previous
Next

เพื่อทำให้ระบบการทำงานต่างๆ ภายในร่างกายได้ฟื้นตัว เป็นไปอย่างเป็นปกติ ระยะเวลาของการนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอ จึงมีความสำคัญต่อร่างกานอย่างมาก อีกทั้งยังส่งผลต่อสภาพจิตใจ ช่วยทำให้จิตใจแจ่มใสเบิกบาน ดังนั้นการได้นอนหลับอย่างสนิทเต็มตื่น เป็นเรื่องที่ควรใส่ใจอย่างมาก

ภาวะนอนไม่หลับเรื้อรัง

           จะมีความวิตกกังวลและเครียดได้ง่ายกว่าผู้ที่นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ อย่างไรก็ตาม อาการนอนไม่หลับและวิตกกังวล ตึงเครียด สามารถลดลงและหายไปได้ หากมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอนหลับ ให้มีพฤติกรรมที่ส่งเสริมในการนอนหลับพักผ่อนได้อย่างสนิทตลอดคืน ดังนี้

ปรับเปลี่ยนเวลาพักผ่อน

เริ่มต้นจาก การเข้านอน และ ตื่นนอนให้เป็นเวลา และตื่นนอนในช่วงเวลาเดิมๆ เพือเป็นการทำให้ร่างกายจดจำและเกิดความเคยชิน หากในวันที่ต้องนอนดึกด้วยภาระหน้าที่ ธุระบางอย่าง จนต้องนอนดึกกว่าปกติ ก็ควรพยายามตื่นให้ในช่วงเวลาเดิม แม้จะได้นอนน้อยกว่าปกติและเกิดอาการ ง่วงหงาว หาวนอน บ้างในระหว่างวัน แต่เมื่อถึงเวลาปกติ ในการนอนหลับพักผ่อนร่างกายก็จะหลับได้อย่างรวดเร็ว เพราะร่างกายเกิดการจดจำพฤติกรรมการนอนหลับ และตื่นนอนแบบนี้แล้ว

ลุกจาก ที่นอน ทันทีหลังจากตื่น

หลังจากเสียงนาฬิกาปลุกดังขึ้น พฤติกรรมยอดฮิตคนส่วนใหญ่มักจะเป็นการขอนอนต่อสัก 5 นาที 10 นาที หรือถ้าบางคนนอนเพลินหน่อยก็อาจยาวเป็นชั่วโมงๆ เลยก็ได้ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ควรปรับเปลี่ยนโดยด่วน

เป็นการลุกจากที่นอนทันที เปิดหน้าต่างให้ดวงตาของเราได้รับแสงสว่างในช่วงเช้า เพราะแสงสว่างจะการส่งสัญญาณให้ระบบต่างๆ ภายในร่างกายตื่นตัวและทำกายบริหารเบาๆ สัก 10-15 นาที ให้เหงื่อออกพอซึมๆ ซึ่งจะเป็นตัวช่วยทำให้สมองและร่างกายตื่นตัวอย่างเต็มที่พร้อมสำหรับการดำเนินชีวิต ก่อนอาบน้ำแต่งตัวปฏิบัติภารกิจธุระต่างๆ ของวันต่อไป

หลีกเลี่ยงการงีบหลับระหว่างวัน

แม้จะดูเป็นเรื่องที่ดีในการได้งีบหลับระหว่างวัน แต่ก็แลกมาด้วยผลเสียด้วยเช่นกัน เพราะการงีบหลับระหว่างวัน (ที่มากเกินไป) จะเป็นการรบกวนการนอนหลับพักผ่อนในเวลากลางคืน แต่สำหรับผู้ที่ง่วงมาก จนรู้สึกว่าทนไม่ไหวแล้วอาจงีบหลับระหว่างวันได้ แต่ต้องเป็นเพียงแด่ระยะเวลาสั้นๆ ประมาณไม่เกิน 20 นาที ก็จะสามารถช่วยทำให้คลายจากความง่วงได้

ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

กีฬาๆ เป็นยาวิเศษ เป็นคำพูดที่เรามักจะได้ยินมาตั้งแต่เด็กๆ แต่น้อยคนนักที่จะใส่ใจ และตระหนักถึงคุณประโยชน์ของการกีฬาจริงๆ ซึ่งพฤิตกรรมการนอนไม่หลับ นอนหลับยาก สามารถแก้ได้ด้วยการเล่นกีฬา ออกกำลังกายเช่นกัน เช่น การเดินเร็ว ปั่นจักรยาน วิ่ง เต้นแอโรบิคก็ได้ อย่างน้อย 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์

