จุดเริ่มต้นของสุขภาพที่ดี หรือการเกิดโรคร้ายนั้น เริ่มต้นจากการนอนหลับ

         นอนดึก นอนน้อย นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ นอนแบบนี้ระวังกันให้ดีๆ  เพราะนี่อาจเป็นสาเหตุที่นำมาซึ่งสัญญาณอันตรายของโรคร้าย ที่อาจทำให้คุณกลายเป็นคนป่วยโดยไม่รู้ตัว ซึ่งผลเสียของการนอนพักผ่อนไม่เพียงพอ จากการวิจัยหลายสถาบัน ต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันเลยว่า ส่งผลกระทบร้ายต่อสุขภาพร่างกายอย่างมาก

งานวิจัย มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย

          ผู้ที่มีค่าเฉลี่ยชั่วโมงการนอนเพียงแค่ 4.5 ชั่วโมงในแต่ละคืน ติดต่อกันเป็นระยะเวลายาว 1 สัปดาห์ มีแนวโน้มที่จะเป็นคนที่มีอารมณ์แปรปรวนมากกกว่าคนที่มีการนอนประมาณ 7 ชั่วโมงต่อคืน โดยที่อารมณ์แปรปรวนเหล่านี้ จะมีผสมไปด้วยความรู้สึกเครียด เศร้า ท้อแท้ โมโห และหงุดหงิด ซึ่งธรรมชาติของคนเราสามารถควบคุม

           การแสดงออกทางอารมณ์ได้ค่อนข้างดีเป็นปกติอยู่แล้ว แต่ถ้าหากเมื่อใดเกิดการพักผ่อนที่น้อยเกินไป ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ย่อมส่งผลทำให้ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ลดน้อยลง และส่งผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพร่างกายอีกด้วย

Previous
Next

อาการปวดหัว

           แม้ว่าจะยังไม่มีนักวิจัยยืนยันว่าการนอนน้อย เป็นสาเหตุหลักของการเกิดอาการปวดหัว แต่ยังมีปัจจัยบางอย่างที่สามารถอธิบายได้ถึงภาวะดังกล่าว

          เพราะการนอนน้อยจะทำให้เลือดไปหล่อเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ส่งผลอย่างมีนัยยะสำคัญต่ออาการปวดหัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่มีโรคประจำตัว เช่น ไมเกรน จึงมีโอกาสสูงที่จะเกิดอาการปวดหัวกำเริบ ได้ง่ายกว่าคนที่ไม่ได้เป็นโรคไมเกรน อย่างไร 36-58% ของคนที่นอนไม่หลับ หรือพักผ่อนไม่พอ จะมีอาการปวดหัวหลังจากตื่นนอนด้วยเช่นกัน

อัตราการเป็นโรคหัวใจที่มากขึ้น

          นักวิจัยได้ทำการทดลองกับกลุ่มอาสาสมัครที่ไม่ได้นอนหลับเลยเป็นเวลาถึง 88 ชั่วโมง ผลลัพธ์ที่ได้คือผู้ที่ไม่ได้นอนหลับเหล่านั้น มีระดับความดันโลหิตที่สูงมากๆ และเมื่อให้กลุ่มอาสาสมัครนอนหลับประมาณ 4 ชั่วโมงต่อ 1 คืน ผลลัพธ์ที่ได้คืออัตราการเต้นของหัวใจกลับมาอยู่ในระดับที่ปกติ โดยค่าเฉลี่ยการเต้นของหัวใจใกล้เคียงกับคนที่ได้นอนปกติประมาณ 6-8 ชั่วโมง และสิ่งที่มีผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจ ได้แก่ สารโปรตีนที่จะมีการสะสมตัวมากขึ้นในขณะที่เราตื่นนอน และจะถูกขับออกจากร่างกายโดยธรรมชาติเมื่อเรานอนหลับ ดังนั้นการอดนอนหรือนอนน้อยสะสมเป็นระยะนาน จึงมีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้ง่ายกว่าคนที่นอนหลับพักผ่อนอย่างเป็นปกตินั้นเอง

เจ็บป่วยเป็นหวัดได้ง่าย

    การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ มีผลทำให้ร่างกายเป็นไข้หวัดบ่อยมากกว่าปกติ เพราะร่างกายมีภูมิต้านทานโรคต่ำลง โดยงานวิจัยจากหลายสถาบันเปิดเผยว่า ผู้ที่นอนน้อยกว่า 7 ชั่วโมงต่อคืน มีโอกาสป่วยมากกว่าผู้ที่นอนเกิน 8 ชั่วโมงต่อคืน ถึง 3 เท่าเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ที่นอนหลับยากมีโอกาสป่วยง่ายกว่า ผู้ที่นอนหลับง่ายมากถึง 5.5 เท่าอีกด้วย

ระบบย่อยอาหารเริ่มมีปัญหา

    งานวิจัยในต่างประเทศพบว่า ชาวอเมริกันราว 250 คน ที่มีพฤติกรรมการนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ กลายเป็นผู้ป่วยโรค IBD หรือเรียกว่า โรคกลุ่มอาการลำไส้อักเสบเรื้อรัง ซึ่งมีผู้ป่วย 10-15% ป่วยเป็นโรคโครห์น Crohn’s disease มีลักษณะอาการ ได้แก่ มีการท้องเสียปนเลือดบางครั้ง รู้สึกปวดท้องจากการอักเสบของลำไส้ น้ำหนักลด ท้องอืด อาเจียน ซึ่งถึงแม้ว่าจะสามารถรักษาให้หายได้  แต่ก็มีโอกาสกลับมาเป็นใหม่ได้อีก ถ้าหากร่างกายมีการพักผ่อนไม่เพียงพอ

โอกาสเสี่ยงเป็นโรคมะเร็ง

นักวิจัยบางส่วนได้ตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่า โรคมะเร็งบางชนิดสามารถกำเริบได้หากมีพฤติกรรมการนอนที่ไม่เพียงพอ เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ โดยจากการวิจัยของมหาวิทยาลัย Tohoku ในประเทศญี่ปุ่น ได้ทำการเก็บข้อมูลจาก 24,000 คน พบว่าผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 40-79 ปี และมีพฤติกรรมการนอนที่น้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อคืน มีภาวะเสี่ยงมากถึง 62% ที่จะเป็นมะเร็งเต้านม ในขณะที่กลุ่มคนที่มีพฤติกรรมการนอนมากกว่า 9 ชั่วโมงต่อคืน มีความเสี่ยงเพียงแค่ 28% และอีกหนึ่งงานวิจัยที่ได้จากการศึกษาคนจำนวน 1,240 พบว่าผู้ที่นอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อคืน มีโอกาสการเป็นมะเร็งลำไส้มากกว่าคนที่นอนหลับอย่างเป็นปกติมากถึง 47%  อีกด้วย

          การนอนหลับพักผ่อน ถือว่ามีปัจจัยสำคัญมากที่จะส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย ถ้าหากร่างกายเกิดการพักผ่อนไม่เพียงพอ อาจหมายถึงการบั่นทอนของอายุขัยให้สั้นลงได้อีกด้วย ดังนั้นการนอนหลับพักผ่อนอย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงต่อคืน ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการมีสุขภาพที่ดี นอกเหนือจากการออกกำลังกาย และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

Facebook
Twitter
WhatsApp
Email
  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไรฝุ่น