Article

ภูมิแพ้เกิดจากมูลของไรฝุ่น มีของแถมเป็นเชื้อรา ด้วยจ้า

ภูมิแพ้เกิดจากมูลของไรฝุ่น มีของแถมเป็นเชื้อรา ด้วยจ้า

เพื่อนๆลองทายว่าในห้องนอนห้องหนึ่ง จะมีสิ่งมีชีวิตที่มองไม่เห็นสักกี่ตัว หมื่นตัว? แสนตัว? ถึงล้านไหม?

                  ในงานวิจัยจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล พบว่า ห้องนอนโดยเฉลี่ยแล้วมีตัวไรฝุ่นมากนับล้านตัว เพราะอุณหภูมิ และความชื้นที่พอเหมาะ
            อีกงานวิจัยของต่างประเทศ ทีมแพทย์นำใยผ้าจากที่นอนเก่ามาส่องผ่านกล้องกล้องจุลทรรศน์ ปรากฏว่าพบอาณาจักรสิ่งมีชีวิตตัวจิ๋วที่แม้มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่เมื่อมาดูใกล้ๆ เต็มไปด้วยสารก่อภูมิแพ้และเชื้อรามากถึง 26 ชนิด             

สิ่งที่หลายคนไม่รู้คือ

        เชื้อรา และ ไรฝุ่น มักจะอยู่คู่กัน ที่ไหนมีไรฝุ่น การันตีเลยว่าที่นั่นมีเชื้อราอยู่ด้วย (รองลงมาจากขี้ไคล และรังแคของคน) เพราะเชื้อราคือหนึ่งในอาหารหลักของไรฝุ่น แม้จะถูกตัวไรฝุ่นกินเข้าไปแล้วมันก็ไม่ได้หายไปไหนไกลเลย เพราะเมื่อถูกขับถ่ายออกมา ราข้างในมูลไรยังสามารถเติบโตต่อได้ในบริเวณเดิม ตราบใดที่มีความชื้นเพียงพอ

สรุปง่ายๆว่าตัวไรฝุ่นอยู่กินจากเชื้อราได้ในที่เดียวกันได้แทบจะตลอดวงจรชีวิตของมันเลยแหละ จึงอธิบายว่าทำไมไรฝุ่นถึงอยู่ในที่ๆมันอยู่ได้อย่างดื้อดึง เป็นเพราะว่าที่อยู่อาศัยของมันครบวงจรสุดๆ อำนวยให้มันกินอยู่ได้ในที่เดียวกับที่สืบพันธ์โดยที่ไม่ต้องย้ายไปไหนเลย

สิ่งอื่นที่ไรฝุ่นกินเป็นอาหาร

 คือ เกสร ยีสต์ แบคทีเรีย และ เส้นใยพืช อย่างไรก็ตามอาหารโปรดของไรฝุ่นไม่ใช่อะไรอื่นใดเลย นอกจากเซลล์ผิวหนังของเราในขี้ไคลและรังแคนี่แหละ ที่ถูกปกคลุมไปด้วยนานาชนิดแบคทีเรีย อีกทั้งยังมีน้ำมันบนผิวเรา (และหนังศีรษะด้วย เยอะมาก)  เชื้อรา และ จุลินทรีย์ต่างๆที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจากความชื้นบนผิวเรา

ใครอยากเห็นมูลไรฝุ่น วันนี้เรามีรูปมาฝาก

ภาพข้างล่างมาจากการส่องกล้องจุลทรรศน์บนมูลของไรฝุ่น สังเกตตรงรอบๆก้อนมูลให้ดี นั่นแหละคือเส้นใยของเชื้อรา (mold hyphae) ที่เห็นได้ว่าเลื้อยออกมาด้านนอก โดยน้องเชื้อราพวกนี้ พอถูกขับถ่ายออกมา ตราบใดที่มีความชื้นมันก็สามารถโตต่อได้เลย

ขอบคุณรูปจาก Dr Matthew J Colloff, copyright CSIRO Publishing.

คำแนะนำจากนักวิจัย

แล้วอะไรกันอยู่ในเจ้าก้อนๆมูลไรฝุ่นเนี่ย

เมื่อแพทย์ดำเนินการส่องดูในมูลไรฝุ่น ได้เจอสารก่อภูมิแพ้อีก 15ชนิด แต่อย่าเพิ่งตื่นตูมกันไป เพราะโดยส่วนใหญ่คนเป็นโรคภูมิแพ้ ไม่ได้แพ้ทุกชนิด ที่พบว่ากระตุ้นโรคภูมิแพ้จริงๆ มีอยู่3 ชนิด  ดังกล่าว:

  1. Der p1 ซึ่งเป็นเอ็นไซม์ย่อยอาหารของ ไรฝุ่นสายพันธุ์ยุโรป Dermatophagoides pteronyssinus
  2. Der p2 เป็นโปรตีนที่เลียนแบบอาการคล้ายการติดเชื้อจากแบคทีเรีย
  3. Der p23 เป็นเอ็นไซม์ที่เป็นส่วนประกอบอยู่ในฟิล์มที่หุ้มมูลไร

จากงานวิจัยพบว่า ไรฝุ่นไม่สามารถมองเห็นหรือคุมอุณหภูมิร่างกายของมัน (อีกทั้งยังไม่มีระบบทางเดินหายใจที่ชัดเจน) ทำให้ไรฝุ่นจำเป็นต้องอาศัยอยู่กันเป็นนิคมแบบพึ่งพากันและล้วนใช้ประสาทสัมผัสในการอยู่รอด รวมถึงการหาอาหาร การหาแหล่งสืบพันธ์ และการหลบภัยอันตราย

สภาพแวดล้อมที่เขาอยู่กัน ต้องเป็นที่อุ่น ชื้น มืดและนิ่ง ที่มันสามารถหลบแสงสว่างได้ ไรฝุ่นชอบหลบในรูของผ้าทอสุดๆ เช่น ผ้าม่าน ผ้าหุ้มโซฟา พรม หมอน ผ้าห่ม และที่นอน   ล้วนอยู่ ในห้องนอนของเราทั้งสิ้น

เมื่อลองมาคิดดู ที่จริงก็น่าทึ่งไม่ใช่น้อยที่ถึงแม้ว่ากฎเกณฑ์การมีชีวิตของมันจะเยอะขนาดนี้ การดำรงชีวิตของไรฝุ่นมีอยู่จริงแน่นอน อยู่อย่างสบายๆด้วย ถ้าเราไม่จัดการกับมัน

Facebook
Twitter
WhatsApp
Email
  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไรฝุ่น

ตัว(ไร) อ่ะ?!? หน้าฝนนี้ ใช้เครื่องนอนต้านไรฝุ่น ต้านไวรัส โอกว่า

ตัว(ไร) อ่ะ?!? หน้าฝนนี้ ระวังไรฝุ่น

ช่วงนี้เมืองไทยเปลี่ยนเป็นฤดูฝนแล้ว
        พออากาศเย็นก็ขึ้นค่อยสบายตัวหน่อย อากาศเปลี่ยนแปลงก็ดูแลตัวเองกันด้วยนะทุกคน เพราะว่าหน้าฝนเป็นช่วงที่หลายๆคนพบว่ามีปัญหาเรื่องการหายใจมากกว่าปกติเนื่องจากความชื้นในอากาศ โรคภูมิใจทางเดินหายใจหลักๆก็มี โรคหอบหืด โรคแพ้อากาศ หรือโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ รู้หรือไม่ว่าสาเหตุหลักๆของอาการภูมิแพ้เหล่านี้เนี่ย มักจะมาจากปริมาณไรฝุ่นที่เพิ่มขึ้นในอากาศเนื่องจากความชื้นที่สูงขึ้น