จะเป็นช่วงเวลาเช้าตรู่หรือตอนเย็นหลังเลิกงานก็ได้ เพราะการออกกำลังกายนี้ จะเป็นตัวช่วยลดความเครียดจากการใช้ชีวิต ทำงานมาตลอดทั้งวัน นอกจากนี้ ยังถือเป็นยานอนหลับชั้นเลิศอีกด้วย เพราะหลังจากออกกำลังกายแล้ว ร่างกายจะรู้สึกอ่อนเพลีย ดังนั้นเมื่อหัวถึงหมอนเมื่อไหร่ รับรองว่าคุณจะหลับสนิทจนเช้าวันใหม่อย่างแน่นอน

เพื่อการนอนหลับพักผ่อนที่ดียิ่งขึ้น

          “ ด้วยที่นอน SLEEPEN เป็นที่นอนแบบสปริง มีความยืดหยุ่นและทนทาน วงสปริงผ่านการอบด้วยความร้อนสูง ให้คุณได้สัมผัสแห่งการนอนหลับสนิทตลอดคืน นุ่มสบายในทุกอิริยาบถ”

          การเลือกใช้ที่นอนที่ดี เหมาะสม มีคุณภาพย่อมส่งผลต่อการนอนหลับพักผ่อนที่ดีด้วย เพราะการได้นอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มอิ่ม จะช่วยทำให้การตื่นนอน เป็นไปด้วยความสดชื่น ปราศจากความอ่อนเพลีย พร้อมสำหรับการเริ่มต้นวันใหม่ด้วยกำลังใจ และพลังงานที่เต็มเปี่ยมอีกด้วย

Facebook
Twitter
WhatsApp
Email
  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไรฝุ่น

การนอนหลับพักผ่อน ช่วยชดเชยผลกระทบจากภาวะ Digital Brain Drain

การนอนหลับพักผ่อน ช่วยชดเชยผลกระทบจากภาวะ Digital Brain Drain

Previous
Next

การปรับตัวให้สอดคล้องและก้าวทันตามเทคโนโลยีและกระแสสังคมที่เปลี่ยนไปเป็นสิ่งที่ดี แต่เมื่อมีการเสพติดสื่อดิจิตอลและสภาวะออนไลน์มากเกินพอดี ก็จะส่งผลต่อความสามารถในการทำงานและการใช้ชีวิตของคนเรา ซึ่งมีงานวิจัยมากมายที่บอกเป็นทางเดียวกันเลยว่า การถูกรบกวนด้วยสื่อออนไลน์เหล่านี้ ส่งผลต่อ IQ ของเรามากกว่าการเสพยาเสพติด วันนี้ที่นอน SLEEPEN จึงมีสาระความรู้เกี่ยวกับภาวะ Digital Brain Drain หรือ ภาวะสมองไหล มาบอกกันค่ะ

ผลกระทบจากภาวะ Digital Brain Drain

            การหลั่งไหลของอีเมล์ ข้อความ การอัพเดตข้อมูลจากสื่อออนไลน์ต่างๆ การค้นหาจากคอมพิวเตอร์ และการค้นหาข้อมูลบนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ไม่ได้ดึงแค่เวลาในชีวิตของคนเราไปอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงพลังงานของสมองเราอีกด้วย ทำให้ประสิทธิภาพลดน้อยลงและยังขัดขวางปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของเราไปอย่างไม่รู้ตัว นอกจากนี้สื่อจากต่างประเทศยังรายงานอีกว่า คนส่วนมากใช้เวลาในแต่ละวันหมดไปกับอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ ถึง 8 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อยอีกด้วย

Previous
Next

สื่อจากต่างประเทศรายงาน

             สื่อในต่างประเทศให้ความสนใจเกี่ยวกับผลกระทบภาวะสมองไหล โดย ดร.เจนนิเฟอร์ แอสตัน นักวิจัยแห่งวงการแพทย์ กล่าวว่า ค่าเฉลี่ยของ ชาวอเมริกัน ใช้เวลาส่วนมากหมดไปกับการเสพอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ เช่น โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ iPods และ Smartphone มากถึงวันละ 8 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย (ข้อมูลจากสำนักข่าวซีบีเอส) ซึ่งการรับเอาข้อมูลที่มากเกินไปย่อมส่งผลเสียต่อสมองอย่างแน่นอน

สมองถูกทำลาย

           นักวิจัยยังกล่าวอีกว่า การรับข้อมูลดิจิตอลที่มากเกินไป ส่งผลกระทบถึงความคิดและความประพฤติได้ ซึ่งบางครั้งอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น

 

