ไขความลับ การนอนเปลี่ยนชีวิต

การอดนอน คร่าชีวิตเราได้หรือไม่

การอดนอน คร่าชีวิตเรา ได้หรือไม่

        ผลลัพธ์จากการนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอ ผ่านการพิสูจน์มาแล้วว่าว่า การนอนเป็นยารักษาชีวิตให้ยืนยาว และในขณะตรงกันข้าม การอดนอน สามารถคร่าชีวิตคุณให้สั้นลงได้เช่นกัน

จากหนังสือ Why We Sleep ของคุณแมตธิว วอล์กเกอร์

    ศาสตราจารย์ด้านประสาทวิทยาศาสตร์และจิตวิทยา ควบตำแหน่ง ผอ.ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์การนอนหลับของมนุษย์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ได้มีเคสตัวอย่างที่ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติทางพันธุกรรมที่พบได้ในรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเริ่มต้นจากโรคนอนไม่หลับที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ โดยปรากฎในวัยกลางคน  หลังจากมีอาการโรคนี้หลายเดือน ผู้ป่วยจะหยุดนอนหลับอย่างสิ้นเชิง เมื่อถึงขั้นนี้ พวกเขาจะเริ่มสูญเสียการทำงานพื้นฐานของสมองและร่างกายไป

         

หลังจากอดนอนอย่างสิ้นเชิง 12 -18 เดือน ผู้ป่วยจะเสียชีวิต แม้กรณีเช่นนี้จะพบได้น้อยเหลือเกิน แต่ทว่าความผิดปกติดังกล่าวก็ช่วยยืนยันได้ว่า การอดนอนคร่าชีวิตมนุษย์ได้

การหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ เป็นสาเหตุที่คร่าชีวิตมนุษย์

การอดนอน ทำให้เกิดสถานการณ์อันตรายถึงชีวิต ทำให้การหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ เป็นอีกหนึ่งสาเหตุ ที่คร่าชีวิตมนุษย์เป็นจำนวนมากมายนับแสนคนแต่ละปี จากอุบัติเหตุบนท้องถนน ไม่เพียงแต่ชีวิตของผู้อดนอนเท่านั้นที่มีความเสี่ยง แต่ยังรวมถึงชีวิตคนรอบข้างพวกเขาด้วย นับเป็นเรื่องน่าหวั่นวิตกที่อุบัติเหตุจากยวดยานพาหนะทำให้การขับรถในขณะง่วงนอน มีอัตราสูงกว่าการดื่มแอลกอฮอล์และการเสพยารวมกันอีก

 

แรงขับพื้นฐานสามประการของชีวิต เช่น การกิน การดื่ม การสืบพันธุ์

 

 ไม่เพียงพอต่อการให้มีชีวิตรอดและยืนยาวของมนุษย์ เมื่อขาดแรงขับจากการนอนหลับ ซึ่งส่วนมาก เรามักจะมองข้ามแรงขับนี้มานานแสนนาน

Facebook
Twitter
WhatsApp
Email
  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไรฝุ่น

เซอร์คาร์เดียน ริธึ่ม (Circadian Rhythm) คืออะไร​

Circadian Rhythm คืออะไร ?

Previous
Next

           คุณเคยได้ยินไหมว่าร่างกายเรามันมีนาฬิกาของมันเอง นี่แหละสิ่งที่เรียกว่านาฬิกาชีวภาพในตัวของคนเรา หรือจังหวะวงจรชีวิต 

จังหวะวงจรชีวิตคือการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม จิตใจ และ กายภาพ ที่หมุนเวียนในระยะ 24 ชม. โดยปัจจัยหลักที่ควบคุมวงจรนี้คือแสงสว่างและความมืด ซึ่งส่งผลต่อการสั่งงานของสมองให้หลั่งฮอร์โมนต่างๆไปยังอวัยวะทุกส่วนในร่างกายเราเป็นประจำทุกวัน

นอกเหนือจากมนุษย์เราๆแล้ว จังหวะวงจรชีวิตยังควบคุมสิ่งมีชีวิตอื่นๆเช่นสัตว์และพืชพันธุ์เหล่าต้นไม้ รวมถึงพวกจุลินทรีย์

จังหวะ 24 ชม.นี้ จะช่วยกำหนดว่า

           เมื่อไหร่ที่เราอยากจะตื่น และเมื่อไหร่ที่เราอยากจะหลับ และยังควบคุมช่วงเวลาของร่างกายในรูปแบบอื่นๆ ด้วยเช่นกัน เช่น การหิวอาหาร หรือการกระหายน้ำเป็นเวลา การขับถ่าย การกำหนดอุณหภูมิและอัตราการเผาผลาญในร่างกาย รวมถึงการหลั่งฮอร์โมนหลากหลายชนิด และกระบวนการต่างๆ ของร่างกายเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด

      การสร้างจังหวะรอบวัน สร้างจากกิจวัตรประจำวันของแต่ละคน นาฬิกาชีวภาพของเราทุกคน จึงไม่ได้เท่ากันเสมอไป

Previous
Next

ไซท์เกเบอร์ (Zeitgeber) ผู้ให้เวลา

       สัญญาณที่ตั้งนาฬิกาสมองนี้ มีชื่อเรียกว่า ไซท์เกเบอร์ (Zeitgeber) เป็นภาษาเยอรมัน แปลว่า ผู้ให้เวลา 

        หารู้ไม่ว่า กระบวนการที่เกิดการให้เวลาเหล่านี้ ไม่ได้ตกอยู่แค่ภายใต้กระบวนการของแสงอาทิตย์เพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากการสร้างกิจวัตรที่ร่างกายจดจำไว้ภายใน เช่น การหลับ การตื่นนอน การบริโภค และการขับถ่าย เป็นต้น

และเพราะว่า กิจวัตรของแต่ละคนที่ไม่เท่ากัน นาฬิกาชีวภาพของแต่ละคน จึงไม่ได้เท่ากัน ไม่ว่าจะเป็นพืชหรือ มนุษย์ ก็จะสร้างจังหวะรอบวันในสมองไว้เป็น นาฬิกาชีวภาพ เซอร์คาเดียน ริธึ่ม ของตนเองเช่นกัน

Facebook
Twitter
WhatsApp
Email
  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไรฝุ่น