ถามว่าไรฝุ่นมาจากไหน

 ความจริงมันมีอยู่ทุกที่นั่นแหละ แต่ที่เป็นแหล่งชุกชุมเลยก็จะเป็นตามที่มืดๆ มีเส้นใยซับซ้อน เช่น หมอน ผ้าห่ม พรม เฟอร์นิเจอร์  โดยจะชอบอยู่ในที่ร้อนชื้น อย่างประเทศไทยเรา ซึ่งอากาศมีความชื้นสัมพัทธ์ ที่ 70-80% ไรฝุ่นเติบโตได้ดีเลยทีเดียว

      เอ้ะ แล้ว ไรฝุ่นมันคืออะไรกันแน่ หลายคนเคยได้ยินแต่ก็ไม่ค่อยเข้าใจว่ามันคืออะไร เป็นสัตว์หรือเป็นฝุ่นกันแน่ วันนี้เลยมาไขข้อข้องใจคร่าวๆ นะ

ตัวไร เนี่ย เป็นแมงขนาดเล็กตระกูลเดียวกับพวกเห็บ มีหลายสายพันธ์ เช่นไรของสัตว์ เช่น ไรนก ไรหนู ไรพืช ส่วนตัวไรฝุ่นที่ซี้กับมนุษย์เราเลยเนี่ย เรียกว่า ไรฝุ่นบ้าน (house dust mite) ถ้าไครบอกว่าเคยเห็นตัวไรฝุ่น อย่าไปเชื่อเลย โม้แน่นอน เพราะว่าตาเรามองไม่เห็นแน่นอน เจ้าไรฝุ่นขนาดเล็กมากๆเกือบเท่าจุดดินสอ (ประมาณ 0.1-0.3 มม) ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องเท่านั้นถึงจะเห็น ตัวจะชอบซ่อนอยู่ตามที่ซอกมุมมืดๆ ในบ้าน โดยเฉพาะที่นอน หมอน โซฟา พรม

บุฟเฟต์รังแค

ทีนี้เพื่อนๆคงถามว่า แล้วทำไมมันถึงชอบไปอยู่ในที่พวกนั้น

ก็เพราะเจ้าพวกนี้มันชอบกินเศษผิวหนัง และรังแคของเรามากไงล่ะ! (สะพรึงมากจ้า)

ถ้าเราลองนึกดูนะ ในเวลา24ชม. เฉลี่ยแล้วเราใช้เวลาตั้ง6-9ชมต่อวันแน่ะบนที่นอน (ช่วงล้อคดาวไม่ต้องพูดถึง น่าจะมากกว่านั้นอีก เหอๆ) คิดดูว่าขี้ไคลเราที่สะสมตามที่นอน น่าจะประหนึ่งเหมือน บุฟเฟ่ต์ให้ไรฝุ่นกินกันอย่างสำราญ…

 

ไหน ไครสงสัยว่ามีไรฝุ่นกัดเรา หรือดูดเลือดเราไหม ตอบได้เลยว่าไม่ใช่ผลงานไรฝุ่นแน่นอน เพราะไรฝุ่นกินเฉพาะ เซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว (dead skin cells) ที่อยู่ตามที่ต่างๆ
    อาทิเช่น ที่ๆ เราชอบนั่งเล่น นอนเล่น คือตัวไรมันไม่ได้มีฟันกัดคนได้โดยตรง ดังนั้นหากมีอาการคันผิวหนัง น่าจะมาจากการเจอสารระคายเคืองอื่นๆนะ

ไหนใครชอบเอาขนมมากินบนเตียง ยอมรับมา

 

เพราะว่านอกจากนี้ไรฝุ่นยังชอบเสวยบนพวกสปอร์เชื้อรา (mold spore) พบตามอาหารที่เราวางทิ้งไว้ หรือเศษอาหารที่ตกหล่น ยิ่งที่ร้อนๆชื้นๆอย่างประเทศไทยเราเนี่ย น้องไรยิ่งเลิฟจ้า เอาล่ะ ถึงตอนนี้เริ่มรู้สึกสยองกันหรือยัง

เวลาเติบโตของไรฝุ่น ตั้งแต่ฟักไข่จนถึงขั้นสืบพันธ์ได้ ใช้เวลา1เดือน และตัวแก่ของไรฝุ่นโดยจะมีชีวิตอยู่มากสุด 2เดือน แต่ ตัวเมียเนี่ย สามารถออกไข่ได้1-3ฟองต่อวันเลยนะ

 

สิ่งที่อันตรายจากน้องๆไรฝุ่นก็คือ ของเสีย (มูลไร) ของมันเนี่ยแหละ เป็นมันเป็นสารก่อภูมิแพ้ชั้นดีเลย เมื่อนานๆสูดดมเข้าไป แม้คนที่ไม่ได้เป็นโรคภูมิแพ้อยู่แล้ว ก็อาจจะเริ่มมีอาการโรคภูมิแพ้ดังกล่าว:

  • อาการจาม
  • มีน้ำมูกไหล
  • คันดวงตา ตาระคายเคือง ตาแดง มีน้ำตาไหล
  • จมูกตัน
  • คันจมูก ปาก คอ
  • อาการไอ

แล้วนี่ช่วงไวรัสระบาด เห็นใครไอ (หรือเราไอเอง!) ก็ระแวงสุดๆแล้ว อย่าให้อาการแพ้ไรฝุ่นมาทำเราสับสนเลยดีกว่า วันนี้เรามาเสนอวิธีป้องกันไรฝุ่นในบ้านแบบเบสิคๆกันจ้า

เราจะแบ่งการป้องกันเป็นใน2ข้อ คือ 1.การคุมความชื้นในอากาศ   และ 2. ทำความสะอาดสิ่งทอในห้อง

 

1.อากาศ

การดูแลลักษณะอากาศในห้องนั้นสามารถทำได้ง่ายๆโดยการหมั่นเปิดหน้าต่าง ประตูให้ลมโกรกเข้าห้อง มีอากาศถ่ายเท ลดความอับชื้นได้ และที่สำคัญให้แสงแดดส่องเข้าในห้องด้วย

ส่วนในหน้าฝนนั้น หากท่านใดเป็นโรคภูมิแพ้ ก็อาจแนะนำให้มีเครื่องลดความชื้นในอากาศ (dehumidifier) ไว้ติดห้องเลย เพราะนอกจากจะสามารถช่วยลดปริมาณ ของไรฝุ่น ได้แล้ว ยังลดสปอร์ราได้ เนื่องจากการเติบโตของเจ้าสารภูมิแพ้จะช้าลงมากเมื่อระดับความชื้นในห้องต่ำ โดยเปอร์เซ็นความชื้นที่ช่วยต้านไรฝุ่นและราได้ อยู่ที่ 40-50% นะจ๊ะ

  1. ทำความสะอาดสิ่งทอในห้อง

            เดี๋ยวนี้ตามท้องตลาดมีเครื่องดูดไรฝุ่นขนาดเล็กราคาย่อมเยา บางอันมีฟังค์ชั่น ฆ่าเชิ้อโรคผ่านแสง UV ซึ่งแม้ว่าตามทฤษฎีนั้น แสง UV มีประสิทธิภาพช่วยฆ่าตัวไรฝุ่นได้ก็จริง  ในความเป็นจริงสามารถช่วยได้แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะไรฝุ่นมักหลบอยู่หลังซอกเส้นใย ทำให้แสงUV ไม่สามารถโดนทุกตัว 100% หรอกนะ

            ยังไงแนะนำว่าเครื่องดูดไรฝุ่นที่เวิร์ค จะต้องมี HEPA filter ซึ่งสามารถทั้งกรองและดักสารก่อภูมิแพ้ได้ 99.97% หากใครยังไม่มีเครื่องดูดฝุ่นที่นอน วิธีพื้นบ้านเลยก็คือ การนำเครื่องนอนไปสะบัดข้างนอก ตากไว้สัก 2-3ชม. ในวันที่แดดออกจัดๆ สักอาทิตย์ละ1-2ครั้ง ก็ช่วยลดตัวไรได้นะ

            อีกอย่างคือ ให้หมั่นซักเครื่องนอนทุกๆ 2 สัปดาห์ การซักโดยใช้ผงซักฟอก สามารถล้างสารก่อภูมิแพ้ได้มากถึง 84%

              สำหรับท่านที่ใส่ใจสุขภาพอาจอยากรู้ว่า เอ้ะ แล้ว ที่นอนเนี่ย มันมีแบบกันไรฝุ่นในตัวไปเลยหรือปล่าว วันนี้มาชี้เป้าว่าเครื่องนอน Sleepen เนี่ย เค้าใช้ผ้านิตแจ็คการ์ดที่ผสานนวัตกรรม Viroblock จากสวิสเซอร์แลนด์ ที่นอกจากจะมีคุณสมบัติต้านไวรัส และ แบคทีเรียแล้ว ยังต้านไรฝุ่นอีกด้วย  ได้รับการยืนยันจากห้องแล็บชั้นนำ ได้แก่ สหราชอาณาจักร , ประเทศจีน ภายใต้มาตรฐาน ISO 18184 และ มหาวิทยาลัยมหิดล

             อ้อ Sleepen เขาทำหน้ากากผ้าด้วยนะ แน่นอนว่าใช้นวัตกรรมป้องกันไรฝุ่นเหมือนกันนะจ๊ะ ใครที่มีอาการภูมิแพ้ จะฤดูนี้ หรือทุกฤดู แอดมินว่า ควรตำเลยจ้า

Blogger Bibi

  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไรฝุ่น

อาการภูมิแพ้และไรฝุ่น มีความเกี่ยวข้องกับที่นอนอย่างไร

อาการภูมิแพ้และไรฝุ่น มีความเกี่ยวข้องกับที่นอนอย่างไร

 เมื่อความเจ็บป่วยของร่างกายเกิดขึ้น

        การรับประทานยาหรือพบแพทย์ถือเป็นทางออกที่ดีสุด แต่รู้หรือไม่ว่าความเจ็บปวดบางอย่าง แม้รักษาจนหายไปแล้วแต่ก็สามารถกลับมาเจ็บป่วยใหม่ได้อีก ทั้งนี้เพราะสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยดังกล่าวอาจอยู่ใกล้ตัวเรามากจนคาดไม่ถึง

อันตรายจากตัวไรฝุ่น

ถือเป็นพาหะของโรค แพร่กระจายได้ดีในสถานที่ที่อากาศถ่ายไม่ถ่ายเท มีขนาดเล็กมากเพียงแค่ 0.3 มิลลิเมตร ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า สามารถพบไร่ฝุ่นได้ตาม ที่นอน หมอน ผ้าห่ม พรม และเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ที่มีเส้นใยให้ไรฝุ่นสามารถหลบซ่อนอาศัยได้ เนื่องจากเศษคราบไคลของผิวหนังคนเราที่ลอกหลุดออกมาในแต่ละวัน ถือเป็นอาหารชั้นดีให้กับตัวไรฝุ่น นอกจากนี้ใยผ้าและขนสัตว์ที่เอามาทำ ที่นอน ผ้าห่ม ก็สามารถกินเป็นอาหารได้อีกด้วยด้วย 

โดยธรรมชาติของไรฝุ่นจะชอบอยู่ตามเส้นใยที่มืด ยิ่งอับชื้นเท่าไรยิ่งดี ซึ่งกิจวัตรในแต่ละวันของไรฝุ่น จะทำการกิน ถ่ายและแพร่พันธุ์ โดยการแพร่พันธุ์สามารถทำได้เร็วมากๆ ตัวเมียจะตั้งท้องภายใน 1 ชั่วโมงและ 3 วันต่อมาก็จะตกไข่ จากระยะไข่จนเป็นตัวโตเต็มวัยจะใช้เวลาประมาณแค่ 1 เดือนเท่านั้นเอง

โรคภูมิแพ้

 เกิดจากการที่ร่างกายได้รับสารก่อภูมิแพ้เข้าไปภายในร่างกาย จึงเกิดการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันและมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารนั้นมากเกินจนผิดปกติ ซึ่งภายหลังจากได้รับสารนั้นเข้าไปอีก ภูมิคุ้มกันดังกล่าวจะกระตุ้นทำให้เกิดผลเสียต่อระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบรุนแรง โรคหอบหืด ทั้งยังทำให้ผู้ที่มีแนวโน้มจะเป็นโรคผิวหนังอักเสบมีอาการของโรคเร็วมากขึ้นไปอีก ซึ่งจะเกิดอาการเฉพาะในผู้ที่แพ้เท่านั้น ในคนปกติจะไม่เกิดอาการดังกล่าวแต่อย่างใด

 โรคภูมิแพ้ เป็นกลุ่มของโรคที่สามารถแสดงอาการได้กับหลายระบบของร่างกาย อาการของโรคภูมิแพ้จะขึ้นอยู่กับชนิดของโรคภูมิแพ้ที่เป็น ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ส่วนใหญ่มีสาเหตุการเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม โดยตัวการที่ทำให้เกิดอาการแพ้ จะเรียกกว่า สารก่อภูมิแพ้ (Allergens) หรือสิ่งกระตุ้น ซึ่งอาจเข้าสู่ร่างกายได้ทางระบบหายใจ การรับประทานอาหาร การสัมผัสทางผิวหนัง การสัมผัสทางตา ทางหู ทางจมูก หรือถูกกัดต่อยทางผิวหนัง

ไรฝุ่นทำให้เกิดภูมิแพ้ได้อย่างไร?

สำหรับผู้ที่มีแนวโน้มที่จะเป็นภูมิแพ้อยู่แล้ว ถ้าหากสูดดมมูลของไรฝุ่นที่ติดอยู่ตาม ที่นอน ปลอกหมอน ผ้าห่มต่างๆ หรือผิวหนังของเราไปสัมผัสกับตัวไรฝุ่นที่ตายแล้ว ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทาน (Antibodies) ขึ้นมา โดยภูมิต้านทานนี้จะปล่อยสารเคมีที่เรียกว่า ฮีสตามีน ซึ่งทำให้เกิดอาการบวม และการระคายเคืองของทางเดินหายใจ ไอ จาม คันตา และอาจรุนแรงถึงขั้นหอบหืด และภูมิแพ้นี้ยังสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีผู้ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ไรฝุ่นมากกว่า 10 ล้านคน ซึ่งถือเป็นภัยใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้ามอย่างยิ่ง

นอกจากนี้ยังสาเหตุของโรคหลายชนิด

ทั้งโรคทางเดินหายใจอักเสบเรื้อรัง โรคตาอักเสบ ที่ทำให้ตาระคายเคือง โรคจมูกอักเสบ ทำให้น้ำมูกไหลและมีการจามบ่อย โรคหอบหืด ที่ทำให้ไอและมีปัญหาระบบทางเดินหายใจ โรคหอบหืด โรคผิวหนังอักเสบ เช่น มีผื่นแดงและคัน ปวดศีรษะ เป็นต้น ซึ่ง ที่นอน สามารถมีตัวไรฝุ่นสะสมได้ถึงหลายล้านตัว และโดยเฉลี่ยคนเราต้องนอนอยู่บน ที่นอน ประมาณ 8 ชั่วโมงต่อวัน นั้นหมายความว่าผิวหนัง ระบบการหายใจของเราต้องสัมผัสคลุกคลีอยู่กับตัวไรฝุ่นและมูลนานมาก จนก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้ไรฝุ่นขึ้นนั้นเอง

         เพื่อความปลอดภัยและสุขภาพที่ดีของคุณและคนที่รัก การเลือกซื้อที่นอน มีความสำคัญอย่างมาก นอกเหนือจากคุณภาพของวัสดุที่ดีในการผลิตที่นอน ควรคำนึงถึงที่นอนที่มีการป้องกันไรฝุ่น แบคทีเรีย และเชื้อราต่างๆ ที่เป็นตัวการสำคัญในการทำลายสุขภาพอีกด้วย

Facebook
Twitter
Email
  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไรฝุ่น

ต้นไม้ ลดไรฝุ่น สำหรับคนเป็นภูมิแพ้

ต้นไม้ลดไรฝุ่นสำหรับคนเป็นภูมิแพ้

Previous
Next

ในช่วงล็อคดาวน์  หลายๆ คนน่าจะ work from home ที่บ้าน เลยเริ่มมีเทรนด์การปลูกต้นไม้ในบ้าน (indoor plants) ที่ฮิตๆเลย มียางอินเดีย มอนสเตอร่า ไทรใบสัก มีไว้ก็ถ่ายรูปเก๋ๆ เหมือนอยู่คาเฟ่ เรียกได้ว่าเป็นเฟอร์นิเจอร์ประดับบ้านของคนรุ่นใหม่

การปลูกน้องต้นไม้ในบ้านนี้ นอกจากจะเพิ่มสีเขียวให้ในบ้านแล้ว เค้ายังทำหน้าที่ฟอกอากาศ ให้เราด้วยนะ อีกทั้งยังมีต้นไม้ที่เคลมว่าฟอกอากาศได้ เช่น พลูด่าง ลิ้นมังกร ว่านงาช้าง

อันที่จริงแล้ว ต้นไม้ฟอกอากาศเนี่ยเริ่มมาจากงานวิจัยของ NASA

                เรื่องต้นไม้ฟอกอากาศเนี่ย เริ่มต้นมาจากงานวิจัยที่โด่งดังในปี1989 ของ NASA นะ เขาพยายามวิจับว่าทำอย่างไรจะดึงคุณภาพของอากาศหายใจ ในยานอวกาศให้สูงขึ้น เนื่องจากในห้องหรือพื้นที่ ที่ปิดสนิท (อย่างของยานอวกาศ) มีมลภาวะสะสมที่เกิดจากคน เพราะ อากาศไม่สามารถถ่ายเทได้ และอีกทั้งยังมีก๊าซทิ้งจากสารเคมี (off-gas) เช่น formaldehyde และ benzene ที่ระเหยมาจากพวกเฟอร์นิเจอร์ และเครื่องมือต่างๆในอาคาร ทำให้เกิดอาการ “sick building syndrome” เช่น  ผื่นคันที่ผิวหนัง ดวงตา หายใจไม่สะดวก ปวดศีรษะ แล้วอาการแพ้อื่นๆ นาซ่าเลยเริ่มตั้งข้อสันนิษฐานว่า มนุษณ์นั้นดำรงอยู่บนโลกได้ด้วยระบบนิเวศน์ของพืชและจุลินทรีย์ ถ้าเราย้ายไปอยู่ที่ๆเป็นระบบปิด ก็ควรนำพืชเหล่านี้ติดตัวไปด้วย นาซ่าพบว่า จุลินทรีย์ ที่อยู่ในต้นไม้ มีคุณสมบัติ ช่วยเปลี่ยนไวรัส แบคทีเรีย และ สารออแกนิค รอบๆ กลายเป็นเซลล์พืชในต้นไม้ โดยเฉพาะบริเวณระหว่างรากและดิน ต้มไม้ช่วยดูดสารพิษจากอากาศได้ในห้องพื้นที่ปิด

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีงานวิจัยแน่ชัด ผลกระทบของคนเมื่ออยู่ในพื้นที่ปิดกับต้นไม้และจุลินทรีย์

                อาทิ  เช่น ข้อควรระวังที่เราควรคำนึงจากการมีต้นไม้ในบ้าน ก็หนีไม่พ้นเรื่องของไรฝุ่นเลย เพราะน้องเป็นแหล่งจับไรฝุ่นชั้นดีหากไม่ได้เช็ดใบให้เป็นกิจวัตร อีกอย่างที่ควรระวังคือการรดน้าต้นไม้มากเกินไป เพราะความชื้นในรากเป็นที่มาของการเกิดรา เราควรเช็คว่าถาดรองต้นไม้ไม่มีน้ำขังหลังจากรดน้ำ อีกอย่างที่ช่วยได้คือให้นำน้องต้นไม้ออกไปวางโดนแดดรำไรๆข้างนอกอาทิตย์ละวันก็จะช่วยให้รากคลายความชื้นได้บ้าง นอกจากนี้ เราควรระวังต้นไม้ที่ใบมีขนอ่อนๆบนใบ เพราะมักจะดักสารก่อภูมิแพ้มาติด

               แล้วที่สำคัญเลย ในห้องนอนเราไม่ควรมีต้นไม้หลายต้นนะ แนะนำว่าให้มีต้นขนาดเล็กสักต้นก็พอ เพราะ ในตอนกลางคืนเนี่ยเป็นเวลาที่ต้นไม้คายน้ำ และ ผลิตแก๊ส  CO2 ที่เราคงไม่อยากให้มาอยู่ในที่ๆเรานอนนะ

                พูดถึงเรื่องนอน แน่นอนว่าสภาพแวดล้อมในพื้นที่พักผ่อน ความสะอาดต้องมาคู่กับความสบาย ลองนึกถึงเวลาที่เรา ได้นอนโรงแรม เตียง ผ้าปูใหม่ ทั้งขาวทั้งสะอาด มันทำให้เรานอนฟินเลยใช่ไหมล่ะ เหมือนกันกับที่บ้านของเรา ควรหมั่นเปลี่ยนปลอกหมอนและผ้าปู อย่างน้อยๆอาทิตย์ละครั้ง จะให้ดีเลยระหว่างอาทิตย์ก็หมั่นดูดฝุ่นบนผ้าห่ม หรือผ้าปู เพื่อลดไรฝุ่น ถ้าไครที่เลี้ยงสัตว์เล็กๆที่ขนร่วง ถือว่าจำเป็นเลย

เราอยากแนะนำที่นอนของ Sleepen ที่เขาเคลมว่า self-hygeinizing  ที่มาช่วยเราเรื่องความสะอาดนี้ ที่นอน Sleepen เขาใช้นวัตกรรม Viroblock ของ HEIQ Switzerland ที่ได้รับการรับรองจาก EU safe textile มีไยที่ใช้ที่ต้านแบคทีเรีย และ ไวรัสได้ 99.98% (ผู้ผลิตเขา ได้ส่งทดสอบ ว่าต่อต้านได้จริง ผ่าน 3 สถาบันเลย)   ทีนี้ ขอแถมที่ ดี๊ดีที่ มากับการแอนตี้ไวรัสคือ มันแอนตี้ดัสไมท์ หรือ ต่อต้านไรฝุ่นไปด้วยเลย  พอเราทดลองใช้ การจามช่วงเช้าๆนี่ลดลงเห็นชัด   ที่ Sleepen เขาว่า  self-hygeinizing จึงเป็นประการฉะนี้นี่เอง   ….  

ฝากไว้ว่าช่วงโควิด-19 นี้ หลายๆคนก็ต้องห่างกับเพื่อนสนิท ครอบครัว ญาติๆ ทั้งนั้นล่ะนะ หันมาลองปลูกต้นไม้ไว้อยู่เป็นเพื่อนให้เราได้ดูแล รดน้ำ ก็ช่วยแก้เหงาได้นะ แล้วก็ลดไรฝุ่นภูมิแพ้ไปเลย

Blogger Bibi

Facebook
Twitter
Email
  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไรฝุ่น

เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุ การเลือกที่นอนให้เหมาะสม จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก

เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุ การเลือกที่นอนให้เหมาะสม จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก

         สำหรับที่นอนหรือฟูกที่เหมาะสำหรับการนอนหลับพักผ่อนในผู้สูงอายุ ถือเป็นอีกหนึ่งคำถามที่หลายคนกำลังสงสัย ว่าควรเลือกใช้แบบไหน จึงจะเหมาะสมต่อสุขภาพร่างกายของผู้สูงอายุมากที่สุด เพราะที่นอนมีหลากหลายรูปแบบ และแน่นอนการใช้งานในแต่ละช่วงวัยย่อมแตกต่างกันไป ดาร์ลิ่งมีคำแนะนำดีๆ มาฝากกันเช่นเคย

ที่นอนสำหรับผู้สูงอายุ

             โดยทั่วไปการเลือกซื้อที่นอน จะเลือกตามความพึงพอใจตามลักษณะและรูปแบบการในนอนในแต่ละบุคคล บางคนชอบที่นอนแข็ง บางคนชอบที่นอนนิ่ม บางคนชอบที่นอนไม่แข็งหรือนิ่มมากเกินไปก็สุดแล้วแต่ความชอบของบุคคลนั้นๆ แต่สำหรับการเลือกที่นอน ให้มีความเหมาะสมกับผู้สูงอายุนั้น ควรเลือกที่นอนที่มีความยืดหยุ่นได้ดี ทีความแข็งประมาณนึงเพราะช่วยในการรองรับกระดูกสันหลังได้ดีในขณะที่นอน เนื่องจากกระดูกสันหลังของผู้สูงอายุค่อนข้างมีความอ่อนแอ เสื่อมถอยไปตามอายุที่มากขึ้น

 

แข็งไปก็ไม่ดี นิ่มไปก็ปวดเมื่อย

        เพราะผู้สูงอายุต้องการการนอนหลับที่ค่อนข้างมาก ดังนั้นในหนึ่งวันผู้สูงอายุจึงต้องนอนหลับมากกว่าช่วงวัยอื่นๆ ซึ่งที่นอน ที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญอย่างมาก หากใช้ที่นอนไม่เหมาะสมจะยิ่งทำให้เกิดอาการปวดหลังเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งจำเป็นต้อง สังเกตุอาการความปวดเมื่อยของผู้สูงอายุประกอบกันด้วน เนื่องจากในช่วงระยะเวลาหนึ่ง การนอนที่แข็งอาจช่วยให้หายจากปวดหลังได้ แต่พอเวลาผ่านไป อาจจะกลายเป็นว่าเกิดการปวดเมื่อยบริเวณกล้ามเนื้อในบริเวณอื่นแทน

การเลือกที่นอนสำหรับผู้สูงอายุ

         อันดับแรกที่ควรเลือกใส่ใจเป็นเรื่องแรก ได้แก่ขนาดของที่นอน ที่ต้องมีความใหญ่พอสมควร ไม่ควรเล็กกว่า 3.5 ฟุต เพราะหากที่นอนเล็กเกินไปทำให้ไม่มีพื้นที่ในการพลิก ขยับตัวเพื่อเปลี่ยนอริยาบถในการนอน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการปวดเมื่อยตามตัว เนื่องจากนอนในท่าใดท่าหนึ่งนานมากจนเกินไป นอกจากนี้ควรคำนึงถึงน้ำหนักที่นอน ไม่ควรใช้ที่นอนหนัก ๆ เพราะหากผู้สูงอายุต้องเก็บที่นอน ปูผ้าปูเอง จะได้ไม่เกิดอันตรายเวลาก้มตัวขึ้นลง และการเลือกที่นอนจากวัสดุเพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับสรีระของผู้สูงอายุมากที่สุด ดังนี้

1. ที่นอนยางพารา

            ด้วยคุณสมบัติความเป็นยาง ได้แก่ ความยืดหยุ่นสูง จึงทำให้สามารถวางใจได้ว่าจะไม่เกิดการยุบตัวเป็นแอ่งของที่นอน อีกทั้งยังมีคุณสมบัติความนุ่มพอสมควร  ที่นอนโอบรับกับส่วนโค้งเว้ารับร่างกายได้ดีอีกด้วย อาจสั่งซื้อจากผู้ผลิต ความหนา 4 นิ้ว ก็เพียงพอ มิฉะนั้นน้ำหนักจะมาก ทำให้ดูแลที่นอนลำบาก

2. ที่นอนสปริง

หากที่นอนยางพารามีราคาสูงเกินไป ที่นอนสปริง ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว เนื่องจากมีราคากลาง ๆ แต่ยังคงให้คุณสมบัติของความยืดหยุ่นและการคืนตัวที่ดี อาจดีกว่าที่นอนยางพารา ควรเลือกที่นอนสปริงที่แน่น น้ำหนักพอประมาณ

3. ที่นอนใยมะพร้าว

           ผลิตจากใยมะพร้าว โดยการนำมาอัดแน่นเข้าด้วยกาว ก่อนขึ้นรูปเป็นที่นอนใยมะพร้าว ซึ่งมีจุดเด่นเรื่องของความแน่นหนา สามารถใช้ได้ผู้สูงอายุอีกกัน เนื่องจากคุณสมบัติความแข็งไม่ยุบตัว ทำให้กระดูกไม่มีการแอ่นตัว แต่มีข้อควรระวังคือความแข็งและหนาแน่นที่มากเกินไป อาจไม่เหมาะกับสรีระของผู้สูงอายุบางคน อีกทั้งที่นอนใยมะร้าวเมื่อเกิดการเสื่อมสภาพควรเปลี่ยนทันที ก่อนที่จะเปื่อยยุ่ยและฟุ้งกระจายเป็นฝุ่นผงซึ่งอาจส่งผลเสียต่อระบบทางเดินหายใจได้

4. ที่นอนลม

           เหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นแผลกดทับ อีกทั้งป้องกันการเกิดแผลกดทับจากการนอน จากการเสียดสีกันระหว่างที่นอนกับผิวของผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ จากอาการเจ็บป่วย อัมพาต อัมพฤกษ์ หรือมีความจำเป็นต้องนอนพักรักษาตัวเป็นเวลานานๆ อีกด้วย เลือกที่นอนลมที่ผิวที่นอนเป็นผ้า หากเป็นพลาสติกจะลื่น ไม่เหมาะกับการนอน

           การเลือกที่นอนควรคำนึงถึงช่วงอายุที่จะใช้งานที่นอน โดยเฉพาะในผู้สูงอายุควรเลือกให้เหมาะสมกับสภาพของร่างกาย เพราะอยู่ในช่วงวัยที่ร่างกายมีความเสื่อมโดยเฉพาะเรื่องของกระดูกและโครงสร้างของร่างกายที่ความแข็งแรงค่อนข้างต่ำ ซึ่งการใช้ที่นอน ที่เหมาะสม สามารถช่วยปรับปรุงคุณภาพการนอนของผู้สูงวัยได้

Facebook
Twitter
WhatsApp
Email
  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไรฝุ่น

งานวิจัยเผย ที่นอนใหม่ ช่วยลดความเครียด

งานวิจัยเผย ที่นอนใหม่ ช่วยลดความเครียด

ที่นอนมีความสำคัญต่อสุขภาพร่างกายมากกว่าเพียงแค่การนอนหลับพักผ่อน โดยเฉพาะที่ถูกออกแบบและผลิตด้วยวัสดุที่มีคุณภาพ ซึ่งเรื่องนี้ได้รับการยืนยันจากงานวิจัยในต่างประเทศ เกี่ยวกับประสิทธิภาพของที่นอนใหม่ ที่ส่งผลดีต่อร่างกายมากกว่าแค่การนอนหลับสบาย

ที่นอนใหม่ ช่วยลดอาการปวดเมื่อย

     จากการศึกษางานวิจัยชิ้นใหม่แสดงให้เห็นว่า เมื่อเราได้นอนหลับพักผ่อนบนที่นอนใหม่ นอกจากจะช่วยทำให้มีการพักผ่อนที่ดียิ่งขึ้น ช่วยลดอาการปวดหลังและความเครียดให้น้อยลงได้อีกด้วย ข้อมูลจากวารสารทางการแพทย์ Chiropractic Medicine กล่าวถึงผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยโอคลาโฮ “นวัตกรรมใหม่ของที่นอน สามารถช่วยให้อาการปวดหลังและอาการเครียดลดน้อยลง นำไปสู่การนอนหลับที่ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น”

Previous
Next

เบิร์ตเจ คอปสัน

นักวิจัยและอธิบดีของมหาวิทยาลัย ได้ทำการศึกษางานวิจัยไว้ก่อนหน้านี้ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างที่นอนใหม่กับอาการปวดหลัง และการนอนหลับอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในการศึกษานี้ได้ถูกตีพิมพ์ลงวารสารทางการแพย์ Chiropractic Medicine ปี 2009

ทดลองด้วยการนอน 2 ลักษณะ

          จากการทดลองในกลุ่มผู้มีสุขภาพดีจำนวน 59 คน แล้วทำการบันทึกอาการปวดหลังพร้อมด้วยคุณภาพการนอนหลับ ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ การตื่นนอนจากที่นอนหลังเดิมของพวกเขาเองนาน 28 วันติดต่อกัน และในอีกลักษณะหนึ่งคือ การตื่นนอนจากที่นอนใหม่นาน 28 วันเช่นเดียวกัน

 

           จากการศึกษาพบว่า คุณภาพของที่นอน ช่วยทำให้การนอนหลับมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งช่วยลดปัญหาต่างๆ ในการนอนหลับพักผ่อนได้อีกด้วย ซึ่ง Jacobson พบอีกว่า การแทนที่ ที่นอนเก่า ด้วยที่นอนใหม่ที่มีความหนานุ่ม แข็งระดับกลาง สามารถช่วยลดอาการปวดหลัง ปวดไหล่ และอาการเมื่อยล้าของหลังส่วนล่างได้ ทั้งยังส่งผลต่อคุณภาพของการนอนหลับในเชิงบวกอีกด้วย

 

           การศึกษานี้ได้รับการสนับสนุนจาก Better Sleep Council the International Sleep Products Association’s Consumer Education ที่แสดงถึงสภาวะความเครียดที่ลดลง รวมถึงการการนอนหลับและอาการปวดหลังที่มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ภายหลังจากการได้นอนด้วยที่นอนใหม่อย่างมีนัยสำคัญ

การศึกษาโดยเฉพาะ

           การศึกษาจากผู้หญิงจำนวน 30 คน และ ผู้ชายจำนวน 29 คน ที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อเล็กน้อยจากการบาดเจ็บแต่ไม่มีข้อมูลหรือประวัติการรักษาเกี่ยวกับการนอนหลับ ด้วยการนอนบนที่นอนสปริงอย่างน้อย 5 ปี ในช่วงระยะเวลา 28 วันแรก ผู้ร่วมทดลองนอนหลับบนที่นอนของตนเอง และวัดผลของการนอนหลับในช่วงเช้าเพื่อสร้างเป็นมาตรฐาน ก่อนส่งมอบที่นอนใหม่ให้ผู้เข้าร่วมการทดลองได้นอนอีก 28 วัน โดยที่นอนเหล่านั้นไม่มีป้ายกำกับรายละเอียดของที่นอน แต่ถูกออกแบบมาเพื่อการทดลองโดยเฉพาะ

 

        การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวกับการพักผ่อนบนที่นอนใหม่ ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ ในตอนหน้ามีงานวิจัยที่บ่งบอกถึงคุณภาพของการนอนและอาการปวดหลัง ความตึงเครียด ที่มีผลต่อด้านร่างกายและจิตใจ ซึ่งจะส่งต่อสุขภาพอย่างไรมาให้ได้รู้กัน

Previous
Next
Facebook
Twitter
WhatsApp
Email
  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไรฝุ่น

การอดนอน คร่าชีวิตเราได้หรือไม่

การอดนอน คร่าชีวิตเรา ได้หรือไม่

        ผลลัพธ์จากการนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอ ผ่านการพิสูจน์มาแล้วว่าว่า การนอนเป็นยารักษาชีวิตให้ยืนยาว และในขณะตรงกันข้าม การอดนอน สามารถคร่าชีวิตคุณให้สั้นลงได้เช่นกัน

จากหนังสือ Why We Sleep ของคุณแมตธิว วอล์กเกอร์

    ศาสตราจารย์ด้านประสาทวิทยาศาสตร์และจิตวิทยา ควบตำแหน่ง ผอ.ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์การนอนหลับของมนุษย์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ได้มีเคสตัวอย่างที่ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติทางพันธุกรรมที่พบได้ในรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเริ่มต้นจากโรคนอนไม่หลับที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ โดยปรากฎในวัยกลางคน  หลังจากมีอาการโรคนี้หลายเดือน ผู้ป่วยจะหยุดนอนหลับอย่างสิ้นเชิง เมื่อถึงขั้นนี้ พวกเขาจะเริ่มสูญเสียการทำงานพื้นฐานของสมองและร่างกายไป

         

หลังจากอดนอนอย่างสิ้นเชิง 12 -18 เดือน ผู้ป่วยจะเสียชีวิต แม้กรณีเช่นนี้จะพบได้น้อยเหลือเกิน แต่ทว่าความผิดปกติดังกล่าวก็ช่วยยืนยันได้ว่า การอดนอนคร่าชีวิตมนุษย์ได้

การหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ เป็นสาเหตุที่คร่าชีวิตมนุษย์

การอดนอน ทำให้เกิดสถานการณ์อันตรายถึงชีวิต ทำให้การหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ เป็นอีกหนึ่งสาเหตุ ที่คร่าชีวิตมนุษย์เป็นจำนวนมากมายนับแสนคนแต่ละปี จากอุบัติเหตุบนท้องถนน ไม่เพียงแต่ชีวิตของผู้อดนอนเท่านั้นที่มีความเสี่ยง แต่ยังรวมถึงชีวิตคนรอบข้างพวกเขาด้วย นับเป็นเรื่องน่าหวั่นวิตกที่อุบัติเหตุจากยวดยานพาหนะทำให้การขับรถในขณะง่วงนอน มีอัตราสูงกว่าการดื่มแอลกอฮอล์และการเสพยารวมกันอีก

 

แรงขับพื้นฐานสามประการของชีวิต เช่น การกิน การดื่ม การสืบพันธุ์

 

 ไม่เพียงพอต่อการให้มีชีวิตรอดและยืนยาวของมนุษย์ เมื่อขาดแรงขับจากการนอนหลับ ซึ่งส่วนมาก เรามักจะมองข้ามแรงขับนี้มานานแสนนาน

Facebook
Twitter
WhatsApp
Email
  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไรฝุ่น

เซอร์คาร์เดียน ริธึ่ม (Circadian Rhythm) คืออะไร​

Circadian Rhythm คืออะไร ?

Previous
Next

           คุณเคยได้ยินไหมว่าร่างกายเรามันมีนาฬิกาของมันเอง นี่แหละสิ่งที่เรียกว่านาฬิกาชีวภาพในตัวของคนเรา หรือจังหวะวงจรชีวิต 

จังหวะวงจรชีวิตคือการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม จิตใจ และ กายภาพ ที่หมุนเวียนในระยะ 24 ชม. โดยปัจจัยหลักที่ควบคุมวงจรนี้คือแสงสว่างและความมืด ซึ่งส่งผลต่อการสั่งงานของสมองให้หลั่งฮอร์โมนต่างๆไปยังอวัยวะทุกส่วนในร่างกายเราเป็นประจำทุกวัน

นอกเหนือจากมนุษย์เราๆแล้ว จังหวะวงจรชีวิตยังควบคุมสิ่งมีชีวิตอื่นๆเช่นสัตว์และพืชพันธุ์เหล่าต้นไม้ รวมถึงพวกจุลินทรีย์

จังหวะ 24 ชม.นี้ จะช่วยกำหนดว่า

           เมื่อไหร่ที่เราอยากจะตื่น และเมื่อไหร่ที่เราอยากจะหลับ และยังควบคุมช่วงเวลาของร่างกายในรูปแบบอื่นๆ ด้วยเช่นกัน เช่น การหิวอาหาร หรือการกระหายน้ำเป็นเวลา การขับถ่าย การกำหนดอุณหภูมิและอัตราการเผาผลาญในร่างกาย รวมถึงการหลั่งฮอร์โมนหลากหลายชนิด และกระบวนการต่างๆ ของร่างกายเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด

      การสร้างจังหวะรอบวัน สร้างจากกิจวัตรประจำวันของแต่ละคน นาฬิกาชีวภาพของเราทุกคน จึงไม่ได้เท่ากันเสมอไป

Previous
Next

ไซท์เกเบอร์ (Zeitgeber) ผู้ให้เวลา

       สัญญาณที่ตั้งนาฬิกาสมองนี้ มีชื่อเรียกว่า ไซท์เกเบอร์ (Zeitgeber) เป็นภาษาเยอรมัน แปลว่า ผู้ให้เวลา 

        หารู้ไม่ว่า กระบวนการที่เกิดการให้เวลาเหล่านี้ ไม่ได้ตกอยู่แค่ภายใต้กระบวนการของแสงอาทิตย์เพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากการสร้างกิจวัตรที่ร่างกายจดจำไว้ภายใน เช่น การหลับ การตื่นนอน การบริโภค และการขับถ่าย เป็นต้น

และเพราะว่า กิจวัตรของแต่ละคนที่ไม่เท่ากัน นาฬิกาชีวภาพของแต่ละคน จึงไม่ได้เท่ากัน ไม่ว่าจะเป็นพืชหรือ มนุษย์ ก็จะสร้างจังหวะรอบวันในสมองไว้เป็น นาฬิกาชีวภาพ เซอร์คาเดียน ริธึ่ม ของตนเองเช่นกัน

Facebook
Twitter
WhatsApp
Email
  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไรฝุ่น

นักวิจัย Carnegie Mellon เผยนอนน้อยเสี่ยงป่วยเป็นไข้หวัดมากถึง 3 เท่า

นักวิจัย Carnegie Mellon เผยนอนน้อยเสี่ยงป่วยเป็นไข้หวัดมากถึง 3 เท่า

Previous
Next

 หลายคนจำเป็นที่ต้องใช้ชีวิตในเวลากลางคืน เพราะหน้าที่การงานหรือเหตุผลอะไรก็ตาม แต่ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดทุกคนต่างรู้ดีว่า “การอดนอนหรือนอนหลับพักผ่อนไม่พอนั้น ส่งผลเสียต่อสุขภาพแน่ ดาร์ลิ่ง มีผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการนอนน้อยที่น่าสนใจมาบอก

นอนน้อยเสี่ยงเป็นหวัดได้มากปกติถึง 3 เท่า

              จากการศึกษาที่ตีพิมพ์โดย Archives of Internal Medicine นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Carnegie Mellon ใน Pittsburgh ได้ทำการศึกษาในชายและหญิงจำนวน 153 คน ที่มีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับระยะเวลาการนอนและประสิทธิภาพขณะนอนหลับ (โดยนับระยะเวลาของการนอนหลับที่เกิดขึ้นจริง) เป็นเวลา 14 วัน พบว่า ผู้ที่นอนหลับน้อยกว่า 7 ชั่วโมงต่อคืน มีแนวโน้มที่จะเป็นหวัดได้มากถึง 3 เท่า เมื่อเทียบกับคนปกติที่ได้นอนหลับประมาณ 8 ชั่วโมงต่อคืน

Previous
Next

               โดยผู้เข้าร่วมการทดลองจะถูกสังเกตและเก็บข้อมูล หลังจากการได้รับยาหยอดจมูกที่มีเชื้อหวัด Rhinovirus และสังเกตดูปฏิกิริยาต่อยาดังกล่าว 5 วัน จึงได้ข้อสรุปว่าไม่ใช่เพียงแค่ผู้ที่นอนหลับน้อยลงจะมีปฏิริยาที่ไวต่อไข้หวัดมากขึ้น ผู้เข้าร่วมการทดลองอื่นๆ ที่นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอก็มีโอกาสถึง 5.5 เท่า ที่จะป่วยเป็นไข้หวัดได้ง่ายกว่าปกติอีกด้วย

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยเกี่ยวกับ การไม่จามขณะที่นอนหลับอยู่

             ด็อกเตอร์ Fredric Neuman ตั้งข้อสังเกตุว่า ในขณะที่นอนหลับคนเราสามารถมีการไอเกิดขึ้นได้ แต่ไม่เคยมีการจาม ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายสาเหตุที่ยังไม่ได้รับคำตอบที่แน่ชัดนักในหมู่นักวิจัยด้านการนอนหลับ Fighting Fear ซึ่งเป็น Blog ด้านจิตวิทยา ของด็อกเตอร์ Fredric Neumon นำเสนอเรื่องที่น่าสนใจ ในขณะที่มีการนอนหลับสนิท ร่างกายของคนเราจะได้รับการป้องกันจากระบบร่างกายที่เรียกว่า Nighttime Predetors จึงทำให้การจามไม่เกิดขึ้นในขณะที่หลับ เพราะอาการจามจะทำให้เกิดการหยุดหายใจชั่วคราว ซึ่งในภาวะการนอนหลับจะถูกรบกวนและทำให้ตื่นได้

การนอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มที่

 มีความจำเป็นต่อการฟื้นฟู ซ่อมแซมส่วนของร่างกาย เราจึงต้องให้ความสำคัญกับนอนหลับอย่างมาก เพื่อที่จะได้ตื่นเช้ามาอย่างสดชื่น และพร้อมที่จะออกไปลุยได้ตลอดทั้งวัน โดยปราศจากความป่วยไข้

Facebook
Twitter
WhatsApp
Email
  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไรฝุ่น

อันตราย! นอนหลับไม่เพียงพอ ส่งผลระบบภูมิคุ้มกันต่ำ เสี่ยงเจ็บป่วยง่าย

อันตราย! นอนหลับไม่เพียงพอ ส่งผลระบบภูมิคุ้มกันต่ำ เสี่ยงเจ็บป่วยง่าย

ยุคสมัยที่เปลี่ยนไปคนเราจึงหันไปใช้เวลาทำอย่างอื่นแทนการนอนหลับพักผ่อน

          เช่น ดูหนัง ฟังเพลง เล่นโทรศัพท์ แชทคุยกับเพื่อนๆ หรือทำกิจกรรมต่างๆ นานา แล้วนำมาซึ่งข้ออ้างว่าไม่มีเวลานอนหลับพักผ่อน ด้วยความคิดที่ว่าการนอนหลับพักผ่อนนั้นไม่มีความจำเป็น เดี๋ยวค่อยนอนก็ได้ ซึ่งความคิดเหล่านี้สวนทางกับการดูแลรักษาสุขภาพที่ดีอย่างสิ้นเชิง

Previous
Next

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์

               คนเราใช้เวลาถึงหนึ่งในสามของชีวิตไปกับการนอนหลับพักผ่อน ซึ่งเป็นช่วงเวลาในการพักผ่อนที่ดีที่สุด เพราะอีกสองส่วนของชีวิตที่เหลือ คือการลืมตาทำกิจกรรมต่างๆ ของแต่ละวัน ซึ่งพฤติกรรมการใช้ชีวิตย่อมสร้างภาระให้กับร่างกายและสมอง ดังนั้นการใช้เวลาพักผ่อนอย่างเต็มที่ และเพียงพอในแต่ละวัน จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก โดยเฉลี่ยคนเราควรนอนอย่างน้อย 6-7 ชั่วโมงต่อคืน หากน้อยกว่านี้ย่อมเป็นการทำให้เสียสุขภาพของตัวเองทั้งทางตรงคือ ประสิทธิภาพการใช้ชีวิตและการทำงานต่ำลง และทางอ้อมคือโรคภัยความเจ็บป่วยในระยะยาว

ประโยชน์มหาศาลจากการนอนหลับ

                 จากงานวิจัยของ เดนนิส แม็คกินตี้ นักวิจัยประสาทวิทยาของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในลอสแองเจลีส บอกว่าการนอนสามารถช่วยลดอุณหภูมิของร่างกาย โดยมีสมองส่วนหนึ่งจะทำหน้าที่สั่งการให้เราหลับเมื่อระดับอุณหภูมิในร่างกายสูงเกินควร และส่งผลกระทบไปยังสมอง ทฤษฏีนี้พิสูจน์ได้อย่างง่ายๆ โดยการสังเกตจากการออกกำลังกาย เช่น วิ่งหรือเล่นฟุตบอลในวันที่ร้อนจัดไม่นานก็อาจจะเป็นลม เช่นเดียวกับนักกีฬาที่ออกกำลังกายอย่างหักโหมจะต้องใช้เวลาในการนอนพักผ่อนมากกว่าคนปกติ เนื่องด้วยอุณหภูมิในร่างกายสูงผิดปกติ ทำให้ประสาทส่วนรับความร้อนภายในสั่งการให้ระบบดูดซึมอาหารทำงานช้าลงด้วยการทำให้รู้สึกง่วงนอน และหลังจากนั้นระดับอุณหภูมิก็จะลดต่ำลงเป็นปกติ

 

ฟื้นฟูระบบการทำงานของสมอง

             นอกจากมีประโยชน์ต่อร่างกายแล้ว การนอนหลับยังสามารถส่งผลดีต่อสมองอีกด้วย เนื่องจากสมองเป็นอวัยวะชิ้นสำคัญของคนเราแม้จะมีขนาดเล็กแต่ว่าสามารถนำพลังงานสะสมภายในร่างกายไปใช้ถึง 20% ในแต่ละวัน ซึ่งหากเรานอนหลับให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ระบบจัดเก็บความทรงจำหรือระบบประสาทจะถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเราหลับสนิทลึกถึงขั้นฝัน

            เพราะจากงานวิจัยทางสมองพบว่า ความฝันเป็นอีกหนึ่งกระบวนการจัดเก็บข้อมูล โดยฉายภาพประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในตอนที่ตื่นเพื่อจัดเก็บข้อมูลเหล่านั้น เป็นการเชื่อมต่อเซลล์ประสาทของสมองเพื่อเก็บเป็นความทรงจำถาวร โดยอวัยวะที่ทำหน้าที่ดังกล่าว มีชื่อว่า ฮิปโปแคมปัส จะทำหน้าที่ถ่ายโอนข้อมูลที่เรียนรู้ในระหว่างวันเข้าสู่ความทรงจำระยะยาวตอนที่เราหลับเท่านั้นและจะทำงานได้ดียิ่งขึ้นไปอีกเมื่อเรานอนหลับอย่างเพียงพอ

 

ผลร้ายจากการ อดนอน

              อัตราการพักผ่อนของร่างกายคนเรามีความแตกต่างกัน ซึ่งผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงและสุขภาพสมบูรณ์อาจต้องการพักผ่อนเพียง 5 ชั่วโมงต่อคืนก็เพียงพอแล้ว แต่ในบางคนต้องใช้เวลานอนอย่างน้อย 7-8 ชั่วโมง ร่างกายจึงจะพักผ่อนได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นถ้าหากพักผ่อนไม่เพียงพอ ร่างกายจะเกิดอาการง่วงนอน ซึมเซาตลอดทั้งวัน อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย ประสิทธิภาพในการทำงานและใช้ชีวิตต่ำลง อาจมีอาการหลับใน ซึ่งเป็นอันตรายอย่างมากถ้าหากต้องขับขี่ยานพาหนะ

ร่างกายทรุดโทรม เสียสมดุล

             นอกจากจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการดำเนินชีวิตที่ต่ำแล้ว หากทำติดต่อกันจนกลายเป็นกิจวัตรประจำวันร่างกายจะส่งผลเสียในระยะยาว ได้แก่ ระบบภายในร่างกายจะเริ่มเกิดการแปรปรวนและสูญเสียความสมดุล โดยเฉพาะระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดย แครอล อีเวอร์สัน นักจิตวิทยาสังคมที่มหาวิทยาลัยแห่งเทนเนสซี ได้ค้นพบว่าหากมีการอดนอนติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานหนักขึ้นในช่วงแรก เลือดจะมีเม็ดโลหิตขาวเพิ่มขึ้นและเกิดการสลายตัวทำให้ความสามารถในการต้านทานเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสของร่างกายต่ำลงเกิดอาการเจ็บป่วยได้ง่าย โดยเฉพาะผู้หญิงจะสูญเสียความอ่อนวัยอย่างรวดเร็ว เกิดความร่วงโรยแห่งวัยตามใบหน้า รูปร่าง เช่น ริ้วรอยและสิวต่างๆ อาการดวงตาหมองคล้ำ ผิวหน้าเหี่ยวเฉาและมีอาการอิดโรยอย่างเห็นได้ชัดจากการอดนอน ดังนั้นจึงไม่ใช่ความคิดที่ดีนักหากฝืนอดนอนและพักผ่อนน้อย

 

ส่งเสริมการพักผ่อนที่มีประสิทธิภาพ

            Sleepen  มีความเชี่ยวชาญในการผลิตที่นอน ผลิตจากเทคโนโลยีและวัสดุที่มีคุณภาพเยี่ยม ด้วยลักษณะการดำเนินชีวิตของคนในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในวัยเรียน และวัยทำงาน ต่างละเลยและไม่ให้ความสำคัญต่อการนอนหลับพักผ่อน ซึ่งเป็นค่านิยมที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้นควรรู้จักแบ่งเวลาการใช้ชีวิตและการนอนหลับให้มีความพอเหมาะ พอดี เพื่อการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข พร้อมด้วยสุขภาพที่ดีของตัวเราเอง

  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไรฝุ่น