            แต่ในขณะเดียวกันความสามารถต่อการมีสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆของเราจะถูกลดประสิทธิภาพเช่นกัน เพราะการได้รับข้อมูลที่มากเกินไปจากสื่อดิจิตอลนั้นเอง นอกจากนี้ แอสตันยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า สมองของคนเราจะเกิดการเสพติดเมื่อมีการกระตุ้นด้วยข้อมูลจากสื่อดิจิตอล ซึ่งเชื่อมโยงไปสู่ภาวะซึมเศร้าและปัญหาอื่นๆ ได้อีกด้วย และการแก้ไขปัญหาการเสพติดสื่อต่างๆ แอสตันได้ให้คำแนะนำวิธีไว้ดังนี้

คำแนะนำจากนักวิจัย

             ในแต่ละวันควรหยุดพักการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ ปิดอุปกรณ์และพูดคุยกับคนรอบข้าง หรืออาจออกไปเดินเล่นเพื่อผ่อนคลายบ้าง ลองนั่งสมาธิ เพื่อพักผ่อนจิตใจ จะสามารถช่วยฟื้นฟูอาการสมองเหนื่อยล้าได้ ออกกำลังกายเสียบ้าง เพื่อให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมองได้ดียิ่งขึ้น นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ เพื่อให้สมองได้พักผ่อนและซ่อมแซมตัวเอง

            เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่ดี เพราะสามารถช่วยให้การทำงานและการดำเนินชีวิตของคนในปัจจุบันง่ายขึ้น แต่ถึงอย่างไรก็ตามทุกอย่างควรอยู่บนความพอดี ไม่หักโหม ใช้งานมากจนเกินไป เพื่อสุขภาพร่างกายและจิตใจที่แข็งแรงสมบูรณ์

Facebook
Twitter
Email
WhatsApp
  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไรฝุ่น

จุดเริ่มต้นของสุขภาพที่ดี เริ่มต้นจากการนอนหลับ

จุดเริ่มต้นของสุขภาพที่ดี หรือการเกิดโรคร้ายนั้น เริ่มต้นจากการนอนหลับ

         นอนดึก นอนน้อย นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ นอนแบบนี้ระวังกันให้ดีๆ  เพราะนี่อาจเป็นสาเหตุที่นำมาซึ่งสัญญาณอันตรายของโรคร้าย ที่อาจทำให้คุณกลายเป็นคนป่วยโดยไม่รู้ตัว ซึ่งผลเสียของการนอนพักผ่อนไม่เพียงพอ จากการวิจัยหลายสถาบัน ต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันเลยว่า ส่งผลกระทบร้ายต่อสุขภาพร่างกายอย่างมาก

งานวิจัย มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย

          ผู้ที่มีค่าเฉลี่ยชั่วโมงการนอนเพียงแค่ 4.5 ชั่วโมงในแต่ละคืน ติดต่อกันเป็นระยะเวลายาว 1 สัปดาห์ มีแนวโน้มที่จะเป็นคนที่มีอารมณ์แปรปรวนมากกกว่าคนที่มีการนอนประมาณ 7 ชั่วโมงต่อคืน โดยที่อารมณ์แปรปรวนเหล่านี้ จะมีผสมไปด้วยความรู้สึกเครียด เศร้า ท้อแท้ โมโห และหงุดหงิด ซึ่งธรรมชาติของคนเราสามารถควบคุม

           การแสดงออกทางอารมณ์ได้ค่อนข้างดีเป็นปกติอยู่แล้ว แต่ถ้าหากเมื่อใดเกิดการพักผ่อนที่น้อยเกินไป ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ย่อมส่งผลทำให้ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ลดน้อยลง และส่งผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพร่างกายอีกด้วย

Previous
Next

อาการปวดหัว

           แม้ว่าจะยังไม่มีนักวิจัยยืนยันว่าการนอนน้อย เป็นสาเหตุหลักของการเกิดอาการปวดหัว แต่ยังมีปัจจัยบางอย่างที่สามารถอธิบายได้ถึงภาวะดังกล่าว

          เพราะการนอนน้อยจะทำให้เลือดไปหล่อเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ส่งผลอย่างมีนัยยะสำคัญต่ออาการปวดหัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่มีโรคประจำตัว เช่น ไมเกรน จึงมีโอกาสสูงที่จะเกิดอาการปวดหัวกำเริบ ได้ง่ายกว่าคนที่ไม่ได้เป็นโรคไมเกรน อย่างไร 36-58% ของคนที่นอนไม่หลับ หรือพักผ่อนไม่พอ จะมีอาการปวดหัวหลังจากตื่นนอนด้วยเช่นกัน

อัตราการเป็นโรคหัวใจที่มากขึ้น

          นักวิจัยได้ทำการทดลองกับกลุ่มอาสาสมัครที่ไม่ได้นอนหลับเลยเป็นเวลาถึง 88 ชั่วโมง ผลลัพธ์ที่ได้คือผู้ที่ไม่ได้นอนหลับเหล่านั้น มีระดับความดันโลหิตที่สูงมากๆ และเมื่อให้กลุ่มอาสาสมัครนอนหลับประมาณ 4 ชั่วโมงต่อ 1 คืน ผลลัพธ์ที่ได้คืออัตราการเต้นของหัวใจกลับมาอยู่ในระดับที่ปกติ โดยค่าเฉลี่ยการเต้นของหัวใจใกล้เคียงกับคนที่ได้นอนปกติประมาณ 6-8 ชั่วโมง และสิ่งที่มีผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจ ได้แก่ สารโปรตีนที่จะมีการสะสมตัวมากขึ้นในขณะที่เราตื่นนอน และจะถูกขับออกจากร่างกายโดยธรรมชาติเมื่อเรานอนหลับ ดังนั้นการอดนอนหรือนอนน้อยสะสมเป็นระยะนาน จึงมีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้ง่ายกว่าคนที่นอนหลับพักผ่อนอย่างเป็นปกตินั้นเอง

เจ็บป่วยเป็นหวัดได้ง่าย

    การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ มีผลทำให้ร่างกายเป็นไข้หวัดบ่อยมากกว่าปกติ เพราะร่างกายมีภูมิต้านทานโรคต่ำลง โดยงานวิจัยจากหลายสถาบันเปิดเผยว่า ผู้ที่นอนน้อยกว่า 7 ชั่วโมงต่อคืน มีโอกาสป่วยมากกว่าผู้ที่นอนเกิน 8 ชั่วโมงต่อคืน ถึง 3 เท่าเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ที่นอนหลับยากมีโอกาสป่วยง่ายกว่า ผู้ที่นอนหลับง่ายมากถึง 5.5 เท่าอีกด้วย

ระบบย่อยอาหารเริ่มมีปัญหา

    งานวิจัยในต่างประเทศพบว่า ชาวอเมริกันราว 250 คน ที่มีพฤติกรรมการนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ กลายเป็นผู้ป่วยโรค IBD หรือเรียกว่า โรคกลุ่มอาการลำไส้อักเสบเรื้อรัง ซึ่งมีผู้ป่วย 10-15% ป่วยเป็นโรคโครห์น Crohn’s disease มีลักษณะอาการ ได้แก่ มีการท้องเสียปนเลือดบางครั้ง รู้สึกปวดท้องจากการอักเสบของลำไส้ น้ำหนักลด ท้องอืด อาเจียน ซึ่งถึงแม้ว่าจะสามารถรักษาให้หายได้  แต่ก็มีโอกาสกลับมาเป็นใหม่ได้อีก ถ้าหากร่างกายมีการพักผ่อนไม่เพียงพอ

โอกาสเสี่ยงเป็นโรคมะเร็ง

นักวิจัยบางส่วนได้ตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่า โรคมะเร็งบางชนิดสามารถกำเริบได้หากมีพฤติกรรมการนอนที่ไม่เพียงพอ เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ โดยจากการวิจัยของมหาวิทยาลัย Tohoku ในประเทศญี่ปุ่น ได้ทำการเก็บข้อมูลจาก 24,000 คน พบว่าผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 40-79 ปี และมีพฤติกรรมการนอนที่น้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อคืน มีภาวะเสี่ยงมากถึง 62% ที่จะเป็นมะเร็งเต้านม ในขณะที่กลุ่มคนที่มีพฤติกรรมการนอนมากกว่า 9 ชั่วโมงต่อคืน มีความเสี่ยงเพียงแค่ 28% และอีกหนึ่งงานวิจัยที่ได้จากการศึกษาคนจำนวน 1,240 พบว่าผู้ที่นอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อคืน มีโอกาสการเป็นมะเร็งลำไส้มากกว่าคนที่นอนหลับอย่างเป็นปกติมากถึง 47%  อีกด้วย

          การนอนหลับพักผ่อน ถือว่ามีปัจจัยสำคัญมากที่จะส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย ถ้าหากร่างกายเกิดการพักผ่อนไม่เพียงพอ อาจหมายถึงการบั่นทอนของอายุขัยให้สั้นลงได้อีกด้วย ดังนั้นการนอนหลับพักผ่อนอย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงต่อคืน ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการมีสุขภาพที่ดี นอกเหนือจากการออกกำลังกาย และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

Facebook
Twitter
WhatsApp
Email
  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไรฝุ่น