เดือน: สิงหาคม 2021

มันบุกมาแล้ว ไรฝุ่น และ ตัวเรือด EP 2

มันบุกมาแล้ว ไรฝุ่น และ ตัวเรือด EP 2

จาก ตอนที่แล้ว เราได้ไปพบปะแบคทีเรียชนิดต่างๆที่มักซ่อนอยู่ในเตียงของคุณ ในตอนนี้เราจะมาเล่าเรื่องสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมาอีกหน่อย  และภาชนะของใช้ที่มันแอบติดมาด้วย!ในหนึ่งวันคุณจะรู้ไหมว่า คุณผลัดเซลล์ผิวหนังประมาณถึง 500 ล้านเซลล์ขณะนอนหลับอยู่บนเตียงซึ่งเซลล์ผิวหนังเหล่านี้คืออาหารสุดแสนอุดมสมบูรณ์ของไรฝุ่นขนาดจิ๋ว มูลของไรฝุ่นเหล่านี้ขึ้นชื่อโด่งดังในเรื่องกระตุ้นให้เกิดอาการภูมิแพ้ต่างๆ แม้กระทั่งโรคหอบหืด สิ่งที่ร้ายเกี่ยวกับไรฝุ่นคือเจ้านี่ตัวเล็กมาก แม้ว่าตาเปล่ามนุษย์เรามองไม่เห็น แต่ลองถามคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ดูสิ ก็จะรู้เลยว่าไรฝุ่นสร้างโทษหลากหลายจริงๆ

นอกจากไรฝุ่นแล้วตัวเรือด (bed bugs) ก็เป็นภัยอันตรายได้เช่นกัน ซึ่งถึงแม้ว่าแมลงตัวเล็ก ๆ เหล่านี้ (ยาวประมาณ 5 มม.) ยังไม่มีข้อบ่งชี้ว่าเป็นพาหะนำโรค แต่ก็สามารถกัดเราทำให้เกิดรอยแดงคันได้ อีกทั้งยังมีผลกระทบต่อสุขภาพจิตที่ปรากฏอยู่ในอาการต่างๆ เช่น มีอาการวิตกกังวล นอนหลับยาก (ระแวงโดนกัด)  และ อาการภูมิแพ้

ตัวเรือดถูกนำเข้ามาในบ้านได้ผ่านสิ่งทอสารพัดชนิด เช่น เสื้อผ้าหรือเป้สะพายหลัง หรือ แม้กระทั่งติดมากับตัวสมาชิกในครอบครัวของคุณ

การซักและตากผ้าปูเตียงด้วยอุณหภูมิสูง (ประมาณ 55 องศาเซลเซียส) มีศักยภาพฆ่าไรฝุ่นได้ แต่สำหรับตัวเรือดนั้นจะต้องถูกกำจัดโดยมืออาชีพเท่านั้น และมักมีค่าใช้จ่ายที่แพงทีเดียว

1.  แล้วเชื้อโรคก็กล่าวว่า..ขอติดรถมาด้วยน้า

ระวังของใช้ของคุณให้ดี เพราะคุณยังสามารถนำเชื้อโรค เชื้อรามาสู่เตียงนอน ผ่านของใช้ในครัวเรือนเหล่านี้ที่ล้วนถูกปนเปื้อนแทบจะตลอดเวลา ของใช้ส่วนตัวดังเช่น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว หรือ ผ้าเช็ดมือ หรือพื้นที่ส่วนรวมเช่น พื้นผิวในห้องน้ำและห้องครัว หรือ สัตว์เลี้ยงในบ้านของคุณ

ผ้าเช็ดต่างๆที่ใช้ในห้องน้ำและห้องครัวล้วนเป็นแหล่งเพาะเชื้อแบคทีเรียหลายชนิดซึ่งมักหนีไม่พ้นสายพันธุ์ยอดฮิตอย่าง S. aureus และ E. coli 

แม้ว่าคุณจะเป็นคนที่รักษาความสะอาดตลอดก็อย่าเพิ่งตายใจ เพราะหากซักผ้าเหล่านี้ด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้อง เชื้อโรคสามารถถูกแพร่กระจายไปยังสิ่งของอื่นๆได้อย่างง่ายดาย นี่ก็รวมถึงผ้าปูที่นอนของเราด้วย แม้แต่โรคน่ากลัวอย่างโรคหนองในก็สามารถติดต่อผ่านผ้าเช็ดตัวหรือผ้าปูที่นอนได้

เชื้อโรค จุลินทรีย์ต่างชนิดมีชีวิตอยู่บนสิ่งทอได้เป็นระยะเวลาที่ต่างกัน ตัวอย่างเช่น S. aureus สามารถอยู่รอดได้เป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์บนผ้าฝ้าย และสองสัปดาห์บนผ้าขนหนู นอกจากนี้แล้ว เชื้อราชนิดต่างๆ (เช่น พันธุ์ Candida albicans ซึ่งสามารถทำให้เกิดเชื้อราในช่องปาก การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ และการติดเชื้อราที่อวัยวะเพศ) และสามารถอยู่บนผ้าได้นานถึงหนึ่งเดือน

ไวรัสไข้หวัดใหญ่สามารถมีชีวิตอยู่บนเสื้อผ้าและทิชชู่ใช้แล้วทิ้ง ได้นานถึง 8-12 ชั่วโมง และไวรัสชนิดอื่นๆ เช่น ไวรัสพันธุ์ Vaccinia ที่อยู่ในตระกูลไวรัสไข้ทรพิษ สามารถอาศัยอยู่บนขนสัตว์และใยฝ้ายได้นานถึง 14 สัปดาห์

ขอบคุณที่มาข้อมูลจาก: 

CNN Health. How frequently should you wash your bed sheets? More often than you think. https://edition.cnn.com/2021/07/30/health/bed-sheets-washing-partner-wellness-partner/index.html

  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • อาการหลับยาก ทำอย่างไรดี
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไขความลับ การนอนเปลี่ยนชีวิต
  • ไรฝุ่น

งานวิจัยโควิดชี้แนะ วิธีเลี่ยงการติดเชื้อกันภายในรถ

งานวิจัยโควิดชี้แนะ วิธีเลี่ยงการติดเชื้อกันภายในรถ

ปัจจุบันในภาวะการณ์แพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19

หลายครั้งที่สมาชิกในบ้าน จำเป็นต้องขับรถพาผู้ติดเชื้อไปส่งที่โรงพยาบาล เนื่องจากไม่สามารถหารถ ambulance มารับได้เลย จะทำอย่างไรเพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อในช่วงการเดินทางดังกล่าว เรามีงานวิจัยล่าสุดมาบอกเล่ากัน

    งานวิจัยจาก มหาวิทยาลัย Swansea พบว่า การหมั่นเปิดหน้าต่างในรถเพียงแค่ระยะเวลา 10 วินาที สามารถลดการสะสมของละออง Covid-19 ได้ถึง 97% ความแตกต่างของแรงดันลมระหว่างข้างในและนอกรถ ทำให้มีลมโบกพัดแรงดูดไวรัสออกจากรถได้

     หากเราขับรถยนต์ด้วยความเร็วต่ำกว่า 48กม./ชม. การเปิดกระจกทั้งหมด 4บาน จะได้ประสิทธิภาพสูงสุด แต่ในการขับด้วยความเร็วมากกว่านี้ ให้เปิดกระจกแนวแทยง 2 บาน

ศาสตราจารย์ เชินเฟง ลี, มหาวิทยาลัย SWANSEA Tweet

การแพร่กระจายเชื้อทางอากาศของเชื้อไวรัส Covid-19 เกิดขึ้นได้ผ่านสองทาง

การแพร่กระจายเชื้อทางอากาศของเชื้อไวรัส Covid-19 เกิดขึ้นได้ผ่านสองทาง : ผ่านละอองฝอยขนาดใหญ่ที่ออกมาผ่านการ ไอ, หรือ ผ่านละอองลอยจากการหายใจเข้าออกโดยทั่วไป

ละอองฝอยขนาดใหญ่มีน้ำหนักมากพอที่จะสามารถตกลงมาอยู่บนพื้นผิวต่างๆได้ภายในไม่กี่วินาที ในขณะเดียวกันละอองลอยนั้นสามารถระเหย และปล่อยไวรัสวนเวียนอยู่ในอากาศถึงหนึ่งชั่วโมง   หัวหน้าโปรเจค ศาสตราจารย์ เชินเฟง ลี ได้แนะนำวิธีที่จะสามารถป้องกันการแพร่เชื้อแบบผ่านละอองลอย

“เมื่อขับรถด้วยความเร็วต่ำ ความต่างของแรงดันระหว่างภายในและนอกรถจะมีไม่มาก ทำให้อากาศภายในรถมีความปั่นป่วนสูง ซึ่งเราจะพบสภาวะนี้มากในการขับรถในเมือง เพราะโดยธรรมชาติแล้วจะมีการต้องหยุด-สตาร์ทรถตลอด อีกทั้งยังมีการเลี้ยวเพื่อเปลี่ยนทิศบ่อยครั้ง”

“ในสถานการณ์เหล่านี้ เราต้องถ่ายเทอากาศให้มากเท่าที่จะทำได้ ด้วยการเปิดหน้าต่างให้เยอะที่สุด”

แต่เมื่ออยู่บนทางด่วนที่ใช้ความเร็วสูง เราควรปฎิบัติอีกแบบหนึ่ง

เราพบว่า รถที่เคลื่อนที่เร็วขึ้นส่งผลให้ความต่างในความดันอากาศสูงขึ้น ทำให้การเปิดกระจกที่แทยงกัน (เช่น กระจกขวาหน้า, กระจกซ้ายหลัง) สร้างภาวะอุโมงค์ลมที่ทำให้การกระจายละอองอากาศดีขึ้นเมื่อเทียบกับเวลาเปิดกระจกทั้งสี่บาน กระบวนการนี้ได้ผลมากถึงขั้นที่ว่า ต้องทำแค่ 10วิ ทุกๆ5-10นาที หรือ ทุกครั้งที่มีคนไอ หรือจามในรถ

ศาสตราจารย์ ลี

“เราพบว่า รถที่เคลื่อนที่เร็วขึ้นส่งผลให้ความต่างในความดันอากาศสูงขึ้น ทำให้การเปิดกระจกที่แทยงกัน (เช่น กระจกขวาหน้า, กระจกซ้ายหลัง) สร้างภาวะอุโมงค์ลมที่ทำให้การกระจายละอองอากาศดีขึ้นเมื่อเทียบกับเวลาเปิดกระจกทั้งสี่บาน”

“กระบวนการนี้ได้ผลมากถึงขั้นที่ว่า ต้องทำแค่ 10วิ ทุกๆ5-10นาที หรือ ทุกครั้งที่มีคนไอ หรือจามในรถ”

      ทีมวิจัยยังพบอีกว่า การนั่งข้างหน้าจะปลอดภัยกว่าข้างหลัง เพราะปริมาณลมส่วนใหญ่เลยจะถูกเป่าไปในทิศทางข้างหลัง หากผู้โดยสาร (หลายครั้งมักเป็นผู้ที่ติดเชื้อ) ในรถจำเป็นต้องนั่งข้างหลัง ศจ. ลี แนะนำว่าให้ผู้โดยสารรถนั่งอีกฝั่งจากฝั่งที่กระจกเปิดอยู่ คำแนะนำนี้สำคัญมากโดยเฉพาะสำหรับรถโดยสารเช่น รถแทกซี่  รถเช่า และรถส่วนตัว

(คำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้แปล  สำหรับประเทศไทย ที่ใช้พวงมาลัยขวา การเปิดกระจกทแยง หมายความว่า ผู้โดยสารควรนั่งด้านหลังผู้ขับ ในขณะที่ กระจกถูกลดแบบทแยง ตามภาพ )

 

ในอีกส่วนหนึ่งของงานวิจัย ศจ. ลี ผู้ซึ่งเป็นตัวแทนของทีมที่ปรึกษาด้านเทคนิคเกี่ยวกับโควิด-19 ของรัฐบาลเวลช์ ได้ถูกขอให้ทำการตรวจสอบว่า ฉากกั้นระหว่างที่นั่งข้างหน้าและข้างหลังมีประโยชน์หรือไม่

สิ่งที่พบคือ ฉากกั้นอาจจะมีผลเสียมากกว่าผลดี

“นอกจากจะเพิ่มบริเวณพื้นผิวให้ละอองของเหลวมาเกาะแล้ว ฉากกั้นยังขัดขวางไม่ให้อากาศในรถหมุนเวียน”

“ทั้งนี้ทั้งนั้น แม้นี่อาจจะช่วยป้องกันคนขับได้ แต่สำหรับผู้โดยสารข้างหลัง ฉากกั้นทำหน้าที่เหมือนฟองอากาศขนาดใหญ่ที่ยากมากที่ไวรัสข้างในจะถูกขับออกมาข้างนอกได้ผ่านแรงดันของอากาศ”

อย่างไรก็ตาม ศจ. ลี กล่าวว่า การใส่หน้ากากยังเป็นวิธีที่ดีสุดในการป้องกันตนเองในรถสาธารณะ

ผลจากทีมวิจัยยังชี้ว่า การใส่หน้ากากป้องกันช่วย ลดการปล่อยเชื้อไวรัสได้ 90% และ การรับเชื้อไวรัสในผู้โดยสารลดลงไป 70%

  

บทความแปลมาจาก BBC NEWS

สนับสนุน โดย สลีปเพ็น

  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • อาการหลับยาก ทำอย่างไรดี
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไขความลับ การนอนเปลี่ยนชีวิต
  • ไรฝุ่น

มันบุกมาแล้ว เมื่อเชื้อโรคและสารพัดสัตว์ บุกที่นอนของคุณ ep 1

มันบุกมาแล้ว เมื่อเชื้อโรคและสารพัดสัตว์ บุกที่นอนของคุณ ep 1

อะไรเล่าจะสุขใจมากกว่าการได้คลานขึ้นเตียง ห่อตัวเองในผ้าห่มนุ่มๆ จมลงหมอนรอให้ราตรีพาเราไป ทว่าก่อนที่จะรู้สึกสบายมากเกินไป คุณอาจจะอยากรู้ว่า ที่จริงแล้วที่นอนของคุณไม่ได้ต่างจาก จานเพาะเชื้อในห้องแล็บดีๆนี่เอง ส่วนผสมที่ลงตัวจากเหงื่อ น้ำลาย รังแค เศษเซลล์ผิวหนังของเรา อีกทั้งพวกเศษอาหารหลงเหลือ สร้างสภาพแวดล้อมที่เหมือนสวรรค์สำหรับเชื้อโรคต่างๆ เช่นแบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัส ไรฝุ่น และก็ ยังมีแมลงป่วนสุข(สุขของการนอน) อีกด้วย

ทำใจไว้ดีๆ เพราะต่อไปนี้ คือสิ่งที่อาจจะแฝงตัวอยู่ในผ้าห่มของเรา  เริ่มกันที่ แบคทีเรีย ก่อน

ที่นอนของเราก็เปรียบเสมือนเจ้าบ้านของแบคทีเรียหลากหลายสายพันธ์

ยกตัวอย่างจากงานวิจัยหนึ่งที่วิเคราะห์ ผ้าปูเตียงของโรงพยาบาล ที่พบแบคทีเรีย Staphylococcus ฝังตัวกันอย่างดาดดื่น

 แบคทีเรียพวกนี้แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วไม่เป็นอันตราย แต่หากเข้ามาในร่างกายเราผ่านแผลเปิดบนผิวหนังจะทำให้เกิดอาการป่วยร้ายแรงได้

และ บางสายพันธ์ของแบคทีเรีย Staphylococcus ก็สามารถสร้างความร้ายแรงได้มากกว่าสายพันธ์ที่เหลือ

อย่างสายพันธ์ Staphylococcus aureus  (เรียกสั้นๆว่า S. aureus ) 

ซึ่งเป็นสายพันธ์ที่ติดต่อง่าย และ สามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อของผิวหนัง ฝีหนอง อาการปอดบวม และ การเป็นสิวอักเสบ 

S.aureus ที่ถูกพบบนปลอกหมอน หลายสายพันธ์ก็เป็นพวกดื้อยา (ปฎิชีวนะ ) ด้วย

ผลจากงานวิจัยยังพบว่า ที่มักถูกพบด้วยกันกับ Staphylococcus และ  E. coli  คือบรรดา  แบคทีเรียแกรมลบ ที่ทำให้เกิดโรคติดเชื้อ และพวกนี้ก็ดื้อยาด้วย โรคติดเชื้อที่พวกนี้ก่อ ก็อย่างเช่น 

ติดเชื้อท่อปัสสาวะ อาการท้องร่วงในนักเดินทาง การติดเชื้อในลำไส้ และ อาการปอดบวม

นี่คือเหตุผลว่าทำไมการล้างมือหลังใช้ห้องน้ำเสร็จจึงสำคัญมาก ก็เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อแบคทีเรียไปยังส่วนอื่นๆในบ้าน

             แน่นอนว่าสภาพแวดล้อมของโรงพยาบาลนั้นย่อมแตกต่างจากบ้านที่อยู่อาศัยของเรา ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า เป็นไปไม่ได้ที่แบคทีเรียจะมาถึงบนที่นอนของเรา ที่จริงแล้วประมาณหนึ่งในสามของคนทั่วไปนั้น มีเชื้อ S. aureus อยู่ในร่างกาย และสามารถปล่อยสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ออกมาในปริมาณที่น่าตกใจ –นี่หมายความว่า ไม่ใช่เรื่องยากอะไรเลยที่แบคทีเรียอย่าง S. Aureus จะ บุกมาถึงที่นอนในบ้านของเรา

จาก

CNN Health. How frequently should you wash your bed sheets? More often than you think. https://edition.cnn.com/2021/07/30/health/bed-sheets-washing-partner-wellness-partner/index.html

Facebook
Twitter
WhatsApp
Email
  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไรฝุ่น

เปิดความจริง ที่นอนนำเข้า ที่นอนใส่กล่อง

เปิดความจริง ที่นอนนำเข้า จะได้เข้าใจกันซักที

กระแสมาที่นอนนำเข้าใส่กล่อง ที่นอนใส่กล่องคืออะไรกันแน่?
ที่นอนแบบไหนใส่กล่องได้ แบบไหนไม่ควรใส่กล่อง จะมาบอกกันให้รู้วันนี้ 

จุดเริ่มต้นของที่นอนใส่กล่องมาจากความพยายามลดต้นทุนการขนส่ง ก่อนจะใส่กล่องได้ ที่นอนต้องถูกดูดลม จนเหลือ อย่างน้อย หนึ่งในสามของปริมาตร แล้ว ถูก ม้วน ให้ กลม เพื่อบรรจุลงกล่องทรงสูง

                ในบรรดาที่นอนที่หลากหลาย ที่นอนสปริงธรรมดา  ที่นอนพ็อคเกตสปริง ที่นอนยางพาราแท้   มีเพียงที่นอนฟองน้ำ ยางพารา และ  เมมโมรี่โฟม  ที่ดูจะมีปัญหาน้อยเมื่อถูกดูดลม เนื่องจาก ปราศจากโครงสร้างลวดสปริงที่เป็นของแข็ง  การคืนตัวหลังแกะกล่อง จะใช้เวลาประมาณ 1 วัน ให้กลับสู่สภาพสมบูรณ์ 

สำหรับที่นอนยางพาราแท้นั้น...

มีความหนาแน่นที่สูงมากและมีน้ำหนักที่หนักมาก ซึ่งแล้วแต่สูตรการผลิตของแต่ละโรงงานที่ผลิตยางพารา โดยจะมีความหนาแน่นอยู่ที่ 50-80 kg/cbm โดยประมาณ  ที่นอนยางพาราเนื้อดีหรือไม่จะอยู่ที่ส่วนผสมของเนื้อยาง หากผลิตออกมาแล้วเนื้อยุ่ยง่าย ฉีกขาดง่าย เมื่อนำมาดูดสุญญากาศม้วนแล้วจะมีผลอย่างมากที่ทำให้ยางพาราฉีกขาดอย่างรวดเร็ว

                  โดยปกติแล้วไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำที่นอนยางพาราที่หนากว่า 4 นิ้ว ในรูปแบบที่นอนปกติ เนื่องจากด้วยน้ำหนักตัวคนเมื่อนอนลงไประยะการยุบตัวของชั้นยางพาราจะไม่ถึง 4 นิ้ว
ดังนั้นสำหรับความเชื่อที่ต้องซื้อที่นอนยางพาราทั้งก้อนหนามากกว่า 4 นิ้วแล้วจะทำให้นอนดีจึงเป็นความเชื่อที่ไม่จำเป็นค่ะ ไม่ต้องจ่ายแพงสำหรับที่นอนทั้งชิ้นขนาดนั้นเลย หนักเกินไป แถมเปลี่ยนผ้าปูก็ยังเหนื่อยอีกต่างหาก

 

            ที่นอนสปริงธรรมดา ตามโครงสร้างที่ดี จะต้อง มี ลวดขอบ border perimeter wire วางอยู่ บน และ ล่าง ของที่นอน รวมถึงลวดซัพพอร์ตด้านข้าง เพื่อรักษาทรงของที่นอนให้อยู่ในลักษณะทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตลอดอายุการใช้งานความเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ไม่โย้ ไปด้านใดด้านหนึ่ง มีความสำคัญ ในการรักษาสมดุลของวงสปริงภายในให้เฉลี่ยรับน้ำหนักผู้นอนอย่างเท่าเทียม  แต่ ลวดขอบนี้ไม่สามารถจะหักหรือจับม้วนได้เลย

            ดังนั้นที่นอนสปริงที่นำเข้าจากต่างประเทศ (จีน) จึงมีราคาถูกจะไม่มีลวดขอบและตัวลวดซัพพอร์ตด้านข้าง ซึ่งผู้บริโภคสามารถสังเกตได้ง่ายโดยการนั่งลงด้านข้างที่นอน (ด้านใดก็ได้)  จะรู้สึกถึง การยุบตัวและไหลตัวลงพื้นทันที
ข้อเสียของการดูดสุญญากาศที่นอนในลักษณะนี้จะมีหลายประการ

                     1. สปริงคืนตัวไม่ถึง 80%
                     2. ยุบตัวเร็ว หรือ ลวดภายในอาจจะทิ่มหรือหัก แทงออกมาให้เห็นนอกที่นอน เป็นอันตรายต่อผู้นอนได้
                     3. ชั้นวัสดุฟองน้ำภายในก็สามารถที่จะยุ่ยเร็วเนื่องจากเกิดการเสียดสีกับโครงสร้างลวดภายในโดยตรงอีกด้วย

                 ที่นอนพ็อคเกตสปริง เป็นที่นอนที่มีคุณภาพสูงจะมีชั้นฟองน้ำและชั้นวัสดุอื่นหลายชั้น และมีราคาสูงตาม ดังนั้นผู้ผลิตจะไม่นิยม ดูดลม และ ม้วนใส่กล่อง  เนื่องจากการคืนตัวของที่นอน อาจจะไม่ ถึง 100% อีกหนึ่งงประเด็น หากที่นอนถูกเก็บในกล่องนานเกิน 6 เดือน มีความเป็นไปได้ที่กาว adhesive ที่เชื่อมถุงพ็อคเก็ตจะเกิดเสื่อมสภาพทำให้ถุงพ็อคเกตมากมายจะแตกตัวออกจากกันได้ ซึ่งทำให้สปริงล้มและเกิดการยุบตัวเป็นแอ่งของที่นอนทำให้ผู้นอนปวดหลังนั่นเองค่ะ

                  ตอนนี้ข้อดี ข้อเสีย ของที่นอนใส่กล่องก็เริ่มชัดขึ้นแล้ว ดาร์ลิ่งก็หวังว่าจะช่วยเพิ่มความเชี่ยวชาญในการช้อปปิ้งออนไลน์ให้กับทุกคนนะคะ

Facebook
Twitter
WhatsApp
Email
  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • อาการหลับยาก ทำอย่างไรดี
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไขความลับ การนอนเปลี่ยนชีวิต
  • ไรฝุ่น

อยากใช้เครื่องนอนผ้าคอตต้อน รู้ไหมอันไหนจริง อันไหนย้อมแมว

ใครๆ บอกพูดแต่ผ้าคอตตอน รู้หรืออันไหนจริง อันไหนย้อมแมว ??

              ปัจจุบันในธุรกิจสิ่งทอเคหะโดยเฉพาะผ้าปูปลอกหมอนที่ใช้ตามบ้านมีความสับสนสูงมากค่ะ โดยเฉพาะในตลาดออนไลน์ซึ่งลูกค้าไม่สามารถจะจับต้องเนื้อผ้าได้แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าโดนเขาหลอกว่าเป็นผ้าคอตตอน แต่ที่แท้แล้วไม่ใช่ !

ก่อนอื่นต้องมาเรียนรู้พื้นฐานของเส้นใยและเส้นด้ายกันนิดนึงในโลกของสิ่งทอรวมถึงเสื้อผ้าที่เราสวมใส่กันอยู่เส้นใย มาจาก ประเภท
1. ฝั่งที่มาจากธรรมชาติ 
2. ฝั่งที่มาจากสังเคราะห์  

ภายใต้ฝั่งธรรมชาติเส้นใย จะมาจาก สัตว์ และ พืช

ฝั่งที่ได้มาจากสัตว์ เช่น รังไหม ขนแกะ ส่วนฝั่งที่ได้มาจากพืช เช่น ฝ้าย หรือคอตต้อนในภาษาอังกฤษ  ที่เป็น ตัวหลัก มีหลายพันธุ์ แต่ที่คุณภาพสูงจะเป็นพันธุ์ อียิปต์ และ sea island

Previous
Next

ในส่วนของฝั่งเส้นใยสังเคราะห์

ตัวแม่ที่เป็นที่แพร่หลายที่สุดคือ ใยโปลีเอสเตอร์ (เส้นใยจะถูกปั่นตีเกลียวเป็นเส้นด้ายโปลีเยสเตอร์) เมื่อ 10 ปี มานี้ มีใยไมโครไฟเบอร์ถูกพัฒนาต่อยอดจากใยโปลีเอสเตอร์มีความบางขนาด 5-10 ไมครอน เท่านั้น  ซึ่งบางกว่าเส้นใยฝ้ายที่มีขนาด 20 ไมครอน เสียอีก  

           อ้าว แล้วทีนี้ มันยังไงต่อหล่ะ ต้นทุนในการผลิตเส้นใยผ้าย (ซึ่งต่อมาก็จะถูกปั่น ตีเกลียวเป็น เส้นด้ายฝ้าย ) นับว่าแพงมากเลย เมื่อเทียบกับพวกเส้นใยสังเคราะห์ การปลูกฝ้ายใช้เคมีเยอะมากเพื่อฆ่าศัตรูพืชต้องรดน้ำกันมหาศาลเลยเวลานำผ้าฝ้าย  มา ฟอก มาย้อม มาพิมพ์ ก็ปล่อยก๊าซคาร์บอนอีก
อย่างไรก็ตามคอตตอนมีข้อดีมากมายจึงไม่มีวันตายและใยสังเคราะห์ก็เลียนแบบไม่ได้ คือระบายอากาศได้ดี ใส่แล้วเย็น  ใช้ได้ดีทั้งในเมืองร้อนเมืองหนาว ทนการอบผ้าแบบร้อนๆได้ ยิ่งซักยิ่งนุ่ม ทนการซักรีดได้สูง  โรงแรมจึงระบุเลือกแต่ ผ้าค้อตต้อน 100 %  
ส่วนต้นทุนการผลิตผ้าไมโครไฟเบอร์นั้นถูกกว่าเยอะ เพราะมันถูกสังเคราะห์มาไง ยิ่งผลิตเยอะก็ยิ่งถูก ทีนี้ผ้าไมโครฯ เขามีเนื้อเนียน ผิวสัมผัสนุ่ม  เพราะมีใยไมโครไฟเบอร์ที่เป็นต้นตอ  ผู้บริโภคจึงเข้าใจไปเองว่า น่าจะเป็นคอตต้อน (ชนิดหนึ่ง) ฝ่ายพ่อค้าแม่ค้า ก็ เออๆ ออๆ ไปด้วย ประมาณว่าอยากขายของให้ได้เเลยไม่อยากพูดมากหรืออาจจะไม่มีความรู้ด้านสิ่งทอเลยก็เป็นไปได้

 

            แล้วเวลาช้อปปิ้งออนไลน์จะแยกออกได้ยังไงหล่ะ ?  เวลาที่มันเป็นผ้าไมโครฯ นั้น ผู้ผลิตก็จะเลี่ยงไม่ใช้คำว่า คอตตอน 100%  แต่จะหันไปตั้งชื่อเก๋ๆ (แต่ถ้าถามไป คนขายอาจจะบ่ายเบี่ยง ไม่ตอบ เพราะไม่รู้จริงก็ได้นะ ) ส่วนใหญ่มักจะลงท้าย ด้วยคำว่า “เทค” “นาโน” “ไมโคร” เอาแน่เอานอนไม่ได้ (ตามสะดวกคนตั้งชื่อละกัน อย่าไปซ้ำกับ แบรนด์คู่แข่งเป็นใช้ได้)

 
ส่วนการเคลมจำนวนเส้นด้าย ก็แล้วแต่จินตนาการไปเลย 1,000 เส้นก็มี ซึ่งมันเป็นไปได้ยากมาก (มันเกี่ยวกับ ขนาดของเส้นด้าย ที่มีขนาดตายตัวแน่นอนอยู่แล้วในวงการสิ่งทอ)


แล้วเดี๋ยว EP หน้า จะมาอธิบาย ความหมายของ จำนวนเส้นด้าย หรือ thread count เพื่อช่วยในการเลือกซื้อผ้าปูปลอกหมอนฯ กันค่ะ 

Facebook
Twitter
WhatsApp
Email
  • All
  • ที่นอนผู้สูงอายุ
  • ผลวิจัยการนอนเพื่อสุขภาพ
  • พฤติกรรมการนอนน้อย
  • ภูมิแพ้
  • ภูมิแพ้ ไรฝุ่น ไวรัส เชื้อรา ในที่นอน
  • วิธีดูแลตัวเอง
  • วิธีเลือกที่นอน
  • อาการจาม
  • โรคจมูกอักเสบ
  • ไรฝุ